Page 35 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                       ประมาณร้อยละ 5-10 โดยเห็นเป็นจุด  ๆ  สีด าทั่วไป ได้แก่ แร่ไบโอไทต์ ออไจต์ และฮอนร์เบลนด์

                       หินแกรนิตจะมีเนื้อหยาบ ส่วนหินไรโอไรต์จะมีเนื้อละเอียด หินหนืดที่ท าให้เกิดหินอัคนีทั้งสอง
                       ประเภทนี้จะมีโพแทสเซียม ซิลิคอน และโซเดียม สูง และมีเหล็ก แมกนีเซียม และแคลเซียมน้อย ท า

                       ให้หินมีสีจาง

                                  (2) ไดโอไรต์และแอนดีไซด์ (Diorite  และ Andesite)  เป็นหินอัคนีสีเข้มปานกลาง คือ

                       ไม่มีสีจางหรือสีเข้มทีเดียว แร่องค์ประกอบที่ส าคัญ คือ แพลจิโอเคลส ร้อยละ 55-77 แอมฟิโบลและ

                       ไบโอไทต์ร้อยละ 25-40 มีแร่โพแทชเฟลด์สปาร์ และควอร์ตซ์ปนอยู่บ้างเล็กน้อย หินไดโอไรต์มีเนื้อ
                       หยาบเช่นเดียวกับหินแกรนิต ส่วนแอนดีไชด์จะมีเนื้อละเอียด


                                  (3) แกบโบร  และบะซอลต์ (Gabbro  และ Basalt)  เป็นหินอัคนีที่เกิดจากหินหนืดที่มี
                       เหล็ก แมกนีเซียม  และแคลเซียมมาก แต่มีซิลิคอนน้อย มีสีคล้ า องค์ประกอบเชิงแร่โดยทั่ว  ๆ  ไป

                       แคลซิกแพลจิโอเคลส ประมาณร้อยละ 45-70 แร่พวกเฟอร์โรแมกนีเซียม เช่น โอลิวีน ไพรอกซีน
                       และแอมฟิโบล ประมาณร้อยละ 25-50 ลักษณะโดยทั่วไปหินแกบโบรจะมีเนื้อหยาบ ส่วนหิน

                       บะซอลต์จะมีเนื้อละเอียด

                                  (4) ออบซิเดียนและพิวมิส (Obsidian  และ Pumice)  หินสองชนิดนี้เป็นหินอัคนีที่เย็น

                       ตัวอย่างรวดเร็วมากไม่มีโอกาสที่จะเป็นผลึก ดังนั้น จึงเป็นพวกอสัณฐานแบบเดียวกันกับแก้ว
                       หินออบซิเดียนธรรมดาจะมีสีด าใสเหมือนแก้ว ส่วนหินพิวมิสเป็นหินที่มีรูพรุนเล็ก  ๆ และเบาท าให้

                       ลอยน้ าได้ เพราะเป็นส่วนที่เป็นฟองอากาศอยู่บนผิวหน้าของธารลาวา

                                  (5) หินแบบที่เป็นด่างสูง (Ultrabasic  rocks)  เป็นหินอัคนีที่ประกอบด้วยแร่สีเข้มด า

                       เกือบทั้งหมด แร่เฟลด์สปาร์มีอยู่น้อยมากหรือไม่มีเลย และนิยมเรียกตามชื่อแร่ที่มีอยู่มาก

                       เพอริโดไทต์ (Peridotite) เป็นหินที่ประกอบด้วยแร่โอลิวีนเป็นส่วนใหญ่ (Peridot = Olivine) หรือ
                       ไพรอกซีไนต์ (Pyroxenite) จะประกอบด้วยแร่ไพรอกซีน เป็นต้น

                                  5.2.2 หินตะกอน (sedimentary rocks)


                                  หินตะกอนเกิดจากการทับถม อัดตัวของตะกอนและมีการเชื่อมยึดโดยสารเชื่อม การทับ
                       ถมของตะกอนนี้ได้จากการสลายตัวผุพังของหินและแร่รวมทั้งสิ่งต่างๆที่มีอยู่ก่อนบนผิวโลกจะทับถม

                       กันเป็นชั้นๆท าให้พบลักษณะของชั้นหิน (Bed  or  Stratification)  ในหินตะกอน จึงนิยมเรียกหิน
                       ตะกอนอีกชื่อหนึ่งว่าหินชั้น บางกรณีหินตะกอนอาจเกิดจาการตกตะกอนทางเคมี (Precipitation)

                       หรือเกิดโดยการทับถมของพวกอินทรียวัตถุ อาจพบซากดึกด าบรรพ์ (Fossil) ในหินตะกอน ชนิดของ

                       หินตะกอนที่พบมากในเปลือกโลก คือ หินดินดาน (Shale)  หินทราย (Sandstone)  หินปูน
                       (Limestone)  หินดินมาร์ล (Marl)  และหินกรวดมน (Conglomerate)  หินตะกอนมักจะเกิดอยู่

                       บริเวณบนของเปลือกโลก จึงครอบคลุมพื้นผิวโลกประมาณสามในสี่ส่วน ประเทศไทยภูเขาที่พบใน





                                                                                                       22
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40