Page 114 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 114

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           92



                  บุณฑริก ชํานิ เขมราฐ นาดูน นครพนม โนนไทย พล ร้อยเอ็ด เรณู ท่าอุเทน และอุบล ซึ่งเป็นกลุ่มดินที่มี
                  การระบายน้ําปานกลางถึงค่อนข้างเลว และการระบายน้ําค่อนข้างเลว การไหลซึมของน้ําออกจากดินช้า ระดับ
                  น้ําใต้ดินลึกปานกลางถึงตื้น มีความเหมาะสมปานกลางในการใช้เป็นดินถมหรือดินคันทาง เส้นทางแนวถนน

                  แต่ไม่เหมาะสมและเป็นอุปสรรคต่อการใช้สร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอาคารต่ําๆ ส่วนดินที่มีการ
                  ระบายน้ําเลว ได้แก่ ชุดดินชุมแพ กันทรวิชัย ศรีสงคราม และท่าตูม เป็นดินที่ไม่เหมาะสมในการใช้เป็นดินถม
                  หรือดินคันทาง เส้นทางแนวถนน การสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอาคารต่ําๆ

                           1.1.8 ระดับน้ําใต้ดิน


                             น้ําใต้ดินเป็นตัวบ่งชี้ถึงความเหมาะสมสําหรับการใช้ทําบ่อเกรอะ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก
                  และอาคารต่ําๆ จากผลการศึกษาระดับน้ําใต้ดินของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดิน พบว่า ดินที่ศึกษาส่วนใหญ่มี
                  ระดับน้ําใต้ดินลึกกว่า 150 เซนติเมตร ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการทําระบบบ่อเกรอะ โรงงานอุตสาหกรรม
                  ขนาดเล็ก และอาคารต่ําๆ ยกเว้นชุดดินบุรีรัมย์ นครพนม ร้อยเอ็ด และศรีสงคราม ที่มีระดับน้ําใต้ดินอยู่ในช่วง

                  130 – 150 เซนติเมตร ทําให้ดินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง อีกทั้งการไหลซึมของน้ําในระบบอยู่ใน
                  ระดับค่อนข้างช้า และดินมีสภาพการคงตัวต่ํา ไม่เหมาะสมสําหรับปลูกสิ่งก่อสร้าง

                           1.1.9 ความลาดชันของพื้นที่

                             ความลาดชันของพื้นที่บ่งชี้ผลกระทบที่มีต่อความเหมาะสมในการใช้เป็นแหล่งหน้าดิน ดินถมหรือ
                  ดินคันทาง เส้นทางแนวถนน อ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก ระบบบ่อเกรอะ การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม อาคารต่ําๆ

                  และยานพาหนะในฤดูฝน จากผลการศึกษาความลาดชันของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดิน พบว่า ดินอยู่ในสภาพ
                  พื้นที่ที่มีความลาดชัน 0 – 11 เปอร์เซ็นต์

                             โดยชุดดินชุมพวง พบอยู่ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน 5 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลกระทบทําให้สภาพพื้นที่
                  ไม่เหมาะสมในการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนชุดดินเลย พบอยู่ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน 6 เปอร์เซ็นต์

                  เป็นอุปสรรคต่อการขุดและเตรียมดินสําหรับการใช้เป็นแหล่งหน้าดิน นอกจากนี้ชุดดินภูเรือและด่านซ้าย อยู่ใน
                  พื้นที่มีความลาดชัน 9 และ 11 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ สภาพพื้นที่นั้นมีผลทําให้ยากต่อการปฏิบัติงาน ส่งผลให้
                  ไม่เหมาะสมในการใช้เป็นแหล่งหน้าดิน อ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก ระบบบ่อเกรอะ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก

                  อาคารต่ําๆ และยานพาหนะในช่วงฤดูฝน

                           1.1.10 อันตรายจากการถูกน้ําท่วม

                             สภาพน้ําท่วมเป็นข้อจํากัดของความเหมาะสมสําหรับการใช้เป็นเส้นทางแนวถนน ระบบบ่อเกรอะ
                  การสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอาคารต่ําๆ จากผลการศึกษาพื้นที่ที่อันตรายจากการถูกน้ําท่วม
                  ของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดิน พบว่า ชุดดินกันทรวิชัย ศรีสงคราม และท่าตูม มีความถี่จากการถูกน้ําท่วมของ

                  พื้นที่บริเวณนั้นทุกปี ส่งผลให้ไม่เหมาะสมในการสร้างเส้นทางแนวถนน บ่อเกรอะ และสิ่งก่อสร้าง เนื่องจาก
                  เกิดการชํารุดหรือเสียหายได้ง่าย และจําเป็นต้องลงทุนสูง
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119