Page 36 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                       บริเวณต่างๆของประเทศส่วนใหญ่จะเป็นหินตะกอน ค่าเฉลี่ยของแร่ต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของหิน

                       ตะกอนแสดงในตารางที่ 7

                                  (1)  หินดินดาน (Shale)  เกิดจากการทับถมของอนุภาคที่ละเอียด คือ ขนาดทรายแป้ง

                       (Silt) และขนาดดินเหนียว (Clay) จึงเป็นหินที่มีขนาดอนุภาคละเอียดมาก จะมีความพรุน (Porosity)
                       น้อย และมักเกิดเป็นชั้น ๆ และเห็นได้ชัด ปกติมีสีเหมือนดิน คือ เทาด า หรือน้ าตาล แต่อาจมีสีอื่น ๆ

                       ได้ เช่น แดงหรือเหลืองถ้ามีเหล็กผสม สารเชื่อมที่พบปกติเป็นพวกอนุภาคดินเหนียวเองหรือที่เรียกว่า

                       Argillaceous และพวกเหล็กหรือพวกคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่ หินชนิดนี้จะสลายตัวได้เร็ว และเมื่อ
                       สลายตัวแล้วให้ดินที่เป็นดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางจนถึงสูง ขึ้นอยู่กับสิ่งเจือปนที่มีอยู่

                       หรือชนิดของสารเชื่อม

                                  (2)  หินทราย (Sandstone) ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเม็ดทราย ซึ่งส่วนมากเป็น

                       แร่ควอตซ์พร้อมกับสารเชื่อม ดังนั้นหินทรายชนิดต่าง ๆ กันจะขึ้นอยู่กับสารเชื่อม และขนาดของเม็ด
                       ทรายรวมทั้งสิ่งเจือปนที่จะมีอยู่ ซึ่งจะมีผลต่อดินที่เกิดจากทรายเพราะหินทรายจะสลายตัวให้ดิน

                       ค่อนข้างเลว และเป็นทรายจัด

                                  (3) หินกรวดมน (Conglomerate) เป็นหินที่มีอนุภาคขนาดก้อนกรวดกลม ๆ เล็ก และ

                       ใหญ่คละกันไป มักพบเกี่ยวข้องกับหินทราย และแสดงถึงการทับถมใกล้ฝั่งหรือบริเวณต้นน้ า ดินที่เกิด
                       จากหินพวกนี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีประโยชน์นัก เพราะมีก้อนกรวดผสมอยู่มาก และส่วนมากเป็นก้อนหิน

                       ควอร์ตไซต์ นอกจากบางพื้นที่ที่พบกรวดเป็นหินปูน ก้อนกรวดกลม  ๆ  เหล่านี้ แสดงถึงการพัดพา

                       และกลิ้งอยู่ในน้ าหลายช่วงอายุหรือเดินทางไกลก่อนตกทับถมเป็น หินกรวดมน ถ้าเป็นพวกก้อนไม่
                       กลม แสดงว่าเป็นชิ้นส่วนที่เกิดการแตกหักออกมาใหม่  และไม่ได้เดินทางไกล ก้อนกรวดเหล่านี้จะมี

                       รอยแตก และมีมุมค่อนข้างแหลมคม เรียกหินประเภทนี้ว่า หินกรวดเหลี่ยม (Breccia)

                                  (4) หินปูน (Limestone) ส่วนประกอบที่ส าคัญของหินปูน คือ แร่แคลไซต์ สิ่งเจือปนใน

                       หินปูนเป็นตัวการที่ส าคัญที่ท าให้หินปูนมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสี และลักษณะของเนื้อหิน

                       อาจเกิดจากพวกซิลิกา เหล็ก และพวกแร่ดินเหนียวก็ได้ ดินที่เกิดจากหินปูนจึงขึ้นอยู่กับสิ่งเจือปนท า
                       ให้มีความแตกต่างกันได้มาก หินปูนที่มีแร่โดโลไมต์อยู่มาก เรียกว่า  หินปูนโดโลไมต์ (Dolomitic

                       limestone) เป็นหินปูนที่มีอายุมาก มีความแข็งมากกว่าหินปูนธรรมดาและสลายตัวได้ยากกว่า ปกติ

                       อิทธิพลของหินปูนหรือคาร์บอเนตเมื่อสลายตัวแล้วมักจะให้ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงดิน
                       เหนียว ความอุดมสมบูรณ์สูง และมีปฏิกิริยาเป็นด่าง


                                  (5) หินดินมาร์ล (Marl) เป็นหินปูนที่สลายตัวแล้วแต่ทับถมกันอีกและจะมีร้อยละของแร่
                       ดินเหนียวผสมอยู่มาก ในประเทศไทยมีหินดินมาร์ลเกิดอยู่ใกล้เคียงกับบริเวณหินปูน และให้ดินสีด า

                       เช่น ชุดดินลพบุรี มีแร่ในกลุ่มสเมกไทต์เป็นองค์ประกอบในปริมาณสูง มีความอุดมสมบูรณ์สูง




                                                                                                       23
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41