Page 120 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 120

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           98



                  ตารางที่ 40 (ต่อ)

                    ระดับการกัดกร่อน    ชุดดิน      ค่า pH เฉลี่ยในแต่ละความลึกของดิน (เซนติเมตร)   ช่วงของค่า pH
                      ของท่อเหล็ก                  0 - 30     30 - 60    60 - 100   100 - 200

                   ไม่มีผลต่อการกัดกร่อน  บุรีรัมย์  5.3  -  5.7   -    6.0    -    6.8   -      5.3 - 6.8

                   (pH ≥ 5.0)        ชุมแพ        6.0   -    5.6   -    5.8    -     -    -      5.6 - 6.0

                   ดินร่วน ดินเหนียว   จัตุรัส    7.2   -    7.4   -    7.4    -     -    -      7.2 - 7.4

                                     เขมราฐ       5.0   -    5.2   -    5.2    -    5.4   -      5.0 - 5.4

                                     เลย          5.7   -    5.6   -    5.5    -    5.5   -      5.5 - 5.7
                                     โนนไทย       6.5   -    7.9   -    8.4    -    8.7   -      6.5 - 8.7

                                     พล           5.1   -    5.0   -    5.6    -    6.9   -      5.0 - 6.9

                                     ปลาปาก       5.5   -    5.8   -    5.6    -    5.2   -      5.2 - 5.8

                                     สีคิ้ว       5.9   -    5.2   -    5.4    -    6.1   -      5.2 - 6.1

                                     สูงเนิน      6.7   -    7.0   -    7.0    -    7.6   -      6.7 - 7.6

                                     ธาตุพนม      5.9   -    6.0   -    5.7    -    5.6   -      5.6 - 6.0

                                     วังไห        5.1   -    5.1   -    5.2    -    6.2   -      5.1 - 6.2
                                     ยางตลาด      5.2   -    5.1   -    5.0    -    5.0   -      5.0 - 5.2

                                     ยโสธร        5.7   -    5.2   -    5.2    -    5.2   -      5.2 - 5.7


                           1.2.4 การจําแนกดินในระบบ Unified และ AASHO

                             การจําแนกดินในระบบ Unified และ AASHO นั้น ใช้ค่าการกระจายขนาดของเม็ดดิน ค่าขีดจํากัด
                  ของเหลว และค่าดัชนีพลาสติก ในการจําแนกประเภทของดิน


                             1) การกระจายขนาดของเม็ดดิน

                                การหาขนาดของเม็ดดินเป็นปัจจัยที่ใช้ในการจําแนกดินทางด้านวิศวกรรมในระบบ Unified
                  และ AASHO โดยดินที่ผ่านช่องตะแกรงเบอร์ 200 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.075 มิลลิเมตร เป็นขนาดเม็ดดิน
                  ที่ใช้จําแนกดินเม็ดหยาบและดินเม็ดละเอียด ซึ่งการจําแนกดินในระบบ Unified ต้องผ่านตะแกรงเบอร์ 200
                  มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนระบบ AASHO จําแนกดินที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์


                                ทั้งนี้ จะเห็นว่า เนื้อดินประเภทดินทราย ดินทรายปนดินร่วน และดินร่วนปนทราย เป็นกลุ่มที่
                  ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 น้อยกว่าหรือเท่ากับ 35 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ดินร่วนปนทรายที่มีปริมาณอนุภาคขนาด
                  ดินเหนียว อยู่ในช่วงร้อยละ 10 – 20 เป็นกลุ่มที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 มากกว่า 35 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และ
                  เนื้อดินปะเภทดินร่วน ดินร่วนปนทรายแป้ง ดินร่วนเหนียวปนทรายที่มีปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวอยู่
                  ในช่วงร้อยละ 25 – 35 ดินร่วนเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ดินเหนียวปนทราย ดินเหนียวปนทรายแป้ง

                  และดินเหนียว เป็นกลุ่มที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ (ตารางภาคผนวกที่ 2)
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125