Page 15 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินที่มีวัตถุต้นกำเนิดจากหินแกรนิตบริเวณจังหวัดอุทัยธานี
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         6







                       อิทธิพลของปจจัยที่ใหกําเนิดดินอยางใดอยางหนึ่ง เชน ลําดับภูมิประเทศ ลําดับชีวภาพ ลําดับหิน
                       ลําดับภูมิอากาศ  ลําดับเวลา และลําดับมนุษย ( คณะกรรมการจัดทําพจนานุกรมปฐพีวิทยา, 2551 )

                       สภาพภูมิประเทศที่แตกตางกันจะมีผลตอลักษณะการระบายน้ําของดิน  เชนเดียวกับกระบวนการ
                       กรอนและการทับถมที่มีความสัมพันธกับการเคลื่อนยายของวัสดุและการละลายในพื้นที่  สมบัติดิน

                       บางประการจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพภูมิประเทศ เชน  ความหนาของชั้นดินบนมักเพิ่มขึ้นใน

                       สวนต่ําของสภาพภูมิประเทศ  และโดยปกติแลวตนไมในบริเวณตอนลางของชวงความลาดชันจะให
                       ผลผลิตและการเจริญเติบโตดีกวาตอนบน (Gerrard, 1992)

                            2.1.5 ระบบอนุกรมวิธานดิน ( Soil Taxonomy ) ซึ่งเปนระบบการจําแนกดินของ
                       สหรัฐอเมริกาที่มีการนํามาใชในประเทศไทยนับตั้งแตป พ.ศ. 2518 เปนตนมา ระบบอนุกรมวิธานดิน

                       แบงขั้นการจําแนกดินเปน  7  ขั้น  โดยเรียงลําดับจากการจําแนกขั้นสูงสุดไปหาขั้นต่ําสุด  ไดดังนี้

                       ขั้นของการจําแนกขั้นสูง 4 ขั้น คือ อันดับดิน (soil order) อันดับดินยอย (soil suborder) กลุมดิน
                       (soil great group) และกลุมดินยอย (soil subgroup) ขั้นของการจําแนกขั้นต่ํา 2 ขั้น คือ พวกดิน

                       หรือวงศดิน (soil family) และชุดดิน (soil series)  (Soil Survey Staff, 2014)

                            2.1.6 ชุดดิน (soil series)  เปนชื่อชั้นของการจําแนก  (taxonomic classes)  ตามระบบ
                       อนุกรมวิธานดิน ถือวาเปนขั้นการจําแนกขั้นต่ําสุด ตอจากวงศดิน กลุมดินยอย กลุมดินใหญ อันดับยอย

                       และอันดับ การใหชื่อชุดดินใชชื่อสถานที่พบครั้งแรกเปนหลัก เชน ชื่อตําบล อําเภอ จังหวัด หรือชื่อ

                       ของบริเวณที่มีลักษณะเดนเปนที่รูจักกันอยางแพรหลายและบางครั้งอาจใชชื่อของแมน้ํา ลําคลอง ซึ่ง
                       มีพื้นที่เปนบริเวณกวาง (กอนหนานี้ประเทศไทยกําหนดใหใชพื้นที่ 20 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป ปจจุบัน

                       กําหนดใหใชพื้นที่ 8 ตารางกิโลเมตร และสามารถตั้งเปนชุดดินได แมจะมีพื้นที่ที่พบนอยกวา
                       8 ตารางกิโลเมตร ถาดินนั้นมีลักษณะแตกตางไปจากชุดดินอื่นเดนชัดจริงๆ)  (เอิบ, 2548)

                            2.1.7 ดินหนึ่ง  ( soil individual ) คือ ดินที่กําหนดเปนแนวความคิดวา เปนเทหวัตถุที่มี
                       ลักษณะเปนสามมิติ เปนองคประกอบของภูมิทัศน ดินจะปรากฏอยู ณ ที่หนึ่ง ซึ่งในทางดิ่งจะเริ่ม

                       ตั้งแตสวนที่สัมผัสอากาศลึกลงไปจนถึงชั้นวัสดุธรณีที่อยูดานลาง ในทางราบจะขยายขอบเขตดานขาง

                       ออกไปจนถึงลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง ดินหนึ่งจะมีขอบเขตติดกับดินอื่นหรือวัสดุที่
                       ไมใชดิน ความแตกตางระหวางดินหนึ่งกับดินอื่นๆ จะเปนอะไรก็ได เชน ความลึกตางกัน ลักษณะของ

                       ชั้นดินที่ประกอบอยูตางกัน โดยขนาดที่เล็กที่สุดของดินหนึ่ง เรียกวา พีดอน (pedon)

                            2.1.8 พีดอน (pedon) คือ ปริมาตรที่เล็กที่สุดที่สามารถบอกไดวาเปนดินหนึ่ง
                            2.1.9 หนวยหลายพีดอน (polypedon)  คือ กลุมของพีดอนที่เหมือนและตอเนื่องกัน ขอบเขต

                       ของโพลีพีดอนไปจรดพื้นที่ที่ไมมีดินหรือถึงพื้นที่ดินอื่นที่มีลักษณะแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญ ใน

                       ระบบอนุกรมวิธานดินถือวาเปนหนวยการจําแนกในระบบชุดดิน มีความหมายเดียวกับดินหนึ่ง
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20