Page 32 - การพัฒนาและป้องกันการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำลำเสียวน้อยตอนบน - ห้วยกุดแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
P. 32
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
23
มากกว่า 2 เมตรจากผิวดิน บริเวณเหล่านี้ถ้ามีการใช้ที่ดินอย่างไม่เหมาะสม เกลือจากน้้าใต้ดิน
มีโอกาสที่จะแทรกกระจาย ท้าให้ดินแปรสภาพไปเป็นดินเค็มปานกลางหรือเค็มมากได้
พื้นที่ดินเค็มน้อยและปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นนาข้าว ต้นข้าวในนาเจริญเติบโตไม่สม่้าเสมอ
มักจะมีวัชพืชคือ หญ้าแดง เป็นต้นกกดอกสีแดงหรือหญ้าขี้กลาก ดอกสีเหลือง ขึ้นแซมกับต้นข้าว
ระยะกล้าต้นข้าวมีปลายใบซีดขาวม้วนงอ ระยะแตกกอมีการแตกกอน้อยลง ระยะติดเมล็ดมีเมล็ดลีบ
มาก ผลผลิตข้าวลดลงเหลือ 10 – 15 ถังต่อไร่
ปัญหาเรื่องความเค็มของดิน ดินใช้ประโยชน์ทางการเกษตรไม่ได้ มีเพียงปุาละเมาะและ
ไม้พุ่มหนาขึ้นกระจายเป็นหย่อม ๆ บางแห่งเป็นแหล่งท้าเกลือสินเธาว์ ลักษณะของดินเค็มที่สังเกตได้
คือ มีคราบเกลือขึ้นตามผิวดิน มักเป็นบริเวณพื้นที่ว่างเปล่า พืชส่วนใหญ่ไม่สามารถขึ้นได้นอกจาก พืช
ทนเค็มบางชนิด ปัญหาที่ส้าคัญ คือ ปลูกพืชเศรษฐกิจไม่ได้ หรือถ้าปลูกได้ก็ให้ผลผลิตต่้า ไม่มีคุณภาพ
และเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม ไม่มีค่าทางเศรษฐกิจ
3.2 พืชทนเค็มและพืชชอบเกลือ
พืชทนเค็มและพืชชอบเกลือ หมายถึง พืชที่สามารถเจริญเติบโตขึ้นได้ในพื้นที่ดินเค็ม และ
ให้ผลผลิตได้อย่างครบวงจร ซึ่งพืชแต่ละชนิดมีความสามารถในการทนเค็มได้แตกต่างกัน หรือแม้แต่
พืชชนิดเดียวกันแต่ต่างพันธุ์กันก็มีความสามารถในการทนเค็มแตกต่างกัน การแก้ไขปัญหา
การแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็ม และฟื้นฟูให้กลับมาใช้ประโยชน์พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถ
เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจได้จะต้องลดระดับความเค็มของดินลง และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน
พืชทนเค็มระดับเค็มน้อย เช่น คึ่นฉ่าย ผักกาด มะม่วง กล้วย ระดับเค็มปานกลาง เช่น ข้าว
ข้าวโพด ผักชี แตงโม มะกอก ระดับเค็มจัด เช่น ข้าวพันธุ์ทนเค็ม มันเทศ ขี้เหล็ก มะม่วงหิมพานต์
พุทรา มะขาม สะเดา ละมุด พืชที่ขึ้นได้ดีในพื้นที่ดินเค็มต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพดินเค็ม
ซึ่งพืชจะปรับระบบโครงสร้างของรากให้แผ่กระจายไปยังจุดที่เค็มน้อยกว่า ส้าหรับพืชทนเค็มบาง
ประเภทที่ดูดเกลือเข้าไป อาจจะน้าไปสะสมอยู่ในส่วนที่ไม่เป็นอันตรายของพืช เช่น สะสมใน
vacuole หรือเพิ่มความหนาของใบ มีกลไกอวบน้้าเพิ่มปริมาณน้้าในเซลล์เพื่อให้ความเข้มข้นของ
เกลือลดลง หรือเพิ่มความเครียดของปากใบเพื่อให้คายน้้าน้อยลง ส่วนพืชบางประเภทก็มีต่อมเกลือ
เพื่อคายเกลือออกมาได้ โดยพืชชนิดหนึ่ง ๆ อาจจะมีลักษณะเดียวหรือหลายลักษณะรวมกันก็ได้
(สมศรี, 2539)
3.3 การปลูกไม้ยืนต้นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็ม
การแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มเกิดจากสาเหตุหลายประการ แต่สาเหตุที่ส้าคัญอย่างหนึ่งคือ
จากมนุษย์โดยการแผ้วถางท้าลายปุาไม้ ท้าให้พื้นที่โล่งเตียน ถ้าในบริเวณนั้นเป็นพื้นที่ที่เป็นเนินดิน
ดินดาน และหินทรายที่มีเกลือประกอบอยู่ในชั้นผิวดิน เมื่อฝนตกลงมาจะชะเอาเกลือละลายออก