Page 51 - การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
P. 51

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       37







                       ด่าเนินการฉีดพ่นสารละลายราไตรโคเดอร์มา ทุก 15 วัน จ่านวน 8 ครั้ง จากการติดตามอาการโรค
                       รากเน่าของทุเรียนหลังจากการใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเวลา 4 เดือน โดยได้ด่าเนินการฉีดพ่น
                       สารละลายราไตรโคเดอร์มาลงดินบริเวณใต้ทรงพุ่มทุเรียน โคนล่าต้นและทรงพุ่มทุเรียน พบว่าต้น
                       ทุเรียนแสดงอาการโรคโคนเน่าลดลง โดยประเมินจากใบทุเรียนที่มีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ใบทุเรียน

                       เขียวเป็นมันและแตกใบใหม่มากขึ้น และไม่ปรากฎอาการร่วงของใบทุเรียน อาการแผลบริเวณโคนล่า
                       ต้นแห้งชัดเจน จากทุกต้นที่แสดงอาการของโรค และมีการสร้างเนื้อเยื่อบริเวณแผลเดิมมากขึ้นอย่าง
                       เด่นชัด จากการปลูกถั่วพร้าคลุมดินและปลูกแฝกบริเวณรอบทรงพุ่มทุเรียน พบว่าค่าความหนาแน่น
                       ของดินมีแนวโน้มลดลงในช่วงระดับความลึกของดิน 0-15 เซนติเมตร มีค่าเฉลี่ยจาก 1.58 เป็น 1.45

                       กรัมต่อลูกบาศก์เมตร และที่ระดับความลึกของดิน 15-30 เซนติเมตร มีค่าเฉลี่ยจาก 1.69 เป็น 1.58
                       กรัมต่อลูกบาศก์เมตร และช่วยในการเพิ่มช่องว่างระหว่างอนุภาคเม็ดดินท่าให้มีการระเหยความชื้น
                       ของดินได้มากขึ้น  โดยมีระดับความลึก 0-15 และ 15-30 เซนติเมตร มีแนวโน้มลดลงมีค่าเฉลี่ยจาก
                       28.49 และ 24.71 เป็น 25.67 และ 20.79 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ

                               รังษี และคณะ (ม.ป.ป.) ได้ด่าเนินการเก็บและรวบรวมน่้าหมักชีวภาพสูตรต่างๆทั่วประเทศ
                       มาทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นต่อชีววิทยาบางประการของเชื้อรา  Phytophthora  palmivora
                       เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการเป็นสารป้องกันก่าจัดโรคพืชและประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม

                       ต่อไป จากการเก็บรวบรวมน้่าหมักชีวภาพสูตรต่างๆ 115 สูตรและน่าน้่าหมักชีวภาพ สูตรดังกล่าวที่
                       ความเข้มข้นต่างๆ จ่านวน 345 ตัวอย่าง มาท่าการทดสอบการยับยั้งการเจริญของเส้นใย การสร้าง
                       sporangia  การสร้าง  zoospore  และการงอกของ  zoospore  เชื้อรา  P.  palmivora  ในสภาพ
                       ห้องปฎิบัติการ โดยเปรียบเทียบกับน่้าและ metalaxyl แล้วตรวจสอบภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบหัว
                       กลับและวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของโคโลนีพบว่าน่้าหมักชีวภาพจ่านวน  3    สูตร ที่ความเข้มข้นต่างๆ

                       สามารถยับยั้งการเจริญเส้นใย การสร้าง sporangia การสร้างและการงอกของ zoospore เชื้อรา P.
                       palmivora ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ คือ สตูร กล้วยน้่าว้า+กากน่้าตาล อัตราส่วน 3 : 1 ที่ความเข้มข้น
                       600 มิลลิลิตรต่อน่้า 20 ลิตร สูตรพืช 100 กิโลกรัม+กากน่้าตาล 2 กิโลกรัม ที่ความเข้มข้น 200 และ

                       300  มิลลิลิตรต่อน่้า  20  ลิตร  และสูตรวัชพืช  3  กิโลกรัม+กากน่้าตาล  1  กิโลกรัม ที่ความเข้มข้น
                       2,000 และ 3,000 มิลลิลิตรต่อน้่า 20 ลิตร  ซึ่งน้่าหมักชีวภาพดังกล่าวมีประสิทธิภาพต่อชีววิทยาของ
                       เชื้อรา  P.  palmivora  ได้เท่ากับสาร  metalaxyl  นอกจากนี้ยังมี  น่้าหมักชีวภาพ  8  สูตรที่ความ
                       เข้มข้นต่าง ๆ จ่านวน 14  ตัวอย่าง สามารถยับยั้งการเจริญเส้นใยได้ 100 เปอร์เซ็นต์ น่้าหมักชีวภาพ

                       6  สูตรที่ความเข้มข้นต่างๆ  จ่า  นวน  11  ตัวอย่างสามารถยับยั้งการสร้าง  sporangia  ได้  100
                       เปอร์เซ็นต์ น่้าหมักชีวภาพ 13 สูตรที่ความเข้มข้นต่างๆ จ่านวน 23 ตัวอย่างสามารถยับยั้งการสร้าง
                       zoospore  ได้  100  เปอร์เซ็นต์  และน่้าหมักชีวภาพ  19  สูตร  ที่ความเข้มข้นต่างๆ  จ่า  นวน  37
                       ตัวอย่าง สามารถยับยั้งการงอกของ zoospore ได้ 100 เปอร์เซ็นต์

                              ธานี (2558) ได้รายงานความส่าเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่ต่าบลร่าพัน อ่าเภอท่า
                       ใหม่ จังหวัดจันทบุรี รายนายฉลวย จันทร์แสง ซึ่งเป็นหมอดินอาสาประจ่าหมู่บ้าน และเป็นเกษตรกร
                       ดีเด่นด้านการผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์  สารสกัดชีวภาพ และด้านผลิตพืชผักและผลไม้มีคุณภาพ
                       ปลอดภัย และเป็นอีกหนึ่งความส่าเร็จของ สพข.2  ในการช่วยพัฒนาปรับปรุงบ่ารุงดิน กลุ่มชุดดินที่
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56