Page 116 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 116

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           94



                             กรณีดินที่มีความไม่ต่อเนื่องทางธรณี (lithological discontinuity) ในการวินิจฉัยคุณภาพของ
                  ดินทางด้านปฐพีกลศาสตร์จะต้องพิจารณาเนื้อดินออกเป็น 2 ส่วนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น ชุดดิน
                  เขมราฐ นาดูน และพล ชุดดินดังกล่าวมีเนื้อดินตอนบนเป็นดินร่วนปนทรายถึงดินร่วนเหนียวปนทรายทับ

                  อยู่บนดินเหนียว หากพิจารณาเนื้อดินเฉพาะดินตอนบนจะพบว่าเป็นดินที่เก็บกักน้ําได้ไม่ดี แต่เมื่อขุดลึกลง
                  ไปถึงดินเหนียวที่อยู่ตอนล่างจะเป็นดินที่สามารถเก็บกักน้ําได้ดี

                           1.2.2 สภาพให้ซึมได้ของดิน

                             ระดับสภาพให้ซึมได้ของดินหาได้จากค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดิน ที่บ่งชี้ความสามารถของน้ํา
                  ที่ไหลซึมผ่านช่องว่างระหว่างเม็ดดิน ความสามารถของน้ําจะไหลซึมผ่านในดินได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับประเภท

                  ของดิน โดยค่าการนําน้ําของดินถูกนํามาใช้ในการจําแนกความเหมาะสมของดินสําหรับการใช้เป็นบ่อขุด
                  อ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก และระบบบ่อเกรอะ ซึ่งจะประเมินในระดับความลึกดินที่ 100 - 200 เซนติเมตร จากผิวดิน
                  จากผลการศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดิน สามารถแบ่งระดับสภาพให้ซึมได้ของ

                  ดินได้ 3 ประเภท ดังนี้

                                1) ค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดินค่อนข้างเร็ว เร็ว และเร็วมาก (มากกว่า 6.25 เซนติเมตร
                  ต่อชั่วโมง) ได้แก่ ชุดดินบุณฑริก เชียงคาน ชุมพลบุรี ชุมพวง จอมพระ ด่านซ้าย เลย น้ําพอง โพนพิสัย ปลาปาก
                  ปักธงชัย ธาตุพนม ท่าอุเทน วาริน วังสะพุง ยางตลาด และยโสธร จะเห็นได้ว่า ชุดดินเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม
                  ดินทราย ซึ่งมีความสามารถในการซึมผ่านของน้ําได้ง่าย และมีกลุ่มดินที่มีชิ้นส่วนหยาบปะปน ได้แก่ ชุดดิน

                  เชียงคาน โพนพิสัย ปลาปาก และวังสะพุง มีค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดินเร็ว

                                นอกจากนี้ กลุ่มดินเหนียวที่มีสีแดง ได้แก่ ชุดดินเลย (7.09 – 20.33 เซนติเมตรต่อชั่วโมง)
                  ซึ่งเป็นดินดอนที่มีพัฒนาการสูง การระบายน้ําดี จะเห็นว่า แม้มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว แต่กลับพบว่ามีความสามารถ
                  ในการซึมน้ําของดินได้เร็ว ผลนี้สอดคล้องกับการศึกษาของ Pornsornchai (1999) พบว่า ดินเหนียวที่มีสีแดง

                  มีค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดินอยู่ในช่วงเร็วถึงเร็วมาก เช่นเดียวกับ Trakoonyingcharoen (2005) รายงาน
                  ค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดินสีแดงอยู่ในช่วงค่อนข้างช้าถึงเร็วมาก (0.74 – 30.33 เซนติเมตรต่อชั่วโมง)
                  โดยชี้ว่า ดินสีแดงที่มีโครงสร้างเป็นแบบก้อนเหลี่ยมมุมมน (subangular blockly) และก้อนกลม (granular)
                  ส่งผลให้ความหนาแน่นรวมของดินต่ํา และค่าการนําน้ําของดินสูงถึงแม้ว่าดินจะมีปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียว

                  สูงมาก ดินที่มีลักษณะดังกล่าวสะท้อนถึงดินมีการระบายน้ําที่ดี และความสามารถของดินในการการอุ้มน้ําได้ต่ํา

                                2) ค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดินปานกลางถึงค่อนข้างช้า (0.5 - 6.25 เซนติเมตรต่อชั่วโมง)
                  ได้แก่ ชุดดินบ้านไผ่ ชํานิ จัตุรัส จันทึก ห้วยแถลง โคราช มหาสารคาม นครพนม ภูเรือ ร้อยเอ็ด เรณู สีคิ้ว
                  สูงเนิน ศรีสงคราม ท่าตูม และอุบล โดยดินที่มีค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดิน อยู่ในช่วง 0.5 - 5 เซนติเมตร
                  ต่อชั่วโมง  การประเมินระดับความเหมาะสมของดินในการใช้เป็นบ่อขุด อ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก  และบ่อเกรอะ

                  มีระดับความเหมาะสมปานกลางสามารถกักเก็บน้ําได้ แต่มีปริมาณน้อยกว่าการนําน้ําของดินช้าถึงช้ามาก

                                3) ค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดินช้าและช้ามาก (น้อยกว่า 0.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง) ได้แก่
                  ชุดดินบุรีรัมย์ ชุมแพ กันทรวิชัย เขมราฐ นาดูน โนนไทย พล และวังไห ซึ่งเป็นกลุ่มดินร่วนและดินเหนียวที่
                  น้ําซึมผ่านได้ยาก และเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดินที่มีความไม่ต่อเนื่องทางธรณี ได้แก่ ชุดดิน

                  เขมราฐ นาดูน และพล ซึ่งมีเนื้อดินตอนบนเป็นกลุ่มดินร่วนหยาบถึงร่วนละเอียด และตอนล่างเป็นเนื้อดิน
                  เหนียวพบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดินช้าและช้ามาก (0 – 0.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง) โดยเฉพาะที่
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121