Page 12 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน







                                                            บทที่ 1

                                                            บทนํา


                  1. ความสําคัญ

                        ภาคเหนือของประเทศไทยมีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชัน นับเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ

                  อีกทั้งยังเป็นต้นกําเนิดของแม่น้ําสายสําคัญ ได้แก่ แม่น้ําปิง วัง ยม และน่าน ซึ่งไหลรวมกันเป็นแม่น้ํา
                  เจ้าพระยา แต่เนื่องจากในปัจจุบัน อัตราการขยายตัวของชุมชนรวมทั้งจํานวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
                  สถานการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาและการใช้ประโยชน์ที่ดินบน
                  พื้นที่สูงซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ต้นน้ํา โดยการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น บุกรุกตัดโค่นทําลายป่าไม้ที่เป็นแหล่งต้น

                  น้ําลําธาร ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา อาทิเช่น เกิดการกร่อนของดินบนพื้นที่ลาดชัน ปัญหาดินถล่มและ
                  อุทกภัย รวมไปถึงการคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทั้งสังคมพืชและสังคมสัตว์ ซึ่งจะส่งผล
                  ต่อภาพรวมของระบบลุ่มน้ํา โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรมหลักบริเวณพื้นที่กลางน้ําและปลายน้ํา ที่กรมพัฒนาที่ดิน
                  เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการพัฒนาพื้นที่และปรับปรุงบํารุงดิน

                        ลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้าเป็นหนึ่งในลุ่มน้ําสาขาหลักของลุ่มน้ํายม มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงและ

                  มีพื้นที่ราบระหว่างหุบเขา การทําการเกษตรบริเวณพื้นที่ลาดชันเล็กน้อยถึงสูงชันมาก ประกอบด้วย การปลูก
                  พืชไร่ ไม้ยืนต้น และไม้ผล ส่วนบริเวณที่ราบระหว่างหุบเขามักปลูกข้าว ซึ่งบริเวณดังกล่าวยังขาดข้อมูล
                  เกี่ยวกับลักษณะและสมบัติของดิน ทําให้ไม่มีข้อมูลสําหรับการวางแผนจัดการดินเพื่อการเกษตรกรรมที่

                  เพียงพอ อีกทั้งการสํารวจและศึกษาทรัพยากรดินบนพื้นที่สูง มีข้อจํากัดหลายประการ เช่น พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพ
                  เป็นป่าธรรมชาติ พื้นที่มีความลาดชันสูง และไม่มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก เป็นต้น ทําให้ยากต่อการสํารวจ
                  และเป็นอุปสรรคต่อการใช้พาหนะในการเดินทาง อีกทั้งเรื่องงบประมาณและระยะเวลาในการสํารวจมีอยู่
                  อย่างจํากัด (อนุกูล, 2548)

                        ดังนั้นการศึกษาดินบนพื้นที่สูงจึงต้องใช้เทคนิคและนําเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

                  มาประยุกต์ใช้ในการสํารวจและจัดทําฐานข้อมูลทรัพยากรดินบริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า เพื่อตอบสนองต่อ
                  สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการใช้ประโยชน์
                  ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนําไปใช้กําหนดแนวทางการจัดการดินให้สอดคล้องกับ
                  สภาพปัญหาและสภาวะสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับผลผลิตและฐานะทางเศรษฐกิจของเกษตรกรให้ดีขึ้นอย่างมี

                  คุณภาพและยั่งยืน ซึ่งการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อให้ได้วิธีการที่เหมาะสม รวดเร็ว ถูกต้อง
                  ประหยัดค่าใช้จ่าย และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลทรัพยากรดินสําหรับนําไปใช้วางแผนและ
                  จัดการที่ดินได้อย่างเหมาะสม โดยได้ทําการศึกษาในพื้นที่ลุ่มน้ําหลักแม่น้ํายม ลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า (รหัส 0808)
                  ซึ่งมีพื้นที่ 515.98 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 2.15 ของพื้นที่ลุ่มน้ําหลักแม่น้ํายม
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17