Page 112 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 112

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           90



                  ตารางที่ 38 ระดับการยึดตัวของดินชื้นของดินตัวแทนหลัก

                      ระดับการยึดตัวของดินชื้น                            ชุดดิน

                            very friable           จันทึก เลย มหาสารคาม น้ําพอง อุบล ยางตลาด ยโสธร

                               friable             บ้านไผ่ บุณฑริก เชียงคาน ชุมพลบุรี ชํานิ ชุมพวง จอมพระ
                                                   ด่านซ้าย ห้วยแถลง โคราช โนนไทย ภูเรือ ร้อยเอ็ด ท่าอุเทน
                                                   วังไห วาริน วังสะพุง

                           friable – firm          เขมราฐ นาดูน

                                firm               บุรีรัมย์ ชุมแพ จัตุรัส กันทรวิชัย นครพนม พล โพนพิสัย ปลาปาก
                                                   ปักธงชัย เรณู สีคิ้ว สูงเนิน ศรีสงคราม ธาตุพนม ท่าตูม


                           1.1.3 การยืดและหดตัวของดิน

                             การยืดและหดตัวของดินเป็นปัจจัยตัวชี้วัดถึงความเหมาะสมสําหรับการใช้เป็นดินถมหรือดินคันทาง
                  เส้นทางแนวถนน ระบบบ่อเกรอะ และการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก จากผลการศึกษาในดินตัวแทน

                  หลัก 41 ชุดดิน สามารถแบ่งระดับการยืดและหดตัวของดินได้ 3 ประเภท ดังนี้

                                1) ระดับต่ํา ได้แก่ ชุดดินบ้านไผ่ บุณฑริก เชียงคาน ชุมพลบุรี ชํานิ ชุมพวง จอมพระ จันทึก
                  ด่านซ้าย ห้วยแถลง เขมราฐ โคราช เลย มหาสารคาม น้ําพอง นครพนม โนนไทย โพนพิสัย ปลาปาก ปักธงชัย
                  ภูเรือ ร้อยเอ็ด เรณู สีคิ้ว สูงเนิน ธาตุพนม ท่าอุเทน อุบล วาริน วังสะพุง ยางตลาด และยโสธร ชุดดินเหล่านี้

                  ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มดินทรายถึงดินร่วน ในกรณีกลุ่มดินเหนียวจะเป็นแร่ดินเหนียวประเภทเคโอลิไนต์ เมื่อแห้ง
                  และเปียกจะมีการยืดและหดตัวต่ํา ไม่ส่งผลกระทบต่อการสร้างถนน บ่อเกรอะ และสิ่งก่อสร้างที่ปลูกบนดินนี้

                                2) ระดับปานกลาง ได้แก่ ชุดดินชุมแพ จัตุรัส กันทรวิชัย นาดูน พล ศรีสงคราม ท่าตูม และวังไห
                  ชุดดินเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มดินเหนียว ที่มีแร่ดินเหนียวประเภท mixed เป็นองค์ประกอบ การประเมิน
                  ระดับความเหมาะสมของดินในการเป็นดินถมหรือดินคันทาง เส้นทางแนวถนน ระบบบ่อเกรอะ และโรงงาน

                  อุตสาหกรรมขนาดเล็ก มีระดับความเหมาะสมปานกลาง

                                3) ระดับสูง ได้แก่ ชุดดินบุรีรัมย์ เป็นดินเหนียวที่มีแร่ดินเหนียวประเภทมอนต์มอริลโลไนต์
                  มีการดูดซับน้ําสูง หดตัวเมื่อแห้งและจะขยายตัวเมื่อเปียก ส่งผลให้ไม่เหมาะสมในการทําถนนและปลูก
                  สิ่งก่อสร้าง (ตารางที่ 39)


                           1.1.4 ชิ้นส่วนหยาบ

                             ปริมาณชิ้นส่วนหยาบที่อยู่ปะปนกับเนื้อดินเป็นข้อจํากัดถึงความเหมาะสมสําหรับการใช้เป็น
                  แหล่งหน้าดิน จากผลการศึกษาเนื้อดินในชั้นต่างๆ ของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดิน พบว่า ชุดดินโพนพิสัยและ
                  ปลาปาก มีปริมาณชิ้นส่วนหยาบร้อยละ 5 – 60 โดยปริมาตรตลอดหน้าตัดดิน ชุดดินเชียงคานที่ระดับความลึก
                  45 – 200 เซนติเมตร มีปริมาณชิ้นส่วนหยาบร้อยละ 15 – 60 โดยปริมาตร ชุดดินนาดูนที่ระดับความลึก 55 -95

                  เซนติเมตร มีปริมาณชิ้นส่วนหยาบร้อยละ 15 – 35 โดยปริมาตร ชุดดินเรณูที่ระดับความลึก 70 – 190
                  เซนติเมตร มีปริมาณชิ้นส่วนหยาบร้อยละ 5 – 15 โดยปริมาตร ชุดดินท่าอุเทนที่ระดับความลึก 70 – 130
                  เซนติเมตร มีปริมาณชิ้นส่วนหยาบร้อยละ 15 - 60 โดยปริมาตร และชุดดินวังสะพุงที่ระดับความลึก 50 – 130
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117