Page 117 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 117

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           95



                  ระดับความลึก 100 เซนติเมตรลงไป ดินจะมีค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําในระดับช้าส่งผลให้ดินที่มีลักษณะเช่นนี้มี
                  ความสามารถกักเก็บน้ําได้ดี (ตารางภาคผนวกที่ 2)

                             จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดินมีความสําคัญในการจัดระดับความ
                  เหมาะสมของดินทางด้านปฐพีกลศาสตร์ ในเรื่องการใช้เป็นบ่อขุด อ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก และบ่อเกรอะ โดยดิน

                  ที่มีค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดินในระดับช้าถึงช้ามาก (น้อยกว่า 0.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง) จะมีความ
                  เหมาะสมดีสําหรับการใช้เป็นบ่อขุดและอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก ในขณะที่ไม่เหมาะสมสําหรับใช้ทําระบบบ่อเกรอะ
                  ซึ่งต้องการดินที่มีการระบายน้ําดี ส่วนดินที่มีค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดินในระดับค่อนข้างเร็วถึงเร็วมาก
                  (มากกว่า 5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง) เหมาะสมดีสําหรับการใช้เป็นบ่อเกรอะ เนื่องจากระบบการดูดซึมสิ่งขับถ่าย

                  จากบ่อเกรอะลงสู่ดินธรรมชาติต้องไหลซึมผ่านได้ง่ายและรวดเร็ว ในทางตรงกันข้ามไม่เหมาะสมสําหรับใช้เป็น
                  บ่อขุดและอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก ซึ่งต้องอาศัยดินที่มีความสามารถในการเก็บกักน้ําไว้ได้ดี

                           1.2.3 การกัดกร่อนของท่อเหล็กที่ไม่เคลือบผิว


                             ระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดินบ่งชี้ผลกระทบที่มีต่อการกัดกร่อนของท่อเหล็กที่ไม่เคลือบผิว
                  ที่ฝังอยู่ใต้ดิน ซึ่งมีผลต่อการใช้สร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยทั่วไปดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
                  ของดินเป็นกรดรุนแรงมากที่สุดถึงกรดจัด (pH < 5.5) จะส่งผลต่อการกัดกร่อนของท่อเหล็กที่ไม่เคลือบผิว
                  จากผลการศึกษาและวิเคราะห์ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน 41 ชุดดินตัวแทนหลักตลอดความลึก 200
                  เซนติเมตร (ตารางที่ 40) ซึ่งเป็นช่วงความลึกที่มีการเดินสายไฟฟ้าของท่อโลหะหรือท่อเหล็ก (15 - 30, 30 - 60

                  และ 60 - 100 เซนติเมตร) และการติดตั้งท่อประปาเหล็ก (100 - 200 เซนติเมตร) พบว่า ดินทั้งหมดมีค่า
                  ความเป็นกรดเป็นด่างของดินอยู่ในช่วง 4.3 – 8.7 เมื่อพิจารณาตามความลึกดินที่ 0 - 30, 30 - 60, 60 - 100
                  และ 100 - 200 เซนติเมตร มีค่าอยู่ในช่วง 4.3 – 7.2, 4.3 – 7.9, 4.4 – 8.4 และ 4.4 - 8.7 ตามลําดับ

                             เมื่อพิจารณาถึงระดับของค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินต่อการกัดกร่อนของท่อเหล็กที่ไม่

                  เคลือบผิว พบว่า ระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่ตรวจวัดได้ตลอดหน้าตัดดิน 200 เซนติเมตร มีผลต่อ
                  การกัดกร่อนของท่อเหล็กที่ไม่เคลือบผิวอยู่ในระดับต่ํา นอกจากนี้ ผลการศึกษายังสามารถแบ่งระดับความ
                  รุนแรงต่อการกัดกร่อนของท่อเหล็กที่ไม่เคลือบผิวได้ตามกลุ่มของเนื้อดิน ประกอบด้วย ดินทราย และดินร่วน
                  หรือดินเหนียว คือ


                                1) กลุ่มดินทราย มีเนื้อดินเป็นดินทรายและดินทรายปนดินร่วน ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
                  ใน 3 ชุดดินตัวแทนหลัก ตลอดหน้าตัดดิน 200 เซนติเมตร มีค่าอยู่ในช่วง 4.4 - 5.8 และมีค่าตามความลึกดินที่
                  ระดับ 0 - 30, 30 - 60, 60 - 100 และ 100 - 200 เซนติเมตร อยู่ในช่วง 4.8 - 5.3, 5.2 - 5.8, 5.2 - 5.5 และ
                  4.4 - 5.7 ตามลําดับ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินดังกล่าว ส่งผลต่อการกัดกร่อนของท่อเหล็กที่ไม่เคลือบผิว
                  อยู่ในระดับต่ํา (pH 4.0 - 5.4) ได้แก่ ชุดดินจันทึก (pH 5.2 - 5.7) ชุดดินน้ําพอง (pH 4.8 - 5.3) และชุดดิน

                  อุบล (pH 4.4 - 5.8) ที่เมื่อพิจารณาค่า pH ตามความลึกของดิน ค่า pH ของดินในบางชั้นความลึกดินที่มีค่า
                  เท่ากับหรือสูงกว่า 5.5 เช่น ชุดดินจันทึกที่ความลึก 60 – 200 เซนติเมตร และชุดดินอุบลที่ความลึก 30 – 100
                  เซนติเมตร สะท้อนให้เห็นว่า ที่ระดับความลึกดินดังกล่าวไม่ส่งผลให้เกิดการผุกร่อนของท่อเหล็กที่ไม่เคลือบผิว


                                2) กลุ่มดินทรายทับอยู่บนดินร่วนใน 2 ชุดดินตัวแทนหลัก ตลอดหน้าตัดดิน 200 เซนติเมตร มีค่า
                  อยู่ในช่วง 4.4 – 5.4 และมีค่าตามความลึกดินที่ระดับ 0 - 30, 30 - 60, 60 - 100 และ 100 - 200 เซนติเมตร
                  อยู่ในช่วง 5.0 - 5.4, 4.5 - 5.3, 4.4 - 5.2 และ 4.9 - 5.3 ตามลําดับ ได้แก่ ชุดดินบ้านไผ่ (pH 4.4 - 5.0) และ
                  ชุดดินมหาสารคาม (pH 5.2 - 5.4) เมื่อพิจารณาค่า pH ตามความลึกของดิน พบว่า ชุดดินบ้านไผ่ตามความลึก
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122