Page 55 - การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
P. 55

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       41







                       กิโลกรัม และมีปริมาณผลผลิตที่มีคุณค่าทางการตลาด 68.23 70.93 และ 63.83 เปอร์เซ็นต์ ของ
                       ผลผลิตทั้งหมด ตามล่าดับ ส่วนกรรมวิธีที่ 4 (ลดการใช้สารเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ + สารธรรมชาติที่ผลิต
                       เป็นการค้า)  มีปริมาณผลผลิตต่อไร่ต่่าเพียง  679.94  กิโลกรัม  จึงไม่แนะนาให้ใช้วิธีการผลิตแบบ
                       กรรมวิธีที่ 4 ในการผลิตทุเรียนคุณภาพ

                              สุนี และคณะ (2546) ท่าการทดลองเปรียบเทียบผลของการจัดการสวนที่มีการใช้สารเคมี
                       ตามปกติ กับการใช้สารธรรมชาติทดแทนสารเคมีในการผลิตทุเรียนคุณภาพ ภายในสวนทุเรียนพันธุ์
                       หมอนทองของเกษตรกรในเขต อ. เขาสมิง จ. ตราด ใช้พื้นที่แปลงละประมาณ 5 ไร่ ท่าการทดลอง
                       ระหว่าง เดือน สิงหาคม 2542 จนถึง ตุลาคม 2545 ผลการทดลองพบว่าหลังจากการปรับใช้สาร

                       ธรรมชาติในปีแรก ความสมบูรณ์ต้นโดยเฉลี่ยไม่ต่างกันคือ 69.3 และ 71.8 เปอร์เซ็นต์ ในแปลงที่ใช้
                       สารเคมีและไม่ใช้สารตามล่าดับ แต่หลังจากการไว้ผลผลิตเต็มที่ในปีแรกท่าให้ความสมบูรณ์ของต้น
                       ทุเรียนในแปลงที่ไม่ใช้สารเคมีลดลงเหลือเพียง 58.1 เปอร์เซ็นต์ ในปีที่ 2 และ3 ส่งผลให้มีต้นตายเมื่อ
                       สิ้นสุดการทดลอง มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากไม่สามารถควบคุมโรครากและล่าต้นเน่าที่เกิด

                       จากเชื้อไฟทอปธอร่า (Phytophthora palmivora) ได้ด้วยสารธรรมชาติที่มีอยู่ในปัจจุบัน ท่าให้ต้น
                       ทุเรียนเป็นโรคไฟทอปธอร่าเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากยังพบว่าการใช้สารจากธรรมชาติท่าให้ต้นทุน
                       การผลิตทุเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมาก  เนื่องจากต้องให้ปัจจัยการผลิตที่มีต้นทุนสูง  และถี่กว่า  สารเคมี

                       ดังนั้นในการผลิตทุเรียนด้วยสารจากธรรมชาติน่าจะใช้วิธีผสมผสาน  ใช้ในเวลาที่เหมาะสมและ
                       จ่าเป็นต้องมีการพัฒนาวิธีการจัดการธาตุอาหารพืช  ร่วมกับการจัดการศัตรูพืชที่มีประสิทธิภาพไป
                       พร้อมกัน
                              อนันต์ และชาลี (2540) รายงานว่า ดินที่เหมาะสมจะท่าการปลูกทุเรียนควรเป็นดินร่วนซึ่ง
                       เป็นดินที่เหมาะสมที่สุด หรือถ้าเป็นดินร่วนปนทรายก็ต้องมีอินทรียวัตถุปนอยู่ในปริมาณที่มาก และ

                       ควรเป็นดินลึกตั้งแต่ 1.50  –  2.00  เมตร ลงไป ดินไม่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป ควรมี pH  อยู่
                       ระหว่าง 6-7  ทุเรียนควรใส่ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ควบคู่ไปกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ควรพรวนดินในบริเวณ
                       รัศมีทรงพุ่ม เพราะรากฝอย และรากแขนงที่ท่าหน้าที่ดูดอาหารจะมีมากในบริเวณนี้ แล้วท่าการหว่าน

                       ปุ๋ยรอบ ๆ ทรงพุ่มที่พรวนไว้ จากนั้นสับกลบปุ๋ยอีกครั้งรดน้่าให้ชุ่ม ใช้หญ้าแห้งมาคลุมรอบบริเวณที่ใส่
                       ปุ๋ย การให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์กับทุเรียนนั้นควรใช้เมื่อทุเรียนอายุเกิน 1  ปีขึ้นไป โดยให้สูตร 13-13-13
                       อัตรา 0.5-1.9 กิโลกรัมต่อต้น เมื่อเข้าปีที่ 3 ให้ใส่ 1.5-2.0 กิโลกรัม และเพิ่มจ่านวนปุ๋ยขึ้นไปตามอายุ
                       ปีของต้นทุเรียน เมื่อเข้าปีที่ 4-5 ทุเรียนจะให้ผล ใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 ใส่ต้นละอย่างน้อย 2 กิโลกรัม

                       โดยใส่ก่อนทุเรียนออกดอกประมาณ 2 เดือน จะช่วยให้ทุเรียนออกดอกดีขึ้น โรคที่ส่าคัญของทุเรียน
                       ได้แก่ โรครากเน่าโคนเน่า เกิดจากเชื้อราจะแสดงอาการบริเวณโคนต้นใกล้พื้นดิน เกิดเป็นจุดสีด่า
                       และมีน้่าซึมออกมา แผลจะขยายใหญ่ขึ้น โดยโรคจะเกิดกับรากใต้ดินด้วย ใบทุเรียนจะมีอาการ
                       ใบเหลือง และร่วง ท่าให้ต้นตายในที่สุด ซึ่งการป้องกันจะใช้มีดปาดส่วนที่เป็นโรคออก ทายาฆ่าเชื้อรา

                       หรือใช้ยา Santa A นอกจากนี้ถ้าท่าการปลูกต้นใหม่ให้หาต้นตอทุเรียนป่าซึ่งจะมีความต้านทานโรค
                       ได้ดี ส่าหรับแมลงศัตรูพืชที่ส่าคัญ ได้แก่เพลี้ยต่าง ๆ เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยหอย โดยจะ
                       เกาะอยู่ตามยอดอ่อน และก้านใบ ป้องกันก่าจัดโดยใช้ยามาลาไธออน พาราไธออน หรือเซวิน 85 ฉีด
                       พ่น โดย ในปีต่อๆ ไป ควรดูแลรดน้่าให้ต้นไม้ผลอย่างสม่่าเสมอ และ ในช่วงฤดูแล้งควรใช้วัสดุคลุมดิน
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60