Page 54 - การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
P. 54

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       40







                       เปอร์เซนต์  เนื่องจากไม่สามารถป้องกันโรคและฟื้นฟูความสมบูรณ์ต้นให้ดีขึ้นทันฤดูกาลผลิต  ส่วน
                       กรรมวิธีทดแทนสารเคมี 100 เปอร์เซนต์ (ไม่ใช้สารเคมี) ซึ่งใช้สารจากธรรมชาติที่มีขายในท้องตลาด
                       มาทดแทนสารเคมีระบบการผลิตยังไม่มีโอกาสในการลงทุน  เพราะประสบภาวะ  การขาดทุนตลอด
                       ระยะเวลา 3 ปีที่ด่าเนินการทดลอง ดังนั้นการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตที่ใช้สารเคมีมากไปสู่ระบบ

                       การผลิตที่ใช้สารเคมีน้อย  และ/หรือไม่ใช้สารเคมีโดยทันทีทันใดจะเป็นการเสี่ยงต่อการขาดทุนสูง
                       เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตลดลงในขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ลักษณะการปรับเปลี่ยนระบบการผลิต
                       ทุเรียนจึงควรเป็นรูปแบบผสมผสาน โดยค่อยๆ ลดระดับการใช้สารเคมีลง และค่อยๆ เพิ่มระดับการ
                       ใช้สารจากธรรมชาติเข้าไปทดแทนมากขึ้นเรื่อยๆ  จาก  0  เปอร์เซ็นต์  เป็น  25  50  75  และ  100

                       เปอร์เซ็นต์ ตามความเหมาะสมและความพร้อมของเกษตรกร
                              การจัดการระบบการผลิตทุเรียนเพื่อลดการใช้สารเคมีและยังคงได้ผลตอบแทนคุ้มค่าทาง
                       เศรษฐกิจในปัจจุบัน  อาจท่าโดยการจัดการสวนแบบผสมผสานที่มีการใช้สารเคมีร่วมกับสารจาก
                       ธรรมชาติทดแทนสารเคมี  โดยเลือกใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพ  มีความเฉพาะเจาะจง  และมีความ

                       ปลอดภัยมากขึ้น ส่วนการป้องกันและก่าจัดศัตรูพืช โดยการใช้วิธีผสมผสาน (IPM) เป็นการควบคุม
                       ประชากรศัตรูพืชให้อยู่ในระดับที่จะไม่ก่อให้เกิดการระบาดเสียหายแก่พืชผลมิใช่การจัดให้หมดไป
                       การควบคุมศัตรูพืชจ่าเป็นต้องน่าวิธีการต่างๆ  ที่มีอยู่มาผสมผสานกันอย่างเหมาะสม  เช่น  วิธีการ

                       ควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ  ชีววิธี  การเขตกรรม  และการใช้สารเคมี  เป็นต้น  การเลือกวิธีการ
                       ควบคุมศัตรูพืชที่เหมาะสม ต้องพิจารณาถึงสภาพทางชีววิทยา และนิเวศวิทยาของศัตรูพืช การพัฒนา
                       วิธีการแก้ไขปัญหาศัตรูพืชต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ  ในสภาพนิเวศเกษตร
                       การตัดสินใจด่าเนินการควบคุมศัตรูพืชไม่ควรมุ่งก่าจัดศัตรูพืชแต่ละชนิดเป็นเอกเทศ เช่น แมลง โรค
                       และอื่นๆ  การควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานจะต้องพิจารณารวมกันเป็นระบบเดียว  โดยมี

                       วัตถุประสงค์เพื่อลดประชากรศัตรูพืชลงให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ (กรม
                       วิชาการเกษตร, 2539)
                              ชมพู และคณะ (2554) ได้ท่าการศึกษาการจัดการสวนทุเรียนแบบผสมผสานเพื่อลดการใช้

                       สารเคมีในการผลิตทุเรียนคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการผลิตทุเรียนด้วยการจัดการสวน
                       แบบผสมผสานโดยลดการใช้สารเคมี ที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ด่าเนินการวิจัยที่ศูนย์วิจัย
                       พืชสวนจันทบุรี (ห้วยสะพานหิน) ระหว่างเดือนตุลาคม 2550 - กันยายน 2553 โดยมีการจัดการสวน
                       ทุเรียนแบบลดการใช้สารเคมีต่างกัน 3 กรรมวิธีเปรียบเทียบกับการใช้สารเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ พบว่า

                       การจัดการสวนทุเรียนแบบลดการใช้สารเคมีตามกรรมวิธีที่  2  (ลดการใช้สารเคมี  50  เปอร์เซ็นต์
                       ร่วมกับสารธรรมชาติจากภูมิปัญญาชาวบ้าน)  และกรรมวิธีที่  3  (ลดการใช้สารเคมี  50  เปอร์เซ็นต์
                       ร่วมกับ  สารธรรมชาติที่ผลิตจากจุลินทรีย์  EM)  สามารถน่าไปใช้ในการผลิตทุเรียนคุณภาพโดยที่
                       ทุเรียนมีสภาพความสมบูรณ์ต้น, จ่านวนผลต่อต้น, ปริมาณผลผลิตต่อต้น, ปริมาณผลผลิตต่อไร่ และ

                       ปริมาณผลผลิตที่มีคุณค่าทางการตลาดไม่แตกต่างกันทางสถิติกับกรรมวิธีที่  1  (การใช้สารเคมี  100
                       เปอร์เซ็นต์)  โดยกรรมวิธีที่  1,  2  และ  3  มีความสมบูรณ์ต้นเฉลี่ย  73.90,  72.20  และ  73.01
                       เปอร์เซ็นต์ ของจ่านวนต้นทั้งหมด มีจ่านวนผลต่อต้น เฉลี่ย 14 12 และ 11 ผล มีปริมาณผลผลิตต่อ
                       ต้น  51.58  43.45  และ  44.62  กิโลกรัม  มีปริมาณผลผลิตต่อไร่  1,031.63  868.90  และ  892.50
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59