Page 53 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 53

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       45



                       นี้ ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสที่พืชสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้จะลดลง เนื่องจากฟอสเฟตจะ
                       ถูกตรึงโดยท าปฏิกิริยากับแคลเซียมและแมกนีเซียมและคาร์บอเนตของธาตุทั้งสอง เกิดเป็น

                       สารประกอบที่ละลายน้ ายาก

                                 โพแทสเซียม ความเป็นประโยชน์ของโพแทสเซียมจะมีความสัมพันธ์กับค่าพีเอช
                       เช่นเดียวกับธาตุอาหารอื่น ในดินที่เป็นกรดรุนแรงระดับความเป็นประโยชน์ของโพแทสเซียมจะ
                       ค่อนข้างต่ า ทั้งนี้เนื่องจากในสภาพดังกล่าวโพแทสเซียมจะถูกชะละลายออกไปจากดินได้ง่าย การใช้
                       ปูนในดินกรดเพื่อยกระดับพีเอชของดินให้สูงขึ้นจะท าให้โพแทสเซียมถูกชะละลายได้น้อยลง เนื่องจาก

                                                                                +
                                                                                        3+
                       แคลเซียมไปลดความเป็นกรดของดิน โดย K  ไล่ที่ Ca  ได้ง่ายกว่า H  หรือ Al  ท าให้ตัวมันเองถูก
                                                                   2+
                                                           +
                       ดูดซับอยู่ที่อนุภาคดิน ดังนั้นปริมาณโพแทสเซียมที่ถูกชะละลายไปโดยน้ าจึงน้อยลง อย่างไรก็ตามการ
                       ใส่ปูนมากเกินไปจะท าให้เกิดการขาดโพแทสเซียมในดินได้ เพราะแคลเซียมจากปูนจะเข้าแทนที่
                       โพแทสเซียมแลกเปลี่ยนได้จนโพแทสเซียมแลกเปลี่ยนได้เหลืออยู่น้อย (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา,
                       2548)

                              (2) ธาตุอาหารรอง

                                 แคลเซียมและแมกนีเซียม  ดินที่มีความเป็นกรดอย่างรุนแรงจะมีปริมาณธาตุทั้งสองนี้ต่ า
                       มาก เพราะจะถูกชะละลายออกไปจากดินได้ง่ายมาก โดยทั่วไปดินจะมีระดับแคลเซียมและ
                       แมกนีเซียมอย่างเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช เมื่อดินมีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 5.5-8.5 ถ้าต่ าหรือ

                       สูงกว่านี้พืชก็อาจแสดงอาการขาดธาตุอาหารทั้งสองให้ปรากฏได้ ส าหรับดินที่มีพีเอชสูงกว่า 8.5
                       มักจะมีระดับแคลเซียมต่ า ทั้งนี้เนื่องจากดินซึ่งมีพีเอชระดับนี้แคตไอออนแลกเปลี่ยนได้ ส่วนใหญ่ใน
                       ดินจะเป็นโซเดียม ถ้าดินมีระดับโซเดียมแลกเปลี่ยนได้มากกว่า 40-50 เปอร์เซ็นต์ แล้วปัญหาที่เกิดขึ้น
                       คือพืชขาดแคลเซียมและแมกนีเซียม แล้วยังเป็นพิษเนื่องจากโซเดียมมากเกินไปอีกด้วย

                              (3) จุลธาตุอาหาร

                                 เหล็ก  ในดินทีมีค่าพีเอชต่ า (pH <5.0) เหล็กจะละลายได้ง่ายมาก เมื่อพีเอชมีค่าสูงขึ้น
                       ปริมาณเหล็กที่ละลายน้ าได้ก็จะลดลง ดังนั้นในดินที่มีพีเอชสูง เช่น ชุดดินลพบุรี ซึ่งมีค่าพพีเอช

                       ประมาณ 7.2 พืชที่ปลูกจะแสดงอาการขาดธาตุเหล็ก แต่ส่วนใหญ่ในดินจะมีเหล็กเพียงพอกับการ
                       เจริญเติบโตของพืช ถ้าไม่ใช่ดินทรายและดินเนื้อปูน
                                 แมงกานีส  ละลายได้ง่ายเมื่อดินเป็นกรด ถ้าดินมีแมงกานีสมากอาจเป็นอันตรายต่อพืชที่

                       ปลูกเช่นเดียวกันกับเหล็ก เมื่อพีเอชของดินสูงขึ้นความสามารถในการละลายได้จะลดลงและจะน้อย
                       มากเมื่อพีเอชใกล้เป็นกลางหรือเป็นด่างเล็กน้อย ในดินที่มีพีเอช 6.5 ขึ้นไปอาจเกิดปัญหาการขาด
                       แมงกานีส  แต่ปกติแล้วถ้าไม่ใช่ดินทรายซึ่งมีปริมาณแมงกานีสต่ า ปริมาณแมงกานีสจะเพียงพอ
                       ถึงแม้ว่าพีเอชของดินจะเป็นกลางก็ตาม

                                 ทองแดง ละลายได้ง่ายเมื่อดินเป็นกรดและละลายยากขึ้นเมื่อดินพีเอชเป็นกลางหรือเป็น

                       ด่าง ถึงแม้ความเป็นประโยชน์ของทองแดงจะเกี่ยวข้องกับระดับพีเอช แต่ไม่มีผลรุนแรงถ้าดินนั้นมี
                       ทองแดงเพียงพอ แต่ถ้าดินมีทองแดงอยู่ในดินน้อย พืชอาจจะขาดทองแดงได้ ส าหรับดินอินทรีย์ ข้าว
                       จะแสดงอาการขาดทองแดงอย่างเห็นได้ชัด และมีเมล็ดลีบเป็นจ านวนมาก

                                 สังกะสี ละลายได้ง่ายเมื่อดินเป็นกรดและมีพีเอชต่ ามาก แต่เมื่อพีเอชของดินสูงขึ้น
                       สังกะสีในดินจะละลายน้ าได้น้อยลง พืชดูดกินสังกะสีได้ยากขึ้น แต่เมื่อพีเอชของดินสูงขึ้นมากกว่า 7.0
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58