Page 109 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 109

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           87



                             4) ค่าดัชนีพลาสติก (plasticity index: PI)
                                ความแตกต่างระหว่างระดับความชื้นที่ขีดจํากัดของเหลวกับขีดจํากัดพลาสติก หรือความ
                  แตกต่างระหว่างระดับความชื้นที่ขีดจํากัดบนพลาสติกกับขีดจํากัดล่างพลาสติก ดัชนีพลาสติกเป็นค่าที่แสดงถึง

                  ความเหนียวของดิน และยังแสดงความไวต่อการเปลี่ยนสถานภาพต่อความชื้นของมวลดินนั้น

                        2.3 การจําแนกความเหมาะสมของดินด้านปฐพีกลศาสตร์

                           จําแนกประเภทของดินตามระบบ Unified Soil Classification (USC) และ American Association
                  of State Highway Officials (AASHO) จากค่าการกระจายขนาดของเม็ดดิน (grain size distribution) และ
                  สมบัติความเหนียวของดิน (plasticity) ซึ่งสมบัติความเหนียวของดินพิจารณาจากค่าขีดจํากัดของเหลว (LL)

                  และค่าดัชนีพลาสติก (PI)

                           การจําแนกความเหมาะสมของดินทางด้านปฐพีกลศาสตร์ โดยทั่วไปจะประเมินตลอดหน้าตัดดิน
                  จากการแบ่งดินตามการกําเนิดดิน ในกรณีของดินที่มีความไม่ต่อเนื่องทางธรณีจะต้องพิจารณาในการจัดระดับ
                  ความเหมาะสม โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ที่เป็นข้อจํากัดต่อการใช้ประโยชน์ต่างระดับกัน เช่นเดียวกับหน้าตัดดิน

                  ที่มีการจําแนกประเภทของดินตามระบบ USDA, Unified และ AASHO แตกต่างกัน เนื่องจากการจัดเรียงตัว
                  ของหน้าตัดดินไม่ต่อเนื่อง จึงไม่สามารถประเมินการใช้ประโยชน์ทางด้านปฐพีกลศาสตร์เป็นระดับเดียวกันได้
                  ทําการวินิจฉัยคุณภาพของดินจากผลการวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ เคมี และปฐพีกลศาสตร์ของดินใน
                  ห้องปฏิบัติการประกอบกับข้อมูลทางสภาพแวดล้อม เพื่อหาระดับความเหมาะสมของดินตัวแทนหลัก ในการ

                  นําไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมด้านปฐพีกลศาสตร์ ซึ่งระดับความเหมาะสมแต่ละระดับมีความหมาย ดังนี้
                             2.3.1 เหมาะสมดี (good) คือ ดินที่ไม่มีหรือมีข้อจํากัดเล็กน้อย สมบัติต่างๆ เหมาะสมตามที่
                  กําหนดไว้ จะมีข้อจํากัดเล็กน้อยและสามารถแก้ไขได้ง่าย การดูแลรักษาและการปรับปรุงบํารุงดินทําได้ง่าย
                  และเสียค่าใช้จ่ายน้อย

                             2.3.2 เหมาะสมปานกลาง (fair) คือ ดินที่มีสมบัติเหมาะสมปานกลาง ข้อจํากัดในการใช้อาจมีบ้าง
                  ซึ่งต้องแก้ไข โดยการวางแผนและออกแบบให้เข้ากับสภาพและลักษณะของดิน อาจจะต้องมีการบํารุงรักษา
                  เป็นพิเศษ แผนงานการก่อสร้างอาจจะต้องแก้ไขดัดแปลงบ้างจากแผนเดิมที่ใช้กับดินที่มีข้อจํากัดเพียงเล็กน้อย

                  การก่อสร้างฐานราก หรือตอม่อ ควรเสริมให้มั่นคงเป็นพิเศษ
                             2.3.3 ไม่เหมาะสม (poor) คือ ดินที่มีสมบัติที่ไม่เหมาะสมเพียงอย่างเดียวหรือมากกว่า และ
                  ข้อจํากัดนั้นๆ มีความยุ่งยากในการดัดแปลงแก้ไขและต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง จําเป็นต้องมีการปรับปรุงและฟื้นฟู
                  ดินเป็นหลัก นอกจากนั้นต้องมีการออกแบบเป็นพิเศษ ตลอดจนมีการบํารุงรักษาดินอย่างสม่ําเสมอ
                             2.3.4 ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง (very poor) คือ ในการใช้ประโยชน์ของดินทางด้านปฐพีกลศาสตร์

                  บางอย่างจะเป็นการเพิ่มความเสียหาย จึงเป็นเหตุให้ต้องจัดระดับของดินไว้ในระดับไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง
                  ระดับนี้ดินมีสมบัติที่ไม่เหมาะสมเพียงประการเดียวหรือมากกว่า สําหรับการใช้ประโยชน์ในกิจกรรมเฉพาะอย่าง
                  ซึ่งจะแก้ไขข้อจํากัดได้ยากที่สุดและเสียค่าใช้จ่ายสูง การปรับปรุงฟื้นฟูดินเป็นสิ่งจําเป็น เช่น การขุดดินออก

                  และเอาดินอื่นมาถมแทน เป็นการแก้ไขดัดแปลงที่สมบูรณ์แบบที่สุด ระดับนี้ควรใช้กับชนิดของดินที่ต้องมีการ
                  เปลี่ยนแปลงมากในการที่จะนํามาใช้ประโยชน์ ซึ่งส่วนใหญ่ดินเหล่านี้จะไม่ได้นํามาประเมินค่าการใช้
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114