Page 122 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 122

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          100




                                เนื่องจากเป็นดินที่มีปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวมากส่งผลให้มีการแตกร้าว และการทรุดตัว
                  ค่อนข้างสูง จากผลการศึกษาตลอดความลึก 200 เซนติเมตร ยังพบว่า ชั้นดินบน (Ap) ซึ่งมีค่าขีดจํากัด
                  ของเหลวน้อยกว่า 50 ทั้งนี้ อาจเนื่องจากปริมาณของอินทรียวัตถุส่งผลให้ความหนืดในการเปลี่ยนสภาพจาก
                  ของเหลวไปเป็นพลาสติกลดลง

                             3) ค่าดัชนีพลาสติก

                                จากผลการศึกษาค่าดัชนีพลาสติกของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดิน พบว่า ดินมีค่าดัชนีพลาสติก
                  อยู่ในช่วง 0.50 – 40.04 โดยมีค่าแตกต่างกันตามประเภทเนื้อดิน ดังตารางที่ 41 โดยดินที่มีค่าดัชนีพลาสติกสูง
                  พบในดินที่มีเนื้อดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง และดินเหนียว ได้แก่ ชุดดินบุรีรัมย์

                  กันทรวิชัย เลย นครพนม โนนไทย พล สูงเนิน ศรีสงคราม ท่าตูม และวังไห ส่วนดินที่มีค่าดัชนีพลาสติกต่ํา
                  พบในดินที่มีเนื้อดินทราย ดินทรายปนดินร่วน และดินร่วนปนทราย ได้แก่ ชุดดินบ้านไผ่ ชุมพลบุรี ชุมพวง
                  จอมพระ จันทึก ห้วยแถลง โคราช มหาสารคาม น้ําพอง ปักธงชัย อุบล วาริน ยางตลาด และยโสธร โดยพบว่า
                  ดินทรายไม่สามารถปั้นให้เป็นรูปต่างๆ ได้ จึงไม่มีค่าขีดจํากัดพลาสติก ส่วนกรณีดินทรายปนดินร่วน และดินร่วน

                  ปนทรายมีค่าดัชนีพลาสติกต่ํา (4.05 - 6.26 และ 0.93 - 14.44 ตามลําดับ) เนื่องจากดินมีปริมาณอนุภาค
                  ขนาดดินเหนียวเป็นองค์ประกอบต่ํา เมื่อมีการใส่หรือเติมน้ําเข้าไปในดินเพียงเล็กน้อยก็ทําให้เปลี่ยนสภาพ
                  สามารถปั้นเป็นรูปได้ จากค่าแสดงถึงความเหนียวของดิน และการทรุดตัวต่ํา ทําให้ดินมีความเหมาะสมดี
                  สําหรับใช้เป็นดินถมหรือดินคันทาง และเส้นทางแนวถนน ส่วนในดินที่มีค่าดัชนีพลาสติกสูงเป็นดินที่มีปริมาณ

                  อนุภาคขนาดดินเหนียวอยู่มาก ไม่เหมาะสมสําหรับใช้เป็นดินถมหรือดินคันทาง เส้นทางแนวถนน สร้างโรงงาน
                  อุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอาคารต่ําๆ ซึ่งทําให้เกิดการทรุดตัว การแตกร้าว และการเคลื่อนที่สูง ส่งผลให้เกิด
                  ความเสียหายกับสิ่งก่อสร้างบนดินนี้สูงมาก

                                จากผลการศึกษาค่าขีดจํากัดของเหลวและค่าดัชนีพลาสติก เมื่อพิจารณาทั้งสองปัจจัยร่วมกัน

                  สะท้อนถึงความเหมาะสมของดินสําหรับการใช้เป็นดินถมหรือดินคันทาง เส้นทางแนวถนน โรงงาน
                  อุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอาคารต่ําๆ ดังนี้

                                   (1) ค่าขีดจํากัดของเหลวน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 และค่าดัชนีพลาสติกน้อยกว่า 15 มีความ
                  เหมาะสมปานกลางต่อการใช้เป็นดินถมหรือดินคันทาง และเส้นทางแนวถนน ได้แก่ ชุดดินบ้านไผ่ ชุมพลบุรี

                  ชํานิ ชุมแพ (0 - 50 เซนติเมตร) ชุมพวง จอมพระ จันทึก ด่านซ้าย ห้วยแถลง กันทรวิชัย (95 - 200
                  เซนติเมตร) เขมราฐ (0 - 60/65 เซนติเมตร) โคราช มหาสารคาม นาดูน น้ําพอง โพนพิสัย ปักธงชัย ภูเรือ
                  ร้อยเอ็ด เรณู สีคิ้ว ธาตุพนม ท่าอุเทน อุบล วาริน วังสะพุง ยางตลาด และยโสธร ผลนี้ สอดคล้องกับการศึกษา
                  ของสมปอง (2546) และสุวณี (2538) ที่พบว่า ชุดดินจันทึก ด่านซ้าย โคราช น้ําพอง อุบล วังสะพุง และยโสธร
                  เป็นดินที่มีค่าขีดจํากัดของเหลวน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 และค่าดัชนีพลาสติกน้อยกว่า 15


                                   (2) ค่าขีดจํากัดของเหลวน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 และค่าดัชนีพลาสติกมากกว่าหรือเท่ากับ
                  15 มีความเหมาะสมปานกลางต่อการใช้สร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอาคารต่ําๆ อีกทั้ง ไม่เหมาะสม
                  ต่อการใช้เป็นดินถมหรือดินคันทาง และเส้นทางแนวถนน ได้แก่ ชุดดินบุณฑริก จัตุรัส (52 - 70 เซนติเมตร)
                  และโนนไทย
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127