Page 57 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 57

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       49



                       4.2 อินทรียวัตถุในดิน (Organic Matter)

                              อินทรียวัตถุในดินประกอบด้วยซากพืช ซากสัตว์และสิ่งมีชีวิตที่อยู่ระหว่างการสลายตัวระยะ
                       ต่างๆ ในดิน และสารประกอบอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตสังเคราะห์ขึ้น รวมทั้งสารประกอบที่มีคาร์บอนอื่นๆ

                       เช่น ถ่านหิน และแกรไฟต์ เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าอินทรียวัตถุในดินประกอบไปด้วยอินทรีย์แทบ
                       ทุกชนิดที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ จากการวิเคราะห์สารประกอบส่วนที่เป็นคาร์บอนพบว่า
                       โดยทั่วไปอินทรียวัตถุในดินประกอบด้วย (ยงยุทธ, 2546)
                              1) สารประกอบคาร์โบไฮเดรต ประมาณ 10-20 %

                              2) สารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ เช่น กรดอะมิโน และน้ าตาลอะมิโน (amino sugar)
                       ประมาณ 20 %
                              3) สารประกอบ aliphatic fatty acid , alkane ฯลฯ ประมาณ 10-20 %
                              4) ที่เหลือเป็นสารประกอบพวก aromatic compound

                              โดยทั่วๆไป ดินที่มีอินทีรียวัตถุในปริมาณที่สูง ถือว่าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงและมี

                       สมบัติที่เหมาะสมส าหรับการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืช ทั้งนี้เนื่องมาจากอินทรียวัตถุในดินมี
                       บทบาทที่ส าคัญหลายประการที่พืชต้องการ เช่น การปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ
                       ของดิน และเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของดินนั้นๆ

                              บทบาทและความส าคัญของอินทรียวัตถุในดิน (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548)

                              (1) สี อินทรียวัตถุในดินมีสีน้ าตาลเข้มจนถึงด า ดินที่มีอินทรียวัตถุสูงจะมีสีคล้ า สีที่เข้มขึ้น
                       อาจมีผลท าให้อุณหภูมิของดินโดยรวมสูงขึ้น เนื่องจากดินสีคล้ าดูดกลืนรังสีความร้อนได้ดีกว่าดินสีจาง


                              (2) การดูดซับน้ าและการละลายน้ า อินทรียวัตถุในดินมีความสามารถในการดูดซับน้ าไว้ได้ 6-
                       20 เท่าของน้ าหนัก เนื่องจากมีลักษณะเป็นคอลลอยด์ อนุภาคมีขนาดเล็ก อีกทั้งมีลักษณะโครงสร้าง
                       คล้ายฟองน้ า จึงมีพื้นที่ผิวในการดูดซับน้ าได้มากเป็นพิเศษ การใส่อินทรียวัตถุลงไปในดิน จึงช่วยเพิ่ม
                       ความสามารถในการกักเก็บน้ าของดินทรายหรือดินเนื้อหยาบ โดยปกติแล้วอินทรียวัตถุในดินส่วนใหญ่
                       เป็นพวกที่ไม่ละลายน้ า มีส่วนที่ละลายน้ าอยู่น้อยมาก ปริมาณที่พบมักจะต่ ากว่าร้อยละ 1 โอกาสที่จะ

                       เกิดการสูญเสียโดยการชะละลายของน้ าจึงน้อย เมื่อเทียบกับการสูญเสียไปโดยการย่อยสลายของ
                       จุลินทรีย์

                              (3) สารเชื่อมอนุภาคดิน อินทรียวัตถุในดินเป็นสารประกอบที่มีประสิทธิภาพสูงในการเกาะ
                       ยึดหรือรวมตัวกับกับอนุภาคต่างๆในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุภาคดินเหนียวหรือเซลล์ของจุลินทรีย์ได้

                       เป็นอย่างดี การสร้างสารเชื่อมโดยจุลินทรีย์ท าให้ดินเหนียวเกาะยึดกันเป็นเม็ดดิน เมื่อรวมกลุ่มกัน
                       เป็นจ านวนมากท าให้โครงสร้างของดินดีขึ้น สามารถดูดซับน้ าได้มาก อีกทั้งท าให้ดินมีสภาพร่วนซุย
                       ดินมีการซาบซึมน้ า และระบายอากาศได้ดี

                              (4) ความสามารถในการดูดซับแคตไอออนและแอนไอออน อินทรียวัตถุในดินมีความสามารถ
                       ในการดูดซับไอออนสูงกว่าคอลลอยด์อื่นๆ ตั้งแต่ 2-30 เท่า ปริมาณแคตไอออนหรือประจุบวกที่ดิน

                       ดูดซับไว้ทั้งหมดนั้น เป็นการดูดซับโดยอินทรียวัตถุถึงร้อยละ 30-90 การดูดซับนี้มาจากอินทรียวัตถุ
                       ซึ่งมีประจุลบจ านวนมากที่ส่วนใหญ่เกิดจากการ dissociation ของสารประกอบบางกลุ่มโดยเฉพาะ
                       อย่างยิ่ง carboxylic group และ phenolic group และนอกจากนี้โมเลกุลของอินทรียวัตถุในดินยัง
                       มีประจุบวกบางส่วน ท าให้สามารถดูดซับแอนไอออนได้ด้วย
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62