Page 54 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 54

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       46



                       สังกะสีจะเปลี่ยนสภาพจากไอออนบวกเป็นไอออนลบได้ คือกลายเป็น zincate ion ในกรณีดังกล่าวนี้
                       ถ้าดินเป็นด่างมีแคลเซียมมาก สังกะสีจะอยู่ในรูปของ calcium zincate ซึ่งละลายน้ าได้ยากพืชเอา

                       ไปใช้ประโยชน์ได้ยาก แต่ถ้าดินเป็นด่างมีโซเดียมอยู่มาก สังกะสีจะอยู่ในรูปของ sodium zincate :
                       ซึ่งละลายน้ าได้ง่ายและจะกลับเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่ายขึ้น

                                 โบรอน เมื่อดินมีสภาพเป็นกลางหรือเป็นด่าง โบรอนจะละลายน้ าได้ยาก ดังนั้นการใส่ปูน
                       เพื่อแก้ไขสภาพความเป็นกรดของดิน จะท าให้ความเป็นประโยชน์ของโบรอนลดลง และเมื่อมีปริมาณ
                       แคลเซียมเพิ่มขึ้น พืชดูดกินแคลเซียมแคลเซียมเข้าไปมากจะท าให้พืชมีความต้องการโบรอนมากตาม

                       ไปด้วย ดังนั้น ในดินที่ใส่ปูนอาจจ าเป็นจะต้องเพิ่มโบรอนด้วย จึงจะท าให้ธาตุอาหารเกิดความสมดุล

                                 โมลิบดีนัม ละลายน้ าได้ดีเมี่อดินมีค่าพีเอชเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งตรงข้ามกับเหล็ก แมงกานีส และ
                       สังกะสี ดังนั้น เมื่อดินเป็นกรดมีพีเอชต่ าพืชมักจะแสดงอาการขาดโมลิบดีนัม โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว
                       การที่จะให้โมลิบดีนัมเป็นประโยชน์มากที่สุดจ าเป็นต้องเพิ่มปูนเพื่อปรับระดับพีเอชให้เป็นกลาง
                       เหมาะกับพืชที่ปลูกด้วย

                                 โดยทั่วไปการละลายได้ของธาตุอาหารพืชจะขึ้นอยู่กับระดับพีเอชเป็นส าคัญ (Hazelton

                       and Murphy, 2007) (ตำรำงที่ 2)

                       ตำรำงที่ 2 ระดับของพีเอชที่ท าให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชลดลง

                                      พีเอช (pH)                              ธาตุ (elements)
                                 < 5 และพิสัย 8.5 - 9.5                              P
                                   < 5.0 และ > 9.0                                   N

                                        < 5.0                                     K และ S
                                   < 5.0 และ > 9.0                              Ca และ Mg
                                         <7.5                                       Fe
                                   < 4.5 และ > 8.0                            Mn, Cu และ Zn

                                < 4.5 และพิสัย 7.5 - 8.5                             B
                                        < 5.5                                       Mo
                                        > 5.5                                       Al

                       ที่มา: ดัดแปลงจาก Hazelton และ Murphy (2007)
                                 นอกจากนี้ระดับของพีเอชของดินยังมีผลต่อประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหารพืช

                       ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปในดิน ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อพืชมากหรือ
                       น้อยแตกต่างกันดังตำรำงที่ 3
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59