Page 31 - การพัฒนาและป้องกันการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำลำเสียวน้อยตอนบน - ห้วยกุดแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
P. 31
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
22
บทที่ 3
การตรวจเอกสาร
3.1 ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นดินเค็มที่เกิดจากแหล่งหินเกลือใต้ดิน น้้าใต้ดินเค็ม หรือ
หินทราย หินดินดานที่อมเกลืออยู่ เกิดจากน้้าละลายเอาเกลือธรรมชาติในดินมาสะสมในบริเวณที่ลุ่ม
ต่้า ท้าให้ดินเปลี่ยนสภาพเป็นดินเค็ม (สมศรี, 2539) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ดินเค็ม
ประมาณ 17.8 ล้านไร่ เป็นดินซึ่งมีปริมาณเกลือที่ละลายน้้าได้มากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืช ปกติ
จะวัดเป็นหน่วยของค่าการน้าไฟฟูา (Electrical Conductivity หรือ EC) ของสารละลายที่สกัด
ออกมาจากดินบริเวณรากพืชหยั่งถึง เกินกว่า 2 มิลลิโมห์ต่อเซนติเมตร หรือเดซิซีเมนต่อเมตร
ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และมีค่า SAR (Sodium Adsorption Ratio) ต่้ากว่า 15 และมีค่า pH
ของดินต่้ากว่า 8.5 โดยมีแหล่งหินเกลือซึ่งเป็นเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) อยู่ใต้ดิน ดินเค็มใน
ภูมิภาคนี้กระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ บุรีรัมย์
สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี สกลนคร หนองคาย อุดรธานี และนครพนม กลุ่มชุดดินที่พบ
ในบริเวณพื้นที่ดินเค็มคือ กลุ่มชุดดินที่ 20 ซึ่งเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่างเป็นดินร่วน
เหนียวปนทราย มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินลึก มีการระบายน้้าเลวถึงค่อนข้างเลว ดินมี
ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้า ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 5.5–8.0 มีคราบเกลือเกิดขึ้น
ทั่วไปบนผิวดิน (อรุณี, 2539)
การจ้าแนกพื้นที่ดินเค็ม ในการจ้าแนกพื้นที่ดินเค็มเพื่อท้าแผนที่ดินเค็ม ได้จ้าแนกจาก
การกระจายคราบเกลือในช่วงหน้าแล้ง(พิชัย, 2540) สังเกตได้ภายในภาคสนาม ดังนี้
1. ดินเค็มจัด (Highly salt affected areas) เป็นบริเวณที่มีผลกระทบจากความเค็มมาก
หมายถึง บริเวณที่พบคราบเกลือตามผิวดินกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบริเวณ 10 – 50 เปอร์เซ็นต์ของ
พื้นที่ เป็นบริเวณที่น้าไปใช้ปลูกพืชไม่ค่อยได้ผล จึงถูกปล่อยไว้ว่างเปล่า ท้าการเกษตรไม่ได้ มีวัชพืชที่
มีหนาม เช่น หนามพุงดอ หนามพรม
2. ดินเค็มปานกลาง (Moderatly salt affected areas) หรือบริเวณที่ไดรับผลกระทบจาก
ความเค็มปานกลาง หมายถึง บริเวณที่พบคราบเกลือกระจัดกระจายตามผิวดินเป็นบริเวณร้อยละ
10 –15 ของพื้นที่ พื้นที่เหล่านี้พอปลูกพืชได้แต่ผลผลิตต่้า ถ้ามีการปรับปรุงบ้ารุงดินหรือมีการจัดการ
ที่ดี คาดว่าคงให้ผลผลิตดีพอสมควร
3. ดินเค็มน้อย (Slightly salt areas) หรือบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากความเค็มน้อย
คราบเกลือพบปริมาณน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ น้้าใต้ดินเป็นน้้ากร่อย หรือเป็นน้้าเค็มแต่ลึก