Page 59 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 59

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       51



                                                                            2-
                                     ก ามะถัน (S) จะเปลี่ยนเป็น S, H2S, SO3 , SO4 , CS2
                                                                      2-
                                                                          2-
                                                                   -
                                     ฟอสฟอรัส (P) จะเปลี่ยนเป็น H2PO4 , HPO4
                                                                                       -
                                                                                          +
                                                                                  +
                                                                                                    2+
                                                                                              2+
                                     ธาตุอื่นๆที่ปลดปล่อยออกมาได้แก่ H2O, O2 , H2 , H , OH , K , Ca , Mg  และ
                       ฯลฯ
                              ฮิวมัส (humus) เป็นสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นของผสมที่ซับซ้อนและค่อนข้างทนทาน
                       ต่อการสลายตัว สีน้ าตาลหรือน้ าตาลเข้มของสารอสัณฐาน และคอลลอยด์ ซึ่งเกิดจากการสังเคราะห์
                       ขึ้นใหม่โดยจุลินทรีย์ในดิน แม้ว่าฮิวมัสจะเป็นสารที่มีองค์ประกอบแตกต่างกันได้มากในกลุ่มของ
                       ตัวเอง แต่คุณสมบัติของฮิวมัสแตกต่างอย่างมากจากเนื้อเยื่อที่เป็นวัตถุดั้งเดิม และจากวัสดุที่ไม่
                       ซับซ้อนซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการสังเคราะห์ตัวของฮิวมัสเอง

                              ฮิวมัสสามารถท าปฏิกิริยากับแร่ เพื่อปลดปล่อยธาตุอาหารพืชออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืช
                       ดังสมการการเกิดปฏิกิริยากับแร่ไมโครไคลน์ ดังนี้


                                KAlSi3O8 + H                                        HAlSi 3O8 + K   Micelle
                                              Micelle
                                 (microcline)                                                (acid silicate)   (K adsorbed)

                              ปริมาณอินทรียวัตถุในดินประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในระดับค่อนข้างต่ า ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุ
                       หลายประการที่ท าให้อินทรียวัตถุถูกย่อยสลายอย่างรวดเร็ว คือ สภาพดินฟ้าอากาศ เพราะประเทศ

                       ไทยอยู่ในเขตร้อนและมรสุม ปริมาณฝนตกชุกท าให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการท างานของ
                       จุลินทรีย์ในการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ปริมาณอินทรีวัตถุจึงลดลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การท า
                       เกษตรกรรมที่ขาดการปรับปรุงบ ารุงดินและการอนุรักษ์ดินและน้ าอย่างไม่ถูกวิธีเป็นสาเหตุส าคัญ ที่
                       ท าให้ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุอาหารพืชและอินทรียวัตถุถูกชะล้างลงสู่แม่น้ าล าคลอง อีก
                       ทั้งการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นเวลานานโดยไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดิน การไถพรวนและการ

                       เตรียมดินแต่ละครั้งก็เป็นการเร่งให้อินทรียวัตถุสลายตัวได้เร็วขึ้น อินทรียวัตถุในดินแม้จะมีอยู่เพียง
                       เล็กน้อย แต่ก็มีอิทธิพลต่อสมบัติของดินอย่างมาก อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของความจุแลกเปลี่ยนแคต
                       ไอออนของดินขึ้นอยู่กับอินทรียวัตถุ นอกจากนั้นอินทรียวัตถุยังเป็นตัวช่วยให้ดินจับตัวเป็นก้อน และ

                       ให้พลังงานตลอดจนให้ธาตุอาหารในดินแก่พืชอีกด้วย (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
                              ในตารางรายงานผลวิเคราะห์ดินส่วนใหญ่จะรายงานไว้ในรูปของร้อยละอินทรียวัตถุในดิน ถ้า

                       กรณีบางรายงานผลวิเคราะห์ดินยังรายงานในรูปของร้อยละอินทรีย์คาร์บอน (% organic carbon)
                       สามารถค านวณร้อยละอินทรียวัตถุได้โดยใช้ค่า 1.724 คูณร้อยละอินทรีย์คาร์บอน ซึ่งค่า 1.724 นี้
                       เป็นค่าคงที่ที่ได้จากการค านวณ เพราะจากการวิเคราะห์ส่วนประกอบของอินทรียวัตถุจะพบว่ามี

                       ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนอยู่ร้อยละ 58 ดังนั้นในหนึ่งหน่วยของอินทรีย์คาร์บอนจะได้จากปริมาณ
                       อินทรียวัตถุ 100÷58 เท่ากับ 1.724 การแบ่งระดับสูงต่ าของอินทรียวัตถุในดิน แสดงในตำรำงที่ 4

                              ปัจจุบันการรายงานผลการวิเคราะห์นิยมเปลี่ยนหน่วยร้อยละให้อยู่ในรูปของหน่วยกรัมต่อ
                       กิโลกรัม (g kg ) ซึ่งเป็นหน่วยในระบบ SI unit สามารถค านวณได้โดยการน าค่าร้อยละอินทรียวัตถุ
                                   -1
                       คูณด้วยสิบ ก็จะได้ปริมาณอินทรียวัตถุที่มีหน่วยเป็นกรัมต่อกิโลกรัม

                                                   -1
                              ปริมาณอินทรียวัตถุ (g kg ) = ปริมาณอินทรียวัตถุ (%) × 10
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64