Page 30 - การพัฒนาและป้องกันการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำลำเสียวน้อยตอนบน - ห้วยกุดแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       21







                       2.7 การถือครองที่ดิน

                              การถือครองที่ดินของเกษตรกรในพื้นที่ด้าเนินการ พบว่า เกษตรกรมีเนื้อที่ถือครองเฉลี่ย

                       26.54 ไร่ต่อครัวเรือน มีลักษณะการถือครองที่ดินเป็นของตนเอง เอกสารสิทธิ์ในที่ดินของเกษตรกร
                       เป็นโฉนด ร้อยละ 98.74 และเป็น น.ส.3ก ร้อยละ 1.26 ของพื้นที่ด้าเนินการ


                       2.8 สภาวะเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร

                              จากการศึกษาสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในพื้นที่ด้าเนินการโครงการพัฒนา
                       และปูองกันการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้้าล้าเสียวน้อยตอนบน–ห้วยกุดแดง

                       อ้าเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด (กลุ่มวางแผนการใช้ที่ดิน, 2558) สามารถสรุปได้ดังนี้
                              2.8.1 เกษตรกรที่ส้ารวจมีอายุเฉลี่ยของหัวหน้าครัวเรือนซึ่งเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ที่ใกล้เคียงกัน

                       คือ ประมาณ 54 ปี เกษตรกรที่ส้ารวจส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.33 จบการศึกษาในระดับตามเกณฑ์

                       ภาคบังคับ ร้อยละ 16.67 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือสูงกว่า
                              2.8.2  การถือครองที่ดินของเกษตรกร มีการถือครองที่ดินเฉลี่ย 26.54  ไร่ต่อครัวเรือน

                       ลักษณะการถือครองเป็นที่ดินของตนเอง มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินเป็นโฉนด ร้อยละ 98.74  และ
                       เป็น น.ส.3ก ร้อยละ 1.26

                              2.8.3 การประกอบอาชีพของเกษตร พบว่า เกษตรกรทั้งหมดมีอาชีพท้านา โดยอาศัยน้้าฝน

                       เป็นหลัก ข้าวที่ปลูกเป็นข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เนื้อที่ปลูกเฉลี่ย 21.79 ไร่ต่อราย ผลผลิตเฉลี่ย
                       193.67 กิโลกรัมต่อไร่ มีต้นทุนในการผลิตเฉลี่ย  1,314.70 บาทต่อไร่ ราคาขายผลผลิตเฉลี่ย 10.00

                       บาทต่อกิโลกรัม มีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 1,930.67 บาทต่อไร่ และมีผลตอบแทนก้าไรสุทธิ 615.97 บาท

                       ต่อไร่
                              2.8.4 รายได้ทั้งในและนอกฟาร์มของเกษตรกร เกษตรกรมีรายได้ทั้งในและนอกฟาร์มเฉลี่ย

                       ครัวเรือนละ 103,107.50 บาท รายได้ในฟาร์ม เป็นรายได้จากการเพาะปลูกพืช ร้อยละ 89.99 และ
                       รายได้จากการเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 10.01 รายได้นอกฟาร์ม เป็นรายได้จากการค้าขาย ร้อยละ 15.63

                       รับจ้างนอกภาคการเกษตร ร้อยละ 35.31 รับจ้างในการเกษตร ร้อยละ 7.35 เงินเดือนร้อยละ 15.16

                       และบุตรหลานส่งให้ใช้ ร้อยละ 26.55
                              2.8.5 ภาวะหนี้สินของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรมีหนี้สิน ร้อยละ 87.10 จ้านวนเงินที่เป็น

                       หนี้เฉลี่ยครัวเรือนละ 197,263.86  บาท เกษตรกรมีหนี้สินมากกว่ารายได้ เนื่องจากผลผลิตทาง
                       การเกษตรได้รับความเสียหายจากภัยแล้ง และให้ผลผลิตน้อยเนื่องจากปัญหาดินเค็ม ท้าให้เกษตรกร

                       ต้องกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 49.96 กองทุนหมู่บ้าน ร้อยละ

                       27.02 กลุ่มออมทรัพย์ ร้อยละ 22.73  และอื่นๆ ร้อยละ 0.29 วัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเพื่อใช้ใน
                       การเกษตร ร้อยละ 34.28 ใช้ในการครองชีพ ร้อยละ 37.15 และลงทุนในทรัพย์สิน ร้อยละ 28.57
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35