Page 33 - การพัฒนาและป้องกันการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำลำเสียวน้อยตอนบน - ห้วยกุดแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
P. 33
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
24
มาแล้วไหลไปสะสมอยู่ตามเนินดินที่ต่้ากว่า เมื่อน้้าระเหยไปจะเหลือคราบเกลือสะสมอยู่ตามผิวดิน
กลายเป็นพื้นที่ดินเค็มเพิ่มขึ้น (ปราโมทย์, 2539) ท้าให้เกษตรกรไม่สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ และ
ไม่สามารถใช้ที่ดินได้อย่างเต็มที่ พื้นที่บางแห่งอาจถูกทิ้งร้างเพราะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน วิธีปูองกัน
การแพร่กระจายของพื้นที่ดินเค็มอย่างง่าย ๆ และได้ผล เกษตรกรสามารถน้าไปปฏิบัติเองได้ โดย
การรักษาสมดุลธรรมชาติของสิ่งแวดล้อม เน้นการปลูกไม้ยืนต้นที่ทนเค็ม ทนแล้ง โตเร็ว รากหยั่งลึก
และใช้น้้ามากในบริเวณที่เป็นเนิน ซึ่งไม้ยืนต้นโตเร็วที่ปลูกจะช่วยดูดซับน้้าฝนไม่ให้ชะเกลือแล้วไหล
แพร่กระจายไป และยังใช้ประโยชน์จากไม้เหล่านั้นได้ เช่น ใช้เป็นไม้ฟืน ใช้เผาถ่าน เฟอร์นิเจอร์
สามารถใช้เป็นอาหารของคนและสัตว์ได้ เป็นต้น ไม้ยืนต้นทนเค็มที่กรมพัฒนาที่ดินส่งเสริมให้
เกษตรกรปลูกในพื้นที่ดินเค็ม ได้แก่ ยูคาลิปตัส กระถินณรงค์ กระถินออสเตรเลีย สะเดา ขี้เหล็ก
แคบ้าน มะขามเปรี้ยว มะขามเทศ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2556)
3.4 กระถินออสเตรเลีย (Acacia ampliceps)
กระถินออสเตรเลีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acacia ampliceps เป็นไม้ยืนต้นตระกูลถั่ว
มีถิ่นก้าเนิดในประเทศออสเตรเลีย สามารถทนสภาพดินเค็มจัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ดี
แต่ต้นกระถินออสเตรเลียไม่ทนสภาพน้้าขัง จึงต้องปลูกบนคันนา หรือมีคูระบายน้้า เป็นพืชที่
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด การปลูกพืชชอบเกลือและไม้ทนเค็มจัดเป็นทางเลือกที่เกษตรกรในพื้นที่ดินเค็ม
จัดสามารถด้าเนินการได้ด้วยตนเอง เพื่อการฟื้นฟูดินที่มีสภาพเสื่อมโทรมให้มีคุณภาพดีขึ้นได้
ซึ่งประโยชน์ของพืชชอบเกลือเหล่านี้ คือ 1) เพื่อฟื้นฟูสภาพทางนิเวศน์จากพื้นที่ที่มีคราบเกลือบนผิว
ดิน พืชไม่สามารถขึ้นได้ให้กลับคืนสภาพมาเป็นพื้นที่ที่มีพืชขึ้นปกคลุม ลดการสะสมเกลือบนผิวดิน
ลดการระเหยของน้้าจากผิวดิน และเพิ่มความชื้นให้ดิน 2) ช่วยปรับปรุงบ้ารุงดิน โดยซากใบไม้และ
ใบหญ้าจะเป็นอินทรียวัตถุเติมให้กับดิน นอกจากนี้ต้นกระถินออสเตรเลียเป็นพืชตระกูลถั่วสามารถ
ตรึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศให้แก่ดิน ท้าให้ดินมีสภาพที่ดีขึ้น 3) เพิ่มความหลากหลายของชนิดพืชที่
ขึ้นในพื้นที่ดินเค็มได้ เนื่องจากหญ้าดิกซีและกระถินออสเตรเลียขึ้นแล้วพืชพื้นเมืองอื่น ๆ จะขึ้น
ตามมา ตามธรรมชาติ และ 4) ประโยชน์ด้านอื่น ๆ เช่น ใช้เป็นไม้ฟืน ถ่าน ใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น
(สมศรี, 2539)
3.5 การอนุรักษ์ดินและน้ า (Soil and Water conservation)
การอนุรักษ์ดิน (Soil conservation) หมายถึง การปฏิบัติต่อดินด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม เพื่อ
จุดมุ่งหมายที่จะรักษาดินให้มีความสามารถในการให้ผลผลิตสูงสุดและได้นานที่สุด เป็นการใช้ที่ดิน
อย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง และการบ้ารุงรักษาให้ใช้ได้นาน ๆ โดยมิให้เกิดการชะล้างพังทลาย