Page 10 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินที่มีวัตถุต้นกำเนิดจากหินแกรนิตบริเวณจังหวัดอุทัยธานี
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน










                                                             บทที่ 1
                                                             บทนํา

                       1.1 บทนํา

                            เดิมขอมูลทรัพยากรดินในจังหวัดอุทัยธานีสวนใหญมาจากการจัดทําแผนที่ระดับจังหวัด

                       มาตราสวน 1:100,000  และ 1:50,000 แตดวยเทคโนโลยีสารสนเทศที่กาวหนาและพัฒนาการดาน
                       การสํารวจจําแนกดินมีความทันสมัยมากขึ้นประกอบกับการใชประโยชนที่ดินมีการพัฒนา

                       เปลี่ยนแปลงไปอยางรวดเร็ว  ทําใหกองสํารวจดินและวิจัยทรัพยากรดินไดดําเนินการสํารวจดินเพื่อ
                       การเกษตรระดับจังหวัด มาตราสวน  1:25,000 โดยมีวัตถุประสงคเพื่อสํารวจและปรับปรุงขอมูล

                       ขอบเขตดินใหมีความถูกตองสอดคลองกับพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งพบวา จังหวัดอุทัยธานีมีพื้นที่

                       สวนใหญทางดานทิศตะวันตกของจังหวัดเปนภูเขาหินแกรนิต วางตัวแนวเหนือ-ใตตอเนื่องมาจาก
                       ภูเขาหินแกรนิตจังหวัดตาก ทําใหพบดินที่พัฒนามาจากหินแกรนิตในทุกธรณีสัณฐาน และมี

                       ทรัพยากรดินในพื้นที่ที่มีความลาดชันนอยกวารอยละ  35 ซึ่งพัฒนามาจากหินแกรนิตกระจายอยู

                       ทั่วไปมากกวารอยละ 50 ของดินในพื้นที่ทั้งจังหวัด
                            ลักษณะสัณฐานวิทยาของดินมีความสัมพันธกับสภาพภูมิประเทศ ทําใหสภาพการระบายน้ํา

                       การกรอน การทับถม การเคลื่อนยายและสะสมวัสดุทางแร และสมบัติตางๆ ของดินมีความ

                       แตกตางกัน ดังนั้นการศึกษาการกําเนิด สัณฐานวิทยา สมบัติทางกายภาพ สมบัติทางเคมี และ
                       องคประกอบเชิงแรของดินที่มีวัตถุตนกําเนิดจากหินแกรนิตตามลําดับสภาพภูมิประเทศจึงมี

                       ความสําคัญมาก เนื่องจากทําใหสามารถจําแนกดินในระดับชุดดิน ซึ่งเปนการจําแนกขั้นต่ําสุดใน
                       ระบบอนุกรมวิธานดิน ทําใหฐานขอมูลของทรัพยากรดินในประเทศไทยมีความครบถวน สมบูรณ

                       ถูกตองและเปนปจจุบัน รวมถึงทราบความอุดมสมบูรณของดิน สามารถทําการจําแนกความเหมาะสม

                       ของดินสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจและจําแนกความเหมาะสมดานปฐพีกลศาสตรไดอยางเหมาะสม
                       นําไปสูการบริหารจัดการทรัพยากรดิน การปรับปรุงบํารุงดิน การอนุรักษดินและน้ําเบื้องตน ทําให

                       เกิดการใชทรัพยากรดินอยางยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ


                       1.2 วัตถุประสงค

                            1. เพื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา สมบัติทางกายภาพ เคมี แรวิทยา และการกําเนิดของ
                       ดินที่มีวัตถุตนกําเนิดมาจากหินแกรนิตในจังหวัดอุทัยธานี เพื่อสําหรับใชกําหนดเปนลักษณะและ

                       สมบัติของดินตัวแทนหลัก

                            2. เพื่อจําแนกความเหมาะสมของดินสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจและจําแนกความเหมาะสม
                       ของดินดานปฐพีกลศาสตร อันเปนขอมูลพื้นฐานในการพิจารณาวางแผนการใชประโยชนที่ดินและ

                       จัดการดินไดอยางเหมาะสมตามศักยภาพของดิน
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15