Page 108 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 108

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           86



                        2.2 การวิเคราะห์ตัวอย่างดิน

                           นําตัวอย่างดินมาวิเคราะห์สมบัติทางด้านกายภาพ เคมี และปฐพีกลศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ ดังนี้

                           2.2.1 ค่าวิเคราะห์สมบัติทางด้านกายภาพ และเคมี เป็นข้อมูลที่ได้จากกลุ่มสํารวจจําแนกดิน ได้แก่

                             1) เนื้อดิน
                                โดยวิธีปิเปตต์ (Gee and Bauder, 1986) ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ คือ ปริมาณของอนุภาค
                  ทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว นํามาจําแนกประเภทของเนื้อดิน (soil textural class) โดยใช้ตาราง

                  สามเหลี่ยมมาตรฐาน
                             2) สภาพให้ซึมได้ของดิน
                                สภาพให้ซึมได้ของดินหาได้จากการนําน้ําของดิน โดยใช้พลังงานขับน้ําผันแปร (Klute, 1965)

                  นําค่าวิเคราะห์มาจําแนกระดับชั้นสภาพให้ซึมได้ของดินตลอดหน้าตัดดินตามชั้นดินวินิจฉัย
                             3) การกัดกร่อนของท่อเหล็กที่ไม่เคลือบผิว
                                การประเมินการกัดกร่อนของท่อเหล็กที่ไม่เคลือบผิว โดยวิเคราะห์หาค่าความเป็นกรด
                  เป็นด่างของดิน วัดโดยใช้ pH meter อัตราส่วนดินต่อน้ํา เท่ากับ 1:1 (National Soil Survey Center, 1996)

                  นําค่าวิเคราะห์ความเป็นกรดเป็นด่างของดินตลอดหน้าตัดดินมาเฉลี่ยเป็นช่วงที่ระดับความลึก 0 - 30, 30 - 60,
                  60 - 100 และ 100 - 200 เซนติเมตร ตามลําดับ เพื่อนํามาพิจารณาผลกระทบที่มีต่อการกัดกร่อนของท่อเหล็กที่
                  ไม่เคลือบผิวที่ฝังอยู่ใต้ดิน

                           2.2.2 วิเคราะห์สมบัติทางปฐพีกลศาสตร์เพิ่มเติม เพื่อนําไปจําแนกดินในระบบ Unified และ
                  AASHO ในเรื่องการกระจายขนาดของเม็ดดิน ค่าขีดจํากัดของเหลว ค่าขีดจํากัดพลาสติก และค่าดัชนีพลาสติก

                  โดยมีวิธีการวิเคราะห์ ดังนี้

                             1) การกระจายขนาดของเม็ดดิน (grain size distribution: GSD)
                                ปริมาณน้ําหนักดินแห้งที่พอดีจะใช้ในการทดสอบการกระจายของเม็ดดินขึ้นอยู่กับขนาดของ
                  เม็ดดินใหญ่สุด เพื่อให้ผลการวิเคราะห์มีความถูกต้องและแม่นยํา จําเป็นจะต้องเตรียมปริมาณตัวอย่างดิน

                  สําหรับการทดสอบให้พอเหมาะกับขนาดของเม็ดดินที่ทดสอบ โดยขนาดของตะแกรงที่ใช้จําแนกชนิดของดินที่
                  สําคัญมีเบอร์ 4, เบอร์ 10, เบอร์ 40 และเบอร์ 200 ซึ่งเป็นขนาดแบ่งชนิดของกรวด ทรายหยาบ ทรายหยาบ
                  ปานกลาง ทรายละเอียด และดินเม็ดละเอียด จากขนาดตะแกรงหลักเหล่านี้
                             2) ค่าขีดจํากัดของเหลว (liquid limit: LL)

                                เป็นค่าขีดจํากัดความชื้นของดินระหว่างสภาพพลาสติกกับสภาพของเหลว ค่าความชื้นของดิน
                  เมื่อนํามาผสมและบรรจุในกระทะมาตรฐาน ปาดด้วยพายสแตนเลส แล้วบากด้วยเครื่องมือบากร่องมาตรฐาน
                  เคาะกระทะที่บรรจุดินไว้ด้วยอัตราความเร็ว 120 ครั้งต่อนาที จํานวนเคาะ 25 ครั้ง ร่องดินที่ปาดไว้ไหลเข้ามา
                  ชนกันประมาณ 13 มิลลิเมตร

                             3) ค่าขีดจํากัดพลาสติก (plastic limit: PL)
                                เป็นค่าขีดจํากัดความชื้นของดินระหว่างสภาวะกึ่งแข็งกับกึ่งพลาสติก ค่าความชื้นเมื่อปั้นดิน
                  ด้วยฝ่ามือบนแผ่นกระจกให้ได้เส้นดินขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.2 มิลลิเมตร (1/8 นิ้ว) เส้นดินเริ่มมี

                  รอยแตก (crack) ไม่สามารถที่จะปั้นดินให้เป็นเส้นเล็กลงไปกว่านั้นได้ โดยการวิเคราะห์ค่าขีดจํากัดพลาสติก
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113