Page 16 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินที่มีวัตถุต้นกำเนิดจากหินแกรนิตบริเวณจังหวัดอุทัยธานี
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         7







                            2.1.10 หินแกรนิต (Granite) เปนหินที่พบมากและแพรหลายที่สุดในจํานวนหินอัคนีดวยกัน
                       มีเนื้อหินแบบเนื้อหยาบ โครงสรางแบบแนนทึบ แรสีจางที่เปนองคประกอบเปนควอตซ โพแทสเซียม

                       เฟลดสปาร และแพลจิโอเคลส แรสีเขมที่เปนองคประกอบรวมดวยคือ ไบโอไทตและกลุมแอมฟโบล
                       (อัญชลีและคณะ, 2555) การจําแนกหินแกรนิตของประเทศไทยแบงออกเปน 3 แนว คือ

                               1) หินแกรนิตแนวตะวันออกมักเปนมวลหินขนาดเล็ก หรืออาจเกิดเปนมวลหินขนาดใหญ

                       ซึ่งประกอบดวยมวลหินขนาดเล็กของหินแกรนิตชนิดตางๆ แทรกทับซอนกันอยู หินแกรนิตแนวนี้
                       มักจะเกิดขึ้นปะปนและสัมพันธกับกลุมหินภูเขาไฟจึงมีประเภทหินและแรประกอบหินแตกตางกัน

                       มาก บริเวณที่พบหินแกรนิตแนวนี้ ไดแก บริเวณจังหวัดเลย จังหวัดเพชรบูรณ จังหวัดแพร จังหวัด
                       ตาก บริเวณตะวันออกของนครสวรรค (อําเภอไพสาลี) ดานทิศตะวันออกของจังหวัดฉะเชิงเทรา

                       (เขาหินซอน) จังหวัดจันทบุรี (เขาสอยดาว) และจังหวัดตราด (เขาพริ้ว)

                               2) หินแกรนิตแนวตอนกลาง เปนมวลหินขนาดใหญเปนแนวยาวติดตอกันตามแนวเหนือ-ใต
                       บริเวณอําเภอฝาง อําเภอแมแจม อําเภอขุนยวม อําเภอสะเมิง อําเภอฮอด และเทือกเขาดอยอินทนนท

                       จังหวัดเชียงใหม จังหวัดแมฮองสอน เทือกเขาขุนตาล จังหวัดลําปาง อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน และจาก

                       บริเวณอําเภออมกอย จังหวัดเชียงใหม บริเวณตะวันตกของ อําเภอแมสอด จังหวัดตาก เปนแนวลง
                       มาทางใตผานเทือกเขาหินแกรนิตของจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยองและภาคใตของ

                       ประเทศไทย

                               3) หินแกรนิตแนวตะวันตก มีลักษณะคลายหินแกรนิตแนวตอนกลางและแนวตะวันออก
                       แตลักษณะเนื้อหินแกรนิตที่พบหยาบใหญไมเทากัน ผลึกแรมักไมมีการเรียงตัว โดยพบตามบริเวณ

                       ชายแดนไทย-เมียนมาร ไดแก บริเวณตะวันตกของ อําเภอแมสะเรียง จังหวัดแมฮองสอน และจังหวัด
                       เชียงใหม จังหวัดกาญจนบุรี บริเวณตะวันตกของ จังหวัดประจวบคีรีขันธ จังหวัดภูเก็ต ชายทะเล

                       ตะวันตกบริเวณจังหวัดระนอง
                               ในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีจัดอยูในแนวหินแกรนิตตอนกลางของประเทศไทย จะเกิดเปน

                       มวลหินขนาดใหญ  เปนแนวยาวติดตอกัน  หินแกรนิตบางสวนมีลักษณะผลึกแรเรียงตัวเปนแถบ

                       เปนแนวตรงและแถบคดโคง มีลักษณะการเรียงตัวของแรคลายหินไนส จึงมักถูกเรียกวา ไนสิกแกรนิต
                       ซึ่งเชื่อวาเกิดจากหินแกรนิตถูกบีบอัดตามแนวรอยเลื่อนขนาดใหญ สวนใหญของหินแกรนิตในจังหวัด

                       อุทัยธานีจะวางตัวในแนวเหนือ - ใต ตอเนื่องกับหินแกรนิตในจังหวัดตาก ในพื้นที่บริเวณนี้เรียก

                       หินแกรนิตวา บานทองหลางแกรนิต พบกระจายตัวในทางดานตะวันตกของจังหวัด ลักษณะหิน
                       ประกอบดวย หินแกรนิตเนื้อหยาบมีผลึกเฟลดสปารขนาดใหญมาก ผลึกแรจะเรียงตัวเปนแนวตั้งแต

                       เรียงตัวธรรมดา จนถึงเปนชั้นขาวสลับดํา หินแกรนิตในแนวตอนกลางนี้มีสัดสวนของแรสีขาวและแร

                       สีดําอยูในชวงจํากัดแคบๆ ซึ่งจัดอยูในกลุมของหินแกรนิตแท (true granite) (กรมทรัพยากรธรณี, 2551)
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21