Page 44 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                  (4) แร่อิลไลต์ (Illite,  KAl (AlSi O )(OH) )  เป็นแร่ดินเหนียวที่พบมากในหินตะกอน
                                                                     2
                                                        2
                                                             3 10
                       และในสภาพที่มีการตกตะกอนต่าง ๆ มีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายแร่มัสโคไวต์ แร่นี้บางที่เรียกกันว่า
                       ไมกาดินเหนียว (Clay  mica)  และจะคงสภาพอยู่ได้ดี ถ้ามีความแข้มข้นของซิลิคอน และอะลูมินัม

                       ปานกลางถึงสูงในสภาพแวดล้อมที่เกิด แต่ถ้ามีพวกไฮโดรเนียมไอออนปานกลางถึงสูง จะท าให้เสีย

                       เสถียรภาพ และจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเวอร์มิคิวไลต์ (Buol et al., 1989)
                                  5.3.11 แร่เหล็กออกไซด์ (Iron oxide)


                                  เป็นกลุ่มแร่ที่ส าคัญที่ท าให้เกิดสีน้ าตาล แดง และเหลืองของดิน และพบโดยทั่ว ๆ ไป
                       โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมของการผุพังอยู่กับที่ของหินชนิดต่าง ๆ ที่มีแร่เหล็กเป็นองค์ประกอบ

                       แบ่งโดยทั่วไปออกได้เป็น 4 ชนิด คือ แร่แมกนีไทต์ (Magnetite,Fe O ) หรือแร่เหล็กด า แร่ฮีมาไทต์
                                                                              3 4
                       (Hematite,  Fe O )  หรือแร่เหล็กแดง และแร่เหล็กเกอไทด์ (Goethite,  HFeO )  กับแร่ไลมอไนต์
                                                                                          2
                                    2 3
                       (Limonite, HFeO ) หรือเรียกว่า แร่เหล็กเหลือง
                                      2
                               5.4  อินทรียวัตถุ (Organic matter)


                               อินทรียวัตถุในดินแม้จะมีอยู่เพียงเล็กน้อย แต่ก็มีอิทธิพลต่อสมบัติของดินอย่างมาก อย่าง
                       น้อยครึ่งหนึ่งของความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนของดินขึ้นอยู่กับอินทรียวัตถุ นอกจากนั้นอินทรียวัตถุ

                       ยังเป็นตัวช่วยให้ดินจับตัวเป็นก้อน และให้พลังงานตลอดจนให้ธาตุอาหารในดินแก่พืชอีกด้วย

                               ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่ออินทรียวัตถุเข้าสู่ระบบดิน คือ ปฏิกิริยาออกซิเดชันโดยมีเอนไซม์

                       (Enzyme)  เป็นตัวช่วยท าให้ได้น้ า คาร์บอนไดออกไซด์ และพลังงานความร้อนออกมา ส าหรับธาตุ

                       อาหารที่จ าเป็นต่อพืช เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และก ามะถัน จะถูกปลดปล่อยออกมาหรืออาจจะ
                       ถูกตรึงไว้ โดยกระบวนการเฉพาะของแต่ละธาตุ นอกจากนี้แล้วสารประกอบต่าง ๆ ที่คงทนต่อ

                       กิจกรรมของจุลินทรีย์จะเกิดขึ้นใหม่โดยการสังเคราะห์ของจุลินทรีย์ หรือเกิดขึ้นใหม่จากสารประกอบ
                       เดิม ที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อของพืชเหล่านั้น และปฏิกิริยาแต่ละอย่างจะมีความส าคัญในด้านอาหารพืชด้วย


                               กระบวนการออกซิเดชันที่เกิดขึ้นกับสารอินทรีย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใด สามารถจะ
                       เขียนแทนได้ด้วยสมการปฏิกิริยารวม โดยสารที่มีคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ

                       ท าปฏิกิริยากับออกซิเจน ผลที่ได้คือ คาร์บอนไดออกไซด์ น้ า และพลังงาน

                                                      Oxidation

                                   -C , 4H + 2O                                      CO  + 2H O + พลังงาน
                                                                         2
                                                                               2
                                            2

                                สารประกอบที่มีคาร์บอน   Enzyme
                                 และไฮโดรเจน






                                                                                                       31
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49