Page 40 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                               แร่ที่พบมากในดินที่มีความส าคัญในการเป็นองค์ประกอบของดินก็คือ แร่ประกอบหิน

                       (Rock forming minerals) ซึ่งมีอยู่มากมายในเปลือกโลก และบนพื้นผิวโลก แร่ในดินที่ส าคัญ และ
                       พบอยู่เสมอ ๆ ประกอบไปด้วยแร่ในกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้ (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548)

                                  5.3.1 เฟลด์สปาร์ (Feldspar group,XAlSi O )
                                                                         3 8
                                  เฟลด์สปาร์เป็นแร่ที่มีมากที่สุดในแร่ประกอบหินทั้งหมด เป็นสารประกอบ

                       อะลูมิโนซิลิเกตของโพแทสเซียม โซเดียม และแคลเซียม มักเกิดร่วมกับควอร์ตซ์ในหินอัคนี แร่นี้มีอยู่

                       ในดินเป็นปริมาณน้อยเนื่องจากเป็นแร่ที่สลายตัวทางเคมีได้ง่ายที่สุดแร่หนึ่ง โดยท าปฏิกิริยากับน้ า
                       หรือกรดคาร์บอนิคได้ดี เมื่อสลายตัวแล้วจะเป็นดินเหนียว แร่เฟลด์สปาร์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

                       คือ

                                  (1) โพแทซเฟลด์สปาร์ (KAlSi O )  ได้แก่ แร่ไมโครไคลน์ (Microcline)  และออร์โท
                                                           3 8
                       เคลส (Orthoclase)  แร่สองประเภทนี้มีอยู่มากในหินอัคนีประเภทสีจาง เช่น หินแกรนิต หินไรโอไรต์

                                  (2) โซดา-ไลมม์เฟลด์สปาร์ (NaCa(AlSi) O )   แร่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ แพลจิโอเคลส
                                                                     4 8
                       (Plagioclase)  ซึ่งเป็นแร่ประเภทที่มีส่วนประกอบเป็นอนุกรมต่อเนื่องกันระหว่างโซเดียม และ

                       แคลเซียม โดยมีแร่ตั้งแต่แอลไบต์ (Albite, NaAlSi O ) ซึ่งมีแต่โซเดียมอย่างเดียว จนถึงอะนอร์ไทต์
                                                                 3 8
                       (Anorthite, CaAl Si O ) ซึ่งมีแต่แคลเซียมอย่างเดียว แร่ระหว่างแอลไบต์กับอะนอร์ไทต์จะมีค่าร้อย
                                      2 2 8
                       ละของโซเดียม และแคลเซียมเป็นอัตราส่วนลดหลั่นกันไป

                                  เมื่อเฟลด์สปาร์สลายตัวจะให้ธาตุอาหารส าคัญของพืช คือ โพแทสเซียม ตลอดจนเป็น

                       ต้นก าเนิดที่ส าคัญของดินเหนียว โดยให้แร่ดินเหนียวประเภทเคโอลิไนต์ (Kaolinite) เมื่อเริ่มสลายตัว
                       จะมีความแตกต่างจากแร่อื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากแร่ควอร์ตซ์ได้อย่างชัดเจน โดยจะอ่อนตัวและ

                       ยุ่ยได้อย่างรวดเร็ว

                                  5.3.2 ควอร์ตซ์ (Quartz, SiO )
                                                             2
                                  แร่ควอร์ตซ์มีมากเป็นอันดับสองรองจากแร่เฟลด์สปาร์ ในบรรดาแร่ประกอบหินด้วยกัน

                       แร่นี้เป็นองค์ประกอบที่ส าคัญของหินตะกอนประเภทหินทราย หรือหินแปรประเภทหินควอร์ตไซต์

                       และหินไนส์ ในหินอัคนีจะพบมากในหินประเภทแกรนิต และไรโอไลต์ ในดินแร่ควอร์ตซ์เป็น
                       องค์ประกอบหลักของอนุภาคขนาดทราย และทรายแป้ง เป็นแร่ที่มีความคงทนต่อการสลายตัวมาก

                       รูปร่างของอนุภาคควอร์ตซ์เป็นเหลี่ยมคม หรือกลมมน จะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงสภาพ และประเภทของ
                       การเกิดดินได้ โดยที่ถ้าเกิดจากการพัดพา และทับถมโดยน้ าไกลจากต้นก าเนิด จะมีรูปร่างกลมมน

                       ถ้าถูกพัดพาในระยะทางใกล้ ๆ ควอร์ตซ์จะยังคงมีเหลี่ยมคมอยู่มาก ถ้ามีขนาดเล็กจนถึงขนาดทราย

                       แป้ง ลักษณะนี้อาจแสดงไม่ชัดเจน

                                  เมื่อมีแร่ควอร์ตซ์มากในดินแสดงว่าดินเป็นทรายจัด และมีความร่วนมาก แต่จะมีการ

                       ระบายน้ าดีจนถึงดีเกินไป แร่ประเภทนี้ไม่มีความสามารถในการดูดซับไอออนใด ๆ ซึ่งเป็นธาตุอาหาร

                                                                                                       27
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45