Page 115 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 115

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           93



                        1.2 วิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
                           จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลสมบัติบางประการของดิน ได้แก่ เนื้อดิน สภาพการนําน้ําของดิน
                  ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน การกระจายขนาดของเม็ดดิน ค่าขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนีพลาสติก ที่นําไปสู่

                  ในการประเมินทางด้านปฐพีกลศาสตร์ ทําการศึกษาในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                  ตลอดความลึก 200 เซนติเมตรจากผิวดิน โดยสภาพการนําน้ําของดินประเมินในระดับความลึก 100 - 200
                  เซนติเมตร ส่วนความเป็นกรดเป็นด่างของดินสามารถแบ่งได้ตามช่วงความลึกดิน คือ 0 - 30, 30 - 60, 60 - 100
                  และ 100 - 200 เซนติเมตร ตามลําดับ ผลการศึกษามีรายละเอียด ดังนี้

                           1.2.1 เนื้อดิน


                             เนื้อดินเป็นปัจจัยตัวชี้วัดถึงความเหมาะสมสําหรับการใช้เป็นแหล่งหน้าดิน ทรายหรือกรวด
                  ดินถมหรือดินคันทาง เส้นทางแนวถนน โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อาคารต่ําๆ และการใช้ยานพาหนะ
                  ในช่วงฤดูฝน จากผลการศึกษาการกระจายตัวขนาดอนุภาคดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดิน พบว่า ดินมีการกระจาย
                  ของอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง และดินเหนียวอยู่ในช่วงร้อยละ 0.1 - 97.3, 1.6 - 62.1 และ 0 - 66.1

                  ตามลําดับ และพบว่า ดินส่วนใหญ่ที่ศึกษาเป็นดินร่วนปนทรายที่มีปริมาณและการกระจายอนุภาคขนาดดิน
                  ทราย ทรายแป้ง และดินเหนียวอยู่ในช่วงร้อยละ 55.4 - 77.3, 10.5 - 34.5 และ 4.0 - 19.8 ตามลําดับ ได้แก่
                  ชุดดินชุมพวง จอมพระ ห้วยแถลง โคราช ปักธงชัย วาริน ยางตลาด และยโสธร โดยชุดดินดังกล่าวมีเนื้อดิน
                  เป็นดินร่วนปนทรายเกือบตลอดหน้าตัดดิน (ตารางภาคผนวกที่ 3)

                             ทั้งนี้ จะเห็นว่า ชุดดินชุมพลบุรี ชุมพวง จอมพระ จันทึก ห้วยแถลง โคราช มหาสารคาม น้ําพอง

                  ปักธงชัย อุบล วาริน ยางตลาด และยโสธร มีเนื้อดินประเภทดินทราย ดินทรายปนดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย
                  เป็นกลุ่มที่มีปริมาณอนุภาคขนาดทรายโดยเฉลี่ยสูง อยู่ในช่วงร้อยละ 55.4 - 97.3 แต่มีปริมาณอนุภาคขนาด
                  ดินเหนียวโดยเฉลี่ยต่ํา อยู่ในช่วงร้อยละ 0 - 19.8 การกระจายขนาดอนุภาคดังกล่าวส่งผลทําให้ดินมีสภาพให้
                  ซึมได้ในระดับค่อนข้างเร็วถึงเร็วมาก ซึ่งมีความเหมาะสมสําหรับการใช้เป็นดินถมหรือดินคันทาง เส้นทาง

                  แนวถนน บ่อเกรอะ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอาคารต่ําๆ ในขณะที่ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว
                  ได้แก่ ชุดดินกันทรวิชัย นครพนม ศรีสงคราม และวังไห เป็นกลุ่มที่มีปริมาณอนุภาคขนาดทรายโดยเฉลี่ยต่ํา
                  อยู่ในช่วงร้อยละ 0.2 - 37.9 และมีปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวโดยเฉลี่ยสูง อยู่ในช่วงร้อยละ 40.6 - 66.1

                  ซึ่งอนุภาคขนาดดินเหนียวที่มีในปริมาณสูงส่งผลให้มีระดับสภาพให้ซึมได้ของดินช้าถึงช้ามาก น้ําถูกเก็บไว้ใน
                  ดินได้ดี จึงมีความเหมาะสมสําหรับการใช้เป็นบ่อขุด และอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก

                             นอกจากนี้ สําหรับดินที่ปะปนด้วยชิ้นส่วนหยาบของกรวดหรือลูกรังร้อยละ 15 - 60 โดยปริมาตร
                  ตลอดความลึก 200 เซนติเมตร ได้แก่ ชุดดินปลาปาก มีความเหมาะสมสําหรับใช้สร้างคันกั้นน้ํา และการใช้
                  ยานพาหนะโดยเฉพาะช่วงฤดูฝน เนื่องจากกรวดหรือลูกรังทําให้การบดอัดแน่น มีช่องว่างระหว่างเม็ดดินน้อย

                  ดินเกิดการทรุดตัวน้อยที่สุด อีกทั้ง ชุดดินที่มีเนื้อดินปะปนด้วยชิ้นส่วนหยาบของกรวดหรือลูกรังไม่ต่อเนื่อง
                  ตลอดหน้าตัดดิน ต้องพิจารณาเฉพาะส่วนที่มีความเหมาะสมสําหรับใช้สร้างคันกั้นน้ํา ได้แก่ ชุดดินเชียงคาน
                  (45/50 – 200 เซนติเมตร) ชุดดินโพนพิสัย (0 – 75 เซนติเมตร) และชุดดินท่าอุเทน (70 – 130 เซนติเมตร)
                  มีปริมาณชิ้นส่วนหยาบร้อยละ 15 - 60 โดยปริมาตร ส่วนชุดดินเรณู (70 – 190 เซนติเมตร) มีปริมาณชิ้นส่วน

                  หยาบร้อยละ 5 - -35 โดยปริมาตร และชุดดินวังสะพุง (50 – 100/130 เซนติเมตร) มีปริมาณชิ้นส่วนหยาบ
                  ร้อยละ 35 - 90 โดยปริมาตร ที่ระดับความลึกดังกล่าวนี้มีความเหมาะสมดีสําหรับใช้สร้างคันกั้นน้ํา
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120