Page 53 - การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
P. 53

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       39







                       ไทย จึงควรค้นหาแนวทางการผลิตทุเรียนแบบใหม่ที่มีการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีอย่างเหมาะสม ปลอดภัย
                       ต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมที่สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง และลดปัญหาการตกค้างของ

                       สารเคมีในผลผลิตที่ประเทศคู่ค้าอาจน่ามาเป็นข้อกีดกันทางการค้า
                                ปัจจุบันเกษตรอินทรีย์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้วยการตระหนักรู้ของผู้บริโภค และผู้ผลิต

                       ต่อวิกฤตโลกที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน แสวงหาแนวทางการผลิตและการบริโภคอาหารที่ยั่งยืนอย่าง
                       แท้จริง ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความมั่นคงทาง
                       อาหาร ห่วงโซ่การผลิตและการบริโภค อาหารสุขภาพปราศจากสารเคมีสารพิษ สวัสดิภาพสัตว์ ความ
                       เสมอภาคทางสังคม และการพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อมโดยรวมของประชากร ในขณะที่อัตรา

                       การบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ด้านการผลิตยังเป็นไปอย่างช้าๆ
                                เกษตรอินทรีย์ไม่ได้ถูกจ่ากัดว่าจะต้องได้รับการรับรองจากหน่วยตรวจรับรองเท่านั้น ยังมี
                       เกษตรกรรายย่อยที่ท่าเกษตรอินทรีย์ด้วยจิตวิญญาณ เป็นวิถีชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเกื้อกูล
                       อาจเรียกว่า “เกษตรอินทรีย์พื้นบ้าน หรือ เกษตรอินทรีย์ผสมผสาน” “การรับรองแบบมีส่วนร่วม”

                       หรือ Participatory Guarantee System (PGS) เป็นระบบที่สมาชิกกลุ่มผู้ผลิต/ชุมชนมีส่วนร่วมใน
                       การตรวจสอบมาตรฐานผลผลิตของกันเองในพื้นที่ ท่าให้เกิดความมั่นใจในสินค้าของตนในชุมชนใน
                       อนาคต ซึ่งอาจจะต่อยอดไปสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และสร้างมาตรฐานสินค้าส่งออกแบรนด์อะไร
                       ต่อไป (กรมพัฒนาที่ดิน, 2555)

                              การจัดการดินแบบเกษตรกรมีส่วนร่วมส่าหรับการปลูกทุเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการ
                       จัดการดินที่มีความเสื่อมโทรมลงจากปัญหาสมดุลธาตุอาหารในดิน ให้เหมาะสมส่าหรับการปลูก
                       ทุเรียน สามารถลดต้นทุนการผลิต ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมในดิน และช่วยให้ผลผลิตมีความยั่งยืน

                       รวมทั้งใช้วิธีการแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม (Farmer  Participatory  Research) ส่าหรับการถ่ายทอด
                       เทคโนโลยีการจัดการดินสู่เกษตรกร จะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกษตรกรมีการจัดการดินอย่างเป็น
                       รูปธรรม และน่าไปปฏิบัติอย่างแพร่หลาย ซึ่งผลจากการด่าเนินงานพบว่า การใช้ผลการวิเคราะห์ดิน
                       และผลวิเคราะห์ใบทุเรียนเป็นเกณฑ์ในการจัดการดิน โดยการผสมผสานระหว่างการใช้วัสดุปรับปรุง
                       บ่ารุงดิน โดโลไมท์ ปุ๋ยหมักจาก พด.1 น้่าหมักชีวภาพ พด.2 และ พด.3 ช่วยป้องกันโรครากเน่าโคน

                       เน่า ร่วมกับอัตราปุ๋ยเคมีที่เหมาะสม กับสภาพของดิน และให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการด่าเนินงาน
                       ช่วยให้ทุเรียนมีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ สามารถให้ผลผลิตได้ดี ลดค่าใช้จ่ายปุ๋ยลงได้ และช่วยให้
                       เกิดความสมดุลของธาตุอาหารพืช สามารถลดความเสื่อมโทรมของดินลงได้ประมาณ 1,200 บาทต่อ

                       ไร่ ท่าให้ระบบการผลิตมีความยั่งยืน เกษตรกรมีความพึงพอใจและยอมรับวิธีการจัดการดิน โดยใช้ผล
                       การวิเคราะห์ดินและใบทุเรียนเป็นเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 50 และ 80 ของการด่าเนินงานในปีแรกและ
                       ในขั้นตอนการขยายผล (สุภา และคณะ, 2551)
                                 สุขวัฒน์ และคณะ  (2545)  ทดลองน่าสารจากธรรมชาติมาใช้ทดแทนสารเคมีในระบบการ

                       ผลิตทุเรียน อัตรา 0 25 50 75 และ 100 เปอร์เซนต์ พบว่ากรรมวิธีทดแทนสารเคมี 0 และ 50
                       เปอร์เซนต์  มีศักยภาพโดยรวมมากที่สุดได้แก่ศักยภาพการให้ผลผลิต  ศักยภาพการให้ผลผลิตที่มี
                       คุณภาพ  ศักยภาพการให้ผลตอบแทน  และศักยภาพด้านความปลอดภัย  ในขณะที่กรรมวิธีทดแทน
                       สารเคมี 25  และ 75  เปอร์เซนต์ ในบางปี  มีศักยภาพการให้ผลผลิตและผลตอบแทนน้อยกว่า  50
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58