Page 21 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินที่มีวัตถุต้นกำเนิดจากหินแกรนิตบริเวณจังหวัดอุทัยธานี
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        12







                               1) สมบัติทางกายภาพ
                                  (1) ผลการศึกษาการกระจายขนาดของอนุภาคดินตามความลึก การศึกษาดินที่เกิดจาก

                       หินแกรนิตในประเทศไทย (อัมภวัลยและคณะ, 2537) พบวา ทุกบริเวณมีปริมาณอนุภาคขนาดทราย
                       สูงกวาอนุภาคขนาดทรายแปงและดินเหนียว ลักษณะการสะสมของอนุภาคดิน พบวา ปริมาณ

                       อนุภาคขนาดทรายมีคาลดลงตามความลึกในขณะที่การสะสมของอนุภาคขนาดดินเหนียวมีคาเพิ่มขึ้น

                       ตามความลึก การศึกษาดินที่เกิดจากหินแกรนิตในชายฝงทะเลภาคใต ( Vijarnsorn, 1972) พบวา
                       เปนดินเนื้อหยาบและมีปริมาณอนุภาคทรายสูง ปริมาณดินเหนียวเพิ่มขึ้นในดินลาง

                                  (2) ความหนาแนนรวมของดิน จากการศึกษาดินที่เกิดจากหินแกรนิตในบริเวณชายฝง
                       ทะเลตะวันออกเฉียงใต (Inthawong, 1978; บุษยรัตน, 2552) พบวา ดินสวนใหญมีความหนาแนนรวม

                       สูงและมีความพรุนต่ํา

                                  (3) สภาพนําน้ําขณะดินอิ่มตัวดวยน้ํา การศึกษาดินที่เกิดจากหินแกรนิตในบริเวณ
                       ชายฝงทะเลตะวันออกเฉียงใต (บุษยรัตน, 2552) พบวา มีคาอยูในระดับชามากถึงเร็ว

                               2) สมบัติทางเคมี

                                  (1) จากผลการวิเคราะหคาปฏิกิริยาดินโดยใชสัดสวนดินตอน้ํา 1:1 จากการศึกษาดินที่
                       เกิดจากหินแกรนิตในประเทศไทย (อัมภวัลยและคณะ, 2537) พบวา ทุกชุดดินมีคาต่ํา โดยมีคา

                       ปฏิกิริยาดินเพิ่มขึ้นตามความลึก ซึ่งสอดคลองกับการศึกษาดินที่เกี่ยวของกับเหมืองดีบุกและปาชายเลน

                       (เชาวน, 2527) การศึกษาดินที่เกิดจากหินแกรนิตบริเวณภาคเหนือ (สารคาม, 2528) พบวา มีคาต่ํา
                       และมีคาคอนขางคงที่ตลอดหนาตัดดิน การศึกษาดินที่เกิดจากหินแกรนิตในบริเวณชายฝงทะเล

                       ตะวันออกเฉียงใต (บุษยรัตน, 2552) พบวา ทุกหนาตัดดินมีคาต่ํามากถึงต่ํา สวนคาที่วัดโดย
                       สารละลาย 1 โมลาร โพแทสเซียมคลอไรด 1:1 มีคาต่ํากวาคาที่วัดไดโดยใชน้ําทุกหนาตัดดิน

                                  (2) ปริมาณอินทรียวัตถุ จากการศึกษาดินที่เกิดจากหินแกรนิตในประเทศไทย (อัมภวัลย
                       และคณะ, 2537) พบวา มีปริมาณสูงในชั้นดินบน แลวลดลงในชั้นดินลางตลอดหนาตัดดิน การศึกษา

                       ดินที่เกิดจากหินแกรนิตบริเวณภาคเหนือ (สารคาม, 2528) พบวา บริเวณที่ทําการศึกษามีความ

                       แปรปรวนตั้งแตต่ํามากถึงสูงมาก และการศึกษาดินที่เกิดจากหินแกรนิตในบริเวณชายฝงทะเล
                       ตะวันออกเฉียงใต (บุษยรัตน, 2552) พบวา มีปริมาณต่ํามากถึงปานกลาง

                                  (3) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เปนประโยชนในดิน จากการศึกษาดินที่เกิดจากหินแกรนิตใน

                       ประเทศไทย (อัมภวัลยและคณะ, 2537) พบวา มีปริมาณสูงในชั้นดินบน แลวลดลงในชั้นดินลาง
                       ตลอดหนาตัดดิน การศึกษาดินที่เกิดจากหินแกรนิตบริเวณภาคเหนือ (สารคาม, 2528) พบวา มี

                       ปริมาณต่ําทุกหนาตัดดินยกเวนบริเวณดอยสะเก็ด และดอยขุนตาลนอยมีปริมาณปานกลาง และ

                       การศึกษาดินที่เกิดจากหินแกรนิตในบริเวณชายฝงทะเลตะวันออกเฉียงใต (บุษยรัตน, 2552) พบวา มี
                       ปริมาณคอนขางต่ําถึงสูง
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26