Page 121 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 121

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           99



                                นอกจากนี้ ชุดดินจันทึกและน้ําพอง มีเนื้อดินเป็นดินทราย ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 อยู่ในช่วง
                  17.17 – 19.43 และ 31.17 – 31.96 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ ส่งผลให้จําแนกดินในระบบ Unified ได้เป็น SM
                  และ AASHO ได้เป็น A-2-4 เป็นพวกกลุ่มดินเม็ดหยาบที่เหมาะสมกับงานก่อสร้างทาง อีกทั้ง ชุดดินนครพนม

                  และศรีสงคราม ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 อยู่ในช่วง 93.56 – 97.79 และ 95.20 – 97.71 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ
                  จําแนกดินในระบบ Unified ได้เป็น ML และ MH ส่วนระบบ AASHO ได้เป็น A-7-5 เป็นดินเม็ดละเอียดที่
                  เหมาะสมกับการสร้างแหล่งน้ํา

                             2) ค่าขีดจํากัดของเหลว

                                จากผลการศึกษาค่าขีดจํากัดของเหลวของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดิน พบว่า ดินมีค่าขีดจํากัด
                  ของเหลวอยู่ในช่วง 0.51 – 76.70 เมื่อพิจารณาตามประเภทของเนื้อดิน จะเห็นว่า ดินทราย (s) มีค่าขีดจํากัด

                  ของเหลวอยู่ในช่วงต่ําสุด (0.51 - 21.63) และพบสูงสุดในดินเหนียว (c) มีค่าขีดจํากัดของเหลวอยู่ในช่วง
                  31.76 – 76.60 ในขณะที่ เมื่อพิจารณาช่วงของค่าขีดจํากัดของเหลวในเนื้อดินแต่ละประเภท จะเห็นว่า ในดินร่วน
                  ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินเหนียว ดินปนชิ้นส่วนหยาบ มีช่วงของค่าขีดจํากัดของเหลวสูง (44.94 – 60.19)

                  ดังแสดงในตารางที่ 41 ชี้ให้เห็นว่า เนื้อดินที่มีปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ค่าขีดจํากัด
                  ของเหลวเพิ่มขึ้นด้วย สอดคล้องกับการศึกษาของ สุวณี (2538) โดยการวินิจฉัยคุณภาพของดินด้านปฐพี
                  กลศาสตร์ตามกลุ่มชุดดินในประเทศไทย ซึ่งพบว่าดินที่มีร้อยละของอนุภาคดินเหนียวเพิ่มขึ้นทําให้ค่าขีดจํากัด
                  ของเหลวเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

                                เมื่อพิจารณาค่าขีดจํากัดของเหลวที่ใช้ในการจําแนกดินพวกเม็ดละเอียดในระบบ Unified

                  พบว่า เนื้อดินที่มีค่าขีดจํากัดของเหลวมากกว่า 50 จะเป็นดินที่มีความยืดหยุ่นและความหนืดสูง โดยจากผล
                  การศึกษาครั้งนี้จะเห็นได้จากดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วน (l) มีค่าอยู่ในช่วง 15.00 - 69.17 ดินร่วนเหนียวปน
                  ทราย (scl) มีค่าอยู่ในช่วง 7.35 - 58.65 ดินร่วนเหนียว (cl) มีค่าอยู่ในช่วง 17.43 - 55.68 ดินร่วนเหนียวปน
                  ทรายแป้ง (sicl) มีค่าอยู่ในช่วง 45.62 - 66.82 ดินเหนียวปนทราย (sc) มีค่าอยู่ในช่วง 22.00 - 60.80 ดินเหนียวปน

                  ทรายแป้ง (sic) มีค่าอยู่ในช่วง 39.59 - 55.30 และดินเหนียว (c) มีค่าอยู่ในช่วง 31.76 - 76.70 ซึ่งเนื้อดิน
                  ประเภทดินเหนียวมีค่าขีดจํากัดของเหลวสูงสุด ได้แก่ ชุดดินกันทรวิชัย นครพนม ศรีสงคราม และวังไห
                  เนื่องจากเป็นเนื้อดินที่มีปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียว (มากกว่าร้อยละ 40) สูงกว่าเนื้อดินประเภทอื่นๆ


                                เมื่อพิจารณาค่าขีดจํากัดของเหลวของดิน จะเห็นว่า ดินที่มีค่าขีดจํากัดของเหลวมากกว่า 50
                  เป็นดินที่ไม่เหมาะสมสําหรับใช้เป็นดินถมหรือดินคันทาง เส้นทางแนวถนน สร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก
                  และอาคารต่ําๆ ได้แก่
                                   - ชุดดินบุรีรัมย์ที่ความลึก 17 – 120 เซนติเมตร (50.84 – 65.88)
                                   - ชุดดินชุมแพที่ความลึก 50 – 100 เซนติเมตร (52.08 – 53.03)

                                   - ชุดดินจัตุรัสที่ความลึก 20 – 52 เซนติเมตร (51.37 – 51.69)
                                   - ชุดดินกันทรวิชัยที่ความลึก 0 – 95 เซนติเมตร (55.23 – 76.70)
                                   - ชุดดินเลยที่ความลึก 10 – 120 เซนติเมตร (58.65 – 60.80)
                                   - ชุดดินนครพนมที่ความลึก 40 – 130 เซนติเมตร (54.70 – 64.83)

                                   - ชุดดินสูงเนินที่ควมลึก 30 – 128 เซนติเมตร (55.68 – 65.39)
                                   - ชุดดินศรีสงครามที่ความลึก 15 – 140 เซนติเมตร (55.30 - 69.25)
                                   - ชุดดินท่าตูมที่ความลึก 10 – 105 เซนติเมตร (51.83 – 69.17)
                                   - ชุดดินวังไหที่ความลึก 0 – 83 เซนติเมตร (60.61 – 74.22)
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126