Page 56 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 56

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       48



                              บทบำทของพีเอชต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน

                                 จุลินทรีย์ในดินมีบทบาทส าคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่
                       เกี่ยวข้องกับการแปรสภาพของอินทรียวัตถุในดิน ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดิน การ

                       ตรึงก๊าซไนโตรเจนของพืชตระกูลถั่วและอื่นๆ โดยทั่วไปจุลินทรีย์ในดินส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                       แบคทีเรีย (bacteria) และแอคติโนไมชีสต์ (actinomycetes) จะเจริญได้ดีในดินที่มีค่าความเป็นกรด
                       เป็นด่างอยู่ในระดับเป็นกรดถึงเป็นกลางหรือเป็นด่างเล็กน้อย (pH 6.0-8.0) และถ้าดินมีความเป็น
                       กรดมากกว่านี้ (pH <6.0) จะท าให้กิจกรรมของแบคทีเรียและแอคติโนไมชีสต์ในดินลดลงและมีผล

                       ในทางลบต่อกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดิน เช่น กระบวนการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชจากการ
                       แปรสภาพของอินทรีย์สารในดิน (mineralization pocess) และกระบวนการตตรึงก๊าซไนโตรเจน
                       ของพืชตระกูลถั่ว (symbiotic nitrogen fixaton process) เป็นต้น

                              บทบำทของพีเอชของดินต่อกำรเจริญเติบโตของพืช

                                 ระดับพีเอชของดินนั้น อาจระบุเป็นตัวเลขโดยประมาณไม่จ าเป็นต้องบอกค่าพีเอชของดิน
                       ที่แท้จริงเสมอไป ดังนั้นค่าพีเอชของดินที่วัดได้ถึงแม้ว่าจะผิดพลาดไปเล็กน้อยก็ยังมีความหมายซึ่ง

                       น าไปใช้เป็นประโยชน์ในการพิจารณาสภาพกรดและด่างของดินได้ ฉะนั้นการบอกปฏิกิริยาดินแต่
                       เพียงว่าเป็นกรดจัด ปานกลาง หรือกรดเล็กน้อยก็เพียงพอแล้ว อีกประการหนึ่งเกษตรกรมักจะเข้าใจ

                                 พืชที่ปลูกในดินแต่และชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในช่วงพีเอชที่แตกต่างกัน โดยปกติ
                       แล้วพืชส่วนใหญ่ชอบดินที่มีความเป็นกรดเล็กน้อยจนถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0) และในดินชนิด
                       เดียวกัน พืชชนิดหนึ่งอาจเจริญเติบโตได้ดี แต่พืชอีกชนิดหนึ่งอาจแสดงอาการขาดธาตุบางธาตุได้

                       หรือในดินชนิดเดียวกัน พืชต่างชนิดกันอาจแสดงอาการขาดธาตุแตกต่างกันได้ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า
                       ค่าพีเอชของดินสามารถใช้ประเมินสถานะของธาตุอาหารในดินได้อย่างคร่าวๆ

                              แนวทางการแก้ไข กรณีถ้าดินเป็นกรดจัดและต้องการแก้ไขความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
                       วัสดุหรือสารเคมี ที่นิยมใช้กัน ได้แก่ ปูนขาว ปูนโดโลไมท์ ปูนมาร์ลหรือหินปูนฝุ่น ปริมาณการใช้
                       ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อดิน และค่าพีเอช


                              ถ้าดินเป็นด่างหรือมีค่าพีเอชของดินมากกว่า 7 การแก้ไขจะมีอยู่ 2 วิธี คือ ดินเป็นด่าง
                       เพราะมีปูนปะปน หรือเป็นดินที่มีปริมาณเกลือมากจนเป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูก ส าหรับดินด่างที่มี
                       สาเหตุมาจากการมีปูนปะปน ส่วนมากจะพบในบริเวณที่มีภูเขาหินปูน ผลของการมีปูนมากเกินไป
                       อาจท าให้พืชตระกูลถั่วขาดธาตุเหล็ก และท าให้ผลผลิตต่ า โดยเฉพาะถั่วลิสงจะมีปัญหามาก วิธีแก้ไข

                       ก็คือ พยายามหลีกเลี่ยงการปลูกพืชตระกูลถั่ว แต่ถ้าต้องการปลูกจริงๆ อาจแก้ไขโดยการให้ธาตุเหล็ก
                       ทางใบ โดยการใช้น้ ายาเหล็กคีเลทพ่น ส่วนดินด่างที่เป็นพวกดินเค็ม การแก้ไขปัญหา มักท าได้ยาก
                       และต้องการการลงทุนสูง ทางที่ดีควรเลือกชนิดของพืชทนเค็มหรือพันธุ์พืชที่ทนเค็มมาปลูก แต่ก็คง
                       ใช้ได้ในความเค็มระดับหนึ่ง ถ้าในฤดูแล้งบริเวณพื้นดังกล่าวจะมีคราบเกลือเกิดขึ้นบนผิวดิน การแก้ไข

                       ปัญหาเรื่องความเค็มของดินท าได้ค่อนข้างยาก และอาจไม่คุ้มกับการลงทุน (พิสุทธิ์, 2540 )
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61