Page 113 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 113

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           91



                  เซนติเมตร มีปริมาณชิ้นส่วนหยาบร้อยละ 35 – 90 โดยปริมาตร ซึ่งปริมาณชิ้นส่วนหยาบเป็นอุปสรรคในการ
                  ใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกลทางการเกษตร และมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช

                  ตารางที่ 39 ระดับการยืดและหดตัวของดินตัวแทนหลัก

                     ระดับการยืดและหดตัวของดิน                            ชุดดิน

                                 ต่ํา              บ้านไผ่ บุณฑริก เชียงคาน ชุมพลบุรี ชํานิ ชุมพวง จอมพระ
                                                   จันทึก ด่านซ้าย ห้วยแถลง เขมราฐ โคราช เลย มหาสารคาม
                                                   น้ําพอง นครพนม โนนไทย โพนพิสัย ปลาปาก ปักธงชัย ภูเรือ

                                                   ร้อยเอ็ด เรณู สีคิ้ว สูงเนิน ธาตุพนม ท่าอุเทน อุบล วาริน วังสะพุง
                                                   ยางตลาด และยโสธร
                              ปานกลาง              ชุมแพ จัตุรัส กันทรวิชัย นาดูน พล ศรีสงคราม ท่าตูม วังไห

                                 สูง               บุรีรัมย์


                           1.1.5 ก้อนหินโผล่ และหินพื้นโผล่


                             ก้อนหินโผล่บ่งชี้ผลกระทบที่มีต่อความเหมาะสมในงานทางด้านปฐพีกลศาสตร์เกือบทุกกิจกรรม
                  ยกเว้นการสร้างอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก อีกทั้งหินพื้นโผล่มีผลต่อความเหมาะสมในการใช้เป็นดินถมหรือดินคันทาง
                  เส้นทางแนวถนน บ่อขุด คันกั้นน้ํา ระบบบ่อเกรอะ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อาคารต่ําๆ และยานพาหนะ
                  ในช่วงฤดูฝน จากผลการศึกษาก้อนหินโผล่และหินพื้นโผล่ของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดิน พบว่า ไม่มีชุดดินใดที่
                  มีข้อจํากัดในเรื่องก้อนหินโผล่และหินพื้นโผล่ ที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานทางด้านปฐพีกลศาสตร์


                           1.1.6 ความลึกของดิน

                             ความลึกของดินบ่งชี้ถึงความหนาของวัสดุที่เหมาะสม ความลึกถึงชั้นทรายหรือกรวด ความลึก
                  ของชั้นซาบซึมน้ํา และความลึกถึงชั้นหินพื้น ซึ่งนํามาใช้ในการจําแนกความเหมาะสมของดินสําหรับการใช้เป็น
                  แหล่งหน้าดิน แหล่งทรายหรือกรวด ดินถมหรือดินคันทาง อ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก และคันกั้นน้ํา นอกจากนี้

                  ความลึกถึงชั้นหินพื้นเป็นข้อจํากัดต่องานทางด้านปฐพีกลศาสตร์ในการใช้เป็นแหล่งทรายหรือกรวด เส้นทาง
                  แนวถนน ระบบบ่อเกรอะ การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และอาคารต่ําๆ จากผลการศึกษาความลึกของดิน
                  ตัวแทนหลัก 41 ชุดดิน พบว่า ดินที่ทําการศึกษาส่วนใหญ่เป็นดินลึกถึงลึกมาก ไม่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน
                  ยกเว้นชุดดินจัตุรัส มีความลึกถึงชั้นขัดขวางที่ 70 เซนติเมตรจากผิวดิน ส่งผลให้เป็นดินที่ไม่เหมาะสมในการใช้

                  เป็นพื้นที่อ่างเก็บน้ําขนาดเล็กและระบบบ่อเกรอะ เนื่องจากชั้นขัดขวางหรือชั้นหินพื้นเป็นอุปสรรคที่ไม่สามารถ
                  ขุดลงไปในดินได้

                           1.1.7 การระบายน้ําของดิน


                             การระบายน้ําของดินเป็นข้อจํากัดที่มีผลกระทบต่อการใช้เป็นแหล่งหน้าดิน ดินถมหรือดินคันทาง
                  เส้นทางแนวถนน การสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อาคารต่ําๆ และยานพาหนะในฤดูฝน จากผล
                  การศึกษาการระบายน้ําของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดิน พบว่า ชุดดินชุมพลบุรี โคราช มหาสารคาม โพนพิสัย
                  ปลาปาก และธาตุพนม เป็นดินที่มีการระบายน้ําดีปานกลาง การไหลซึมของน้ําค่อนข้างช้า ระดับน้ําใต้ดิน

                  ค่อนข้างลึก อาจเปียกถาวรในช่วงฤดูฝน เมื่อประเมินระดับความเหมาะสมของดินในการใช้สร้างโรงงาน
                  อุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอาคารต่ําๆ จะมีระดับความเหมาะสมปานกลาง เมื่อพิจารณาชุดดินบุรีรัมย์
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118