Page 111 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 111

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           89



                                                            บทที่ 5

                                                 ผลและวิจารณ์ผลการศึกษา


                  1. สมบัติของดินตัวแทนหลักและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการประเมินทางด้านปฐพีกลศาสตร์

                        1.1 ลักษณะและสมบัติดินที่เป็นข้อมูลพื้นฐาน และสภาพแวดล้อม

                           1.1.1 ค่าการนําไฟฟ้าของดิน

                             ความเค็มของดินเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถในการนําไฟฟ้าของดิน มีผลต่อการผุกร่อนของเหล็กที่
                  ฝังอยู่ในดิน โดยค่าการนําไฟฟ้าของดินถูกนํามาใช้ในการจําแนกความเหมาะสมของดินสําหรับการใช้เป็นแหล่ง
                  หน้าดิน ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ไม่มีผลวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีผลต่อการประเมินความ

                  เหมาะสม เพราะคาดการณ์ว่าจากสภาพพื้นที่บริเวณที่ทําการศึกษาน่าจะมีค่าการนําไฟฟ้าของดินน้อยกว่า 4
                  เดซิซีเมนต์ต่อเมตร

                           1.1.2 การยึดตัวของดินชื้น


                             การยึดตัวของดินชื้นเป็นข้อจํากัดที่บ่งชี้ความเหมาะสมสําหรับการใช้เป็นแหล่งหน้าดิน จากผล
                  การศึกษาการยึดตัวของดินขณะชื้นของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดิน สามารถแบ่งระดับการยึดตัวของดินชื้นได้ 4
                  ประเภท ดังนี้
                                1) very friable ได้แก่ ชุดดินจันทึก เลย มหาสารคาม น้ําพอง อุบล ยางตลาด และยโสธร
                  ชุดดินเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มดินทราย ยกเว้นชุดดินเลย เป็นกลุ่มดินเหนียวที่มีพัฒนาการสูง โครงสร้างดินดี

                  ความร่วนซุยสูง ส่งผลให้ความหนาแน่นรวมของดินต่ํา ทําให้ดินแตกออกจากกันได้ง่าย

                                2) friable ได้แก่ ชุดดินบ้านไผ่ บุณฑริก เชียงคาน ชุมพลบุรี ชํานิ ชุมพวง จอมพระ ด่านซ้าย
                  ห้วยแถลง โคราช โนนไทย ภูเรือ ร้อยเอ็ด ท่าอุเทน วังไห วาริน และวังสะพุง เป็นกลุ่มที่เม็ดดินแตกออก
                  จากกันได้ง่ายพอประมาณ ไม่เป็นอุปสรรคในการเตรียมดิน


                                3) friable - firm ได้แก่ ชุดดินเขมราฐและนาดูน ดินกลุ่มนี้มีเนื้อดินที่แตกต่างกันอย่าง
                  ชัดเจน ดินตอนบนเป็นดินร่วนปนทรายถึงดินร่วนทับอยู่บนดินเหนียว ส่งผลให้การยึดตัวของดินชื้นอยู่ใน
                  ระดับ friable ถึง firm

                                4) firm ได้แก่ ชุดดินบุรีรัมย์ ชุมแพ จัตุรัส กันทรวิชัย นครพนม พล โพนพิสัย ปลาปาก ปักธงชัย
                  เรณู สีคิ้ว สูงเนิน ศรีสงคราม ธาตุพนม และท่าตูม ชุดดินเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มดินเหนียว ในขณะดินชื้นจะ

                  จับตัวเป็นก้อน เมื่อแห้งจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง ต้องใช้แรงบีบมากเม็ดดินจึงจะแตกออกได้ ทําให้เป็นอุปสรรคใน
                  การขุดและการเตรียมดินสําหรับเป็นแหล่งหน้าดิน (ตารางที่ 38)
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116