Page 42 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                       ถ้าพบในสภาพผลึกมักจะเป็นท่อนสั้น ๆ แร่ในกลุ่มนี้จะสลายตัวได้ง่ายเนื่องจากแร่ที่มีเหล็กเป็น

                       องค์ประกอบด้วยจะเปลี่ยนสภาพ และสลายตัวได้เร็วกว่าแร่อื่น ๆ เพราะเหล็กถูกออกซิไดซ์ได้ง่าย
                       เมื่อแร่เหล่านี้สลายตัวจะท าให้เกิดดินที่มีสีตั้งแต่น้ าตาลถึงแดง และการสลายตัวจะให้ธาตุที่เป็น

                       ประโยชน์ต่อพืชได้ดี เช่น แคลเซียม เหล็ก และแมกนีเซียม ตลอดจนแร่ดินเหนียว โดยทั่วไปดินที่เกิด

                       จากหินที่มีแร่ประเภทนี้มากและมีพัฒนาการไม่สูงนัก มักจะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์
                                  5.3.5 แคลไซต์และโดโลไมต์ (Calcite, CaCO  และ Dolomite, CaMg(CO ) )
                                                                                                    3 2
                                                                          3
                                  เป็นกลุ่มแร่ที่มีส่วนประกอบที่ส าคัญ คือพวกคาร์บอเนต และเป็นองค์ประกอบหลักของ
                       หินตะกอนประเภทหินปูน (Limestone) และหินแปรประเภทหินอ่อน (Marble) และหินชนิดอื่น ๆ

                       แคลไซต์เป็นแร่ที่มีอยู่มากที่สุด และส าคัญที่สุดในกลุ่มแร่ที่มีองค์ประกอบเป็นคาร์บอเนต เมื่อเป็น

                       องค์ประกอบของหินปูนจะมีวัตถุอื่น ๆ เจือปนอยู่ ท าให้มีสีต่าง ๆ กัน ปกติแคลไซต์สลายตัวได้ง่าย
                       มาก โดยจะสลายตัวเมื่อเกิดปฏิกิริยากับน้ าที่มีคาร์บอเนตละลายอยู่ เกิดเป็นแคลเซียมไบคาร์บอเนต

                       ซึ่งจะละลายไปกับน้ าหรืออาจตกผลึกใหม่ นอกจากนั้นยังสามารถตรวจอนุมูลของคาร์บอเนตได้โดย
                       การหยดกรดเจือจางลงไปบนแร่ชนิดนี้จะเกิดฟองฟู่ของคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนโดโลไมต์จะละลาย

                       ยากกว่าแคลไซต์ และไม่เกิดฟองฟู่กับกรดเกลือเจือจาง นอกจากอุ่นให้ร้อน หรือบดให้ละเอียด

                       เสียก่อน

                                  ดินที่เกิดจากการสลายตัวของแร่ในกลุ่มนี้ จะเป็นดินเนื้อละเอียดมีความอุดมสมบูรณ์

                       ค่อนข้างสูง อิทธิพลของแคลไซต์จะช่วยท าให้ดินในบริเวณใกล้เคียงดีขึ้นด้วย ทั้งในด้านความอุดม
                       สมบูรณ์ของดิน และการลดความเป็นกรดของดิน

                                  5.3.6 ไพไรต์ (Pyrite, FeS )
                                                          2

                                  แร่ไพไรต์ปกติเกิดเป็นแร่ประกอบในหินหลาย ๆ ชนิด รวมทั้งในดินด้วย
                       แต่ที่พบมีอยู่เป็นจ านวนน้อย แร่นี้มักเกิดเป็นผลึกก้อนสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สีเหลืองทอง ดินตะกอนน้ าเค็ม

                       ที่ทับถมใหม่ ๆ มักมีไพไรต์อยู่มาก เมื่อถูกออกซิไดซ์จะให้กรดซัลฟิวริกและเมื่อมีมากจะท าให้ความ
                       เป็นกรดเพิ่มมากขึ้น ลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะที่ส าคัญของดินเปรี้ยวจัด

                                  5.3.7 อะพาไทต์ (Apatite,Ca (PO ) (F,Cl,OH)
                                                             5
                                                                 4 3
                                  แร่อะพาไทต์มีความส าคัญคือเป็นแหล่งที่มาของธาตุฟอสฟอรัสในดิน ปกติในดินมักจะ
                       ขาดแร่ประเภทนี้ ในประเทศไทยแม้จะพบแหล่งแร่ดังกล่าวอยู่ไม่มากนัก แต่ก็พบแหล่งหินฟอสเฟต

                       ที่เกิดจากมูลค้างคาวอยู่บ้างตามถ้ าหินปูน

                                  5.3.8 ยิปซัม (Gypsum, CaSO •2H O)
                                                                  2
                                                              4
                                  แร่ยิปซัมเกิดจากการตกตะกอนจากน้ าทะเล เป็นแร่ที่ละลายน้ าได้ค่อนข้างง่าย และเมื่อ

                       สลายตัวแล้วก็จะเกิดขึ้นมาใหม่ได้อีก ดังนั้นในดินจึงอาจมีแร่พวกนี้อยู่ได้ ถ้าวัตถุต้นก าเนิดดิน




                                                                                                       29
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47