Page 34 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           23




                  ประกอบการบ้านเรือน ที่ชําระค่าภาษีอากรต่างๆ แล้วจะสามารถแสดงให้เห็นความแตกต่างได้โดยสัญลักษณ์สีที่
                  ต่างกันบนแผนที่ ทําให้สามารถค้นหาหรือติดตามการชําระภาษีอากรได้โดยสะดวก และทําให้การจัดเก็บภาษีมี
                  ประสิทธิภาพมากขึ้น

                                   ด้านสิ่งแวดล้อม การประยุกต์ใช้ GIS เพื่อวิเคราะห์แบบจําลองทางด้านสิ่งแวดล้อม ใช้กัน
                  อย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เช่น การสร้างแบบจําลองสามมิติแสดงแผ่นดินถล่ม แบบจําลองความสูงของ

                  ภูมิประเทศ แบบจําลองแสดงการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ตามเวลาที่เปลี่ยนไป แบบจําลองแสดงการ
                  แพร่กระจายของมลพิษในอากาศ หรือแบบจําลองสามมิติของชุมชนเมือง แบบจําลองระดับน้ําท่วมที่กระทบกับ
                  ชุมชน ซึ่งการสร้างแบบจําลองใน GIS จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถทําความเข้าใจกับลักษณะของพื้นที่ได้โดยง่าย

                  และเป็นการเพิ่มการรับรู้แบบเสมือนจริงในรูปแบบของแบบจําลองสามมิติ ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดในการ
                  ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ GIS สามารถประยุกต์ใช้ทั้งในการวางแผนและบริหารจัดการ
                  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเรื่องวิกฤตสิ่งแวดล้อม การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของ
                  สิ่งแวดล้อม ศึกษาหาสาเหตุปัจจัยแหล่งกําเนิดมลพิษ ตลอดจนการวิเคราะห์เพื่อสร้างแบบจําลองในการวาง
                  แผนการใช้ที่ดินให้เหมาะสมกับศักยภาพของที่ดิน และสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวส่งผลต่อ

                  ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง

                                   ด้านการติดตามทรัพยากรป่าไม้ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อช่วยใน
                  การจัดการป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศกําหนดขอบเขต
                  พื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ที่มีความถูกต้องสูงขึ้น เช่น ในระดับมาตราส่วน 1:4,000 หรือละเอียดกว่า เพื่อนํา

                  ฐานข้อมูล GIS ที่ได้รับมาใช้ติดตามการบุกรุกพื้นที่ป่า ที่จะส่งผลกระทบต่อสังคมและสภาพแวดล้อม เป็นผล
                  ทําให้ความสมดุลทางธรรมชาติเสียไป

                                      การจัดทําแบบจําลองพยากรณ์พื้นที่ปลูกป่า เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติด้านป่าไม้ใน
                  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งในนโยบายป่าไม้แห่งชาติ กําหนดพื้นที่ป่าร้อยละ 40 ของพื้นที่
                  ประเทศหรือประมาณ 128 ล้านไร่ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ซึ่งสามารถจําลองในรูปแบบจําลองทาง

                  คณิตศาสตร์ร่วมกับแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

                                      การประยุกต์ใช้รีโมตเซนซิง (remote sensing) ของประเทศไทย คือ การใช้ดาวเทียมสํารวจ
                  ทรัพยากรธรรมชาติธีออส THEOS (Thailand Earth Observation System) หรือไทยโชติ (THAICHOTE)
                  ติดตามพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่มีสภาพอุดมสมบูรณ์ และนําผลลัพธ์การแปลภาพถ่ายจากดาวเทียมเข้าสู่ระบบ
                  สารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าไม้ สนับสนุนการฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ําลําธาร

                  และการประยุกต์ระบบกําหนดตําแหน่งบนโลกร่วมกับภาพถ่ายจากดาวเทียมไทยโชติเพื่อสนับสนุนงานติดตาม
                  แปลงที่ดินที่ส่งเสริมการปลูกป่า ได้แก่ 1) ฐานข้อมูลแปลงปลูกป่าในพื้นที่หัวไร่ปลายนาหรือพื้นที่กรรมสิทธิ์รายย่อย
                  2) ฐานข้อมูลแปลงปลูกป่าในพื้นที่สาธารณะประโยชน์และป่าชุมชน 3) ฐานข้อมูลแปลงปลูกป่าเชิงพาณิชย์โดย

                  ภาคเอกชน 4) ฐานข้อมูลแปลงปลูกป่าในพื้นที่ที่ดําเนินการของรัฐ 5) ฐานข้อมูลแปลงป่าในเขตป่าอนุรักษ์
                  ของรัฐและพื้นที่ต้นน้ําลําธาร 6) ฐานข้อมูลแปลงปลูกป่าชายเลนเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

                                      เมื่อมีการจัดทําฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในแบบจําลองทาง
                  คณิตศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการพยากรณ์ผลผลิตจากป่า หรือแม้กระทั่งหาพื้นที่เสี่ยงภัยไฟป่า โดยใช้ปัจจัย
                  ทางด้านกายภาพ เช่น สภาพภูมิประเทศ สิ่งปกคลุมประเภทพืชพรรณ พื้นที่เกิดไฟป่า ความถี่ของการเกิดไฟป่า

                  แหล่งน้ํา และความชื้นพื้นผิว เป็นต้น ซึ่งสามารถพยากรณ์พื้นที่เสี่ยงแล้วสามารถจัดการวางแผนในการป้องกัน
                  ไฟป่าต่อไป
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39