Page 11 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินที่มีวัตถุต้นกำเนิดจากหินแกรนิตบริเวณจังหวัดอุทัยธานี
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         2







                                                             บทที่ 2
                                           นามศัพท ความหมาย และการตรวจเอกสาร

                       2.1 นามศัพทและความหมาย

                            2.1.1 ดิน  (soils) หมายถึง  เทหวัตถุที่มีลักษณะเฉพาะตัวและมีวิวัฒนาการตามธรรมชาติที่เกิด

                       จากการสลายตัวของหินและแรธาตุ ผสมคลุกเคลากับอินทรียวัตถุ (Dokuchaev, 1983) ซึ่งปกคลุมผิว
                       โลกอยูเปนชั้นบางๆ เปนวัตถุที่ค้ําจุนการเจริญเติบโตและการทรงตัวของพืช มีการแบงชั้น (horizon)

                       ที่สามารถสังเกตเห็นไดจากตอนบนลงไปตอนลาง มีอาณาเขตและลักษณะประจําตัว ซึ่งประกอบดวย
                       แรธาตุที่เปนของแข็ง อินทรียวัตถุ น้ํา และอากาศที่มีสัดสวนแตกตางกันออกไป การเกิดขึ้นของดิน

                       เปนผลสืบเนื่องมาจากการกระทํารวมกันของปจจัยตางๆ เชน สภาพภูมิอากาศ พืช และสิ่งมีชีวิต

                       ตอวัตถุตนกําเนิดของดิน ในสภาพพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งตลอดชวงระยะเวลาหนึ่ง

                            2.1.2 ปจจัยในการกําเนิดดิน (soil forming factors)  หมายถึง ปจจัยที่ควบคุมการเกิด

                       และพัฒนาการของดิน 5 ปจจัย ประกอบดวย สภาพภูมิอากาศ (climate) ปจจัยทางชีวภาพ (biotic
                       factor) ความตางระดับของพื้นที่หรือสภาพภูมิประเทศ (relief หรือ topography) วัตถุตนกําเนิดดิน

                       (soil parent material) และระยะเวลาหรือพัฒนาการของดิน (time) ความสัมพันธของปจจัยเหล่านี้

                       สามารถเขียนแทนไดดวยสมการ (Jenny, 1941)

                                  s = f (cl, o, r, p, t, …) เมื่อ s = ดินชนิดหนึ่ง
                                  1) สภาพภูมิอากาศ (climate) สภาพภูมิอากาศที่มีอิทธิพลตอการเกิดของดินหรือทํา

                       ใหดินมีลักษณะแตกตางกัน ไดแก ปริมาณการกระจายตัวของฝนและอุณหภูมิ ซึ่งปจจัยทั้งสองอยางนี้

                       มีอิทธิพลตออัตราการสลายตัวของทั้งหินและแรของวัตถุตนกําเนิดดิน  (weathering process)  ใน
                       ดานกายภาพและเคมี (physical and chemical weathering) ทั้งยังมีอิทธิพลตออัตราความเร็วของ

                       การเคลื่อนยายและการสะสมใหมของหินและแรที่ถูกแปรสภาพโดยตัวการสําคัญมาเปนวัตถุตนกําเนิด
                       ของดิน รวมไปถึงการชะลางพังทลายของดิน การชะละลายธาตุอาหารพืชในดินและสภาพความชื้นในดิน

                       บริเวณเขตรอนซึ่งมีอุณหภูมิสูงและมีปริมาณฝนตกชุก หิน แร จะสลายตัวเปนดินไดเร็ว การผุพัง

                       สลายตัวตางๆ จึงดําเนินไปอยางรวดเร็ว เกิดการชะลางธาตุอาหารพืชออกไปไดมาก จึงมักทําใหดินมี
                       ความอุดมสมบูรณต่ํา นอกจากนี้ภูมิอากาศยังมีผลตอชนิดของสิ่งมีชีวิตและพืชพรรณ ซึ่งเปนปจจัยที่

                       ควบคุมการสรางตัวของดินดวย

                                  2) ปจจัยทางชีวภาพ (biotic factor)  ไดแก สิ่งมีชีวิต ซึ่งประกอบดวยพืชและสัตว
                       แตมักจะเนนที่พืชพรรณตางๆ ที่ขึ้นปกคลุมบนผิวดิน โดยมีอิทธิพลตอความหนาของชั้นดินบน

                       ปริมาณอินทรียวัตถุหรือปริมาณธาตุคารบอนที่เปนองคประกอบในดิน ปริมาณและการหมุนเวียน
                       ของธาตุอาหารพืช ระดับความชื้น องคประกอบทางเคมีของดิน และสมบัติของดินทางดานอื่นๆ
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16