Page 34 - การพัฒนาและป้องกันการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำลำเสียวน้อยตอนบน - ห้วยกุดแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       25







                              การอนุรักษ์น้้า  (Water  conservation) หมายถึง การปูองกันปัญหาที่พึงจะเกิดขึ้นกับน้้า
                       และการน้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการด้ารงชีวิตของมนุษย์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การปลูกปุา

                       การพัฒนาแหล่งน้้า การใช้น้้าอย่างประหยัด เป็นต้น
                              การอนุรักษ์ดินและน้้า (Soil and Water conservation) หมายถึง การใช้ทรัพยากรดินและ

                       น้้าอย่างเหมาะสมด้วยวิธีชาญฉลาด คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด และมีความยั่งยืน การอนุรักษ์ดินและ
                       น้้าจะลดการชะล้างพังทลายของดินได้ด้วยการเลือกใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้้า ซึ่งเป็นแนวทางใน

                       การอนุรักษ์ดินและน้้าอย่างเหมาะสม เพื่อใช้ปูองกันและรักษาดินไม่ให้ถูกชะล้างพังทลายทั้งบนพื้นที่

                       ที่มีความลาดชันต่้าจนถึงพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ปูองกันดินไม่ให้หลุดออก โดยการตกกระทบของ
                       เม็ดฝนและลม เพื่อลดปริมาณน้้าไหลบ่าเพื่อควบคุมหรือชะลอความเร็วของน้้าไหลบ่า และเพิ่มอัตรา

                       การไหลซึมของน้้าลงในดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)


                       3.6 มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า

                              นิพนธ์ (2527) และสมยศ (2529) กล่าวว่า การควบคุมการชะล้างพังทลายของดิน เป็นการ

                       ใช้กรรมวิธีใด ๆ ก็ตามที่สามารถลดหรือยับยั้งพฤติกรรมหรือกระบวนการชะล้างพังทลายของดินที่เกิด

                       จากน้้า ลม แรงโน้มถ่วงของโลกได้ ทั้งนี้จะโดยอาศัยหลักการของธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมาก็ได้
                       โดยเรียกว่ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้้า ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

                              1. มาตรการอนุรักษ์ดินและน้้าทางวิศวกรรมหรือวิธีกล (Engineering  Conservation
                       Measures  หรือ Mechanical  Conservation  Measures) เป็นมาตรการที่น้าเอาหลักการก่อสร้าง

                       ทางวิศวกรรมมาจัดการต่อความลาดชันของพื้นที่ ให้สามารถชะลอความเร็วของน้้าไหลบ่าหน้าดิน

                       มีวิธีการต่าง ๆ หลายวิธี แต่ในประเทศไทยวิธีการอนุรักษ์ดินและน้้าโดยวิธีกลที่ใช้กันแพร่หลายส่วน
                       ใหญ่เป็นการก่อสร้างคูรับน้้า ทางระบายน้้า และคันดิน เช่น ขั้นบันได เพื่อลดความยาวของความ

                       ลาดชัน ลดปริมาณน้้าไหลบ่า และเบี่ยงเบนทางน้้า (กรมพัฒนาที่ดิน, 2556)
                              2. มาตรการอนุรักษ์ดินและน้้าโดยใช้พืช (Vegetative Conservation Measures หรือ

                       Agronomic  Conservation  Measures) เป็นการใช้พืชที่ปลูกหรือพืชอื่นมาปลูกเพื่อยึดน้้าฝน

                       บางส่วนไว้ และลดความเร็วของน้้าไหลบ่า ช่วยสกัดกั้นการไหลบ่าหน้าดินให้น้อยลง เพิ่มปริมาณน้้า
                       ไหลซึมลงสู่ดินให้มากขึ้น วิธีการที่นิยมกัน คือ การปลูกพืชตามแนวระดับ การปลูกพืชหมุนเวียน

                       การปลูกพืชแซม การปลูกพืชร่วม การปลูกพืชคลุม การปลูกพืชเป็นแถบ การปลูกพืชเป็นปุ๋ยพืชสด

                       และการคลุมดิน
                              นอกจากนี้ การไถพรวนและการปลูกพืชตามแนวระดับ เป็นวิธีการหนึ่งที่นิยมปฏิบัติกันและ

                       ให้ผลดีพอสมควร สามารถลดอัตราการชะล้างพังทลายของดินลงได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์
                       เมื่อเปรียบเทียบกับการไถพรวนและปลูกพืชตามความลาดชัน ในระดับความลาดชันของพื้นที่ไม่เกิน
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39