Page 41 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 41

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                       พืช เมื่อสลายตัวแล้วจึงไม่มีธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อพืชนัก ท าให้ดินนั้น ๆ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า ดินที่

                       มีอายุมากหรือผ่านการชะละลาย (Leaching) มานานพอสมควร อาจจะมีแร่ควอร์ตซ์เหลืออยู่มากได้
                       เพราะแร่ควอร์ตซ์สลายตัวได้ช้า และละลายน้ าได้น้อยมาก

                                  5.3.3 ไมกา (Mica group)

                                  แร่ไมกาเป็นสารประกอบที่ค่อนข้างซับซ้อนของแร่อะลูมิโนซิลิเกต โดยมีธาตุ

                       โพแทสเซียม แมกนีเซียม และเหล็ก เป็นส่วนประกอบที่ส าคัญของกลุ่มแร่นี้ ไมกาพบอยู่ทั่วไปบนดิน

                       และหินหลาย ๆ ชนิด ในดินจะพบเป็นแผ่นบาง ๆ อยู่ทั่วไปหรือในอนุภาคขนาดทรายแป้ง ในหินอัคนี
                       ไมกาเป็นแร่ประกอบที่ส าคัญซึ่งพบอยู่ทั่วไปเห็นได้ชัดเจนในหินจ าพวกแกรนิต ไดโอไรต์ ในหิน

                       ตะกอนจะพบไมกามากในหินประเภทที่มีอนุภาคขนาดละเอียด เช่น หินดินดาน (Shale)  เมื่อถูก

                       เปลี่ยนแปลงเป็นหินแปรจะมีไมกามากยิ่งขึ้น เพราะแร่ดินเหนียวถูกเปลี่ยนเป็นไมกา เช่น ในพวกหิน
                       ฟิลไลต์ (Phyllite) หรือไมกาชีสต์ (Mica schist)


                                  แร่ในกลุ่มไมกาที่ส าคัญและพบอยู่ทั่วไปมีอยู่ 2 ประเภท

                                  (1) โพแทซไมกา คือ มัสโคไวท์ (Muscovite)  หรือไมกาขาว ซึ่งมีธาตุโพแทสเซียมเป็น

                       องค์ประกอบที่ส าคัญ มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ สีขาวใส สูตรทางเคมีคือ KAl (AlSi O ) (OH)
                                                                                     2
                                                                                                    2
                                                                                          3 10
                                  (2) เหล็กไมกา คือ ไบโอไทต์ (Biotite) หรือไมกาสีด า ซึ่งมีธาตุเหล็กและแมกนีเซียมเป็น
                       องค์ประกอบที่ส าคัญ สีด าหรือสีน้ าตาลเข้ม สูตรทางเคมีคือ K(Mg,Fe)  (AlSi O ) (OH)
                                                                                               2
                                                                                3
                                                                                     3 10
                                  ไมกาสลายตัวทางเคมีได้ช้า แต่ถ้าเป็นไบโอไทต์ที่มีเหล็กอยู่ด้วย จะเปลี่ยนสภาพการ
                       สลายตัวได้ง่ายกว่าพวกมัสโคไวต์ เมื่อไมกาสลายตัวจะให้โพแทสเซียม เหล็ก และแมกนีเซียมในดิน
                       ส่วนพวกอนุมูลจะเป็นต้นก าเนิดของสารที่สังเคราะห์ไปเป็นแร่ดินเหนียว เช่นเดียวกันกับอนุมูลของแร่

                       เฟลด์สปาร์เพียงแต่มีอยู่น้อยกว่าเท่านั้น

                                  5.3.4 แอมฟิโบลและไพรอกซีน (Amphibole และ Pyroxene group)

                                  โดยทั่วไปจะเรียกแร่ในกลุ่มนี้ว่า แร่ชุดเฟอร์โรแมกนีเซียน (Ferro   magnesian

                       minerals) เนื่องจากประกอบด้วยอะลูมิโนซิลิเกตที่ซับซ้อนของธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม และเหล็ก
                       ธาตุเหล่านี้จะมีจ านวนที่เป็นองค์ประกอบของแร่ที่ไม่แน่นอน ท าให้เกิดแร่ต่างชนิดกันในแร่กลุ่ม

                       เดียวกัน ปกติแร่ชุดเฟอร์โรแมกนีเซียนมักจะพบในหินอัคนีสีเข้มและสีคล้ า ซึ่งให้ปฏิกิริยาเป็นด่าง

                       เช่น แกบโบร บะซอลต์ ไดโอไรต์ รวมทั้งพวกหินแปรที่มีแร่พวกนี้อยู่มาก เช่น หินฮอร์นแบลนด์ซีสต์
                       ในหินอัคนีสีจาง แร่สีเข้มที่มีอยู่เป็นจุด ๆ ทั่วไปมักจะเป็นแร่ประเภทนี้


                                  แร่ในกลุ่มแอมฟิโบลที่ส าคัญ และมีมากที่สุด คือ แร่ฮอร์นแบลนด์ (Hornblende)
                       ส่วนแร่ในกลุ่มไพรอกซีนที่มีมากที่สุด คือ ออไจต์ (Augite)  ซึ่งแร่ในกลุ่มไพรอกซีนจะมีสีค่อนข้างด า

                       กว่าพวกฮอร์นแบลนด์ เพราะมีธาตุแคลเซียมมากกว่า แต่จะมีธาตุแมกนีเซียมและเหล็กน้อยกว่า



                                                                                                       28
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46