Page 52 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 52

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       44



                       ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืช พอสรุปได้ด้งนี้ (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548 ;
                       พจนีย์, 2544 ; ปิยะ, 2556)

                       ตำรำงที่ 1 ระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดินหรือพีเอซ (pH) และอิทธิพลต่อพืช

                               ค่าพีเอช                  ระดับ                    อิทธิพลต่อพืช
                                 <3.5           กรดรุนแรงมากที่สุด      ช่วง pH <3.5-5.5 ของดินเป็นระดับ
                                3.5-4.5         กรดรุนแรงมาก            ความเป็นกรดของดินที่มีปัญหาต่อ

                                4.6-5.0         กรดจัดมาก               การปลูกพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งความ
                                5.1-5.5         กรดจัด                  เป็นพิษต่อพืชและธาตุบางชนิดในดิน
                                                                        เช่น Fe Mn Al ฯลฯ และการเกิดการ
                                                                        ตรึงฟอสฟอรัสในดินเป็นจ านวนมาก

                                5.6-6.0         กรดปานกลาง              ช่วง pH 5.6-7.3 ของดิน เป็นระดับที่
                                6.1-6.5         กรดเล็กน้อย             มีปัญหาต่อพืชน้อยที่สุด หรือเป็นช่วง
                                6.6-7.3         เป็นกลาง                ที่เหมาะสมที่สุดต่อการเจริญเติบโต
                                                                        ของพืช

                                7.4-7.8         ด่างเล็กน้อย            ดินที่มีสมบัติเป็นด่างปานกลางถึงเป็น
                                7.9-8.4         ด่างปานกลาง             ด่างจัดมาก (pH 7.9->9.0) พืชที่ปลูก
                                8.5-9.0         ด่างจัด                 อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการขาดธาตุ
                                 >9.0           ด่างจัดมาก              อาหารพืชหลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส

                                                                        เหล็ก แมงกานีส โบรอน ทองแดง
                                                                        และสังกะสี
                       ที่มา : ปิยะ  (2556)

                              บทบำทของพีเอชต่อควำมเป็นประโยชน์ได้ของธำตุอำหำรพืช

                              (1) ธาตุอาหารหลัก
                                 ไนโตรเจน  ความเป็นประโยชน์ของไนโตรเจนจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางชีววิทยา
                       (biological process) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องมีเอนไซม์หรือจุลินทรีย์ดินเข้ามาเกี่ยวข้องจึงจะ
                       เกิดขึ้นได้ โดยกระบวนการไนทริฟิเคชัน (nitrification) เป็นกระบวนการที่ส าคัญที่ท าให้ NH3 หรือ

                       NH4  ถูกออกซิไดส์ไปเป็นไนไตรต์ และไนไตร์ดจะถูกออกซิไดส์อีกครั้งหนึ่งให้เป็นไนเตรต ซึ่งจะเป็น
                          +
                       ประโยชน์ต่อพืช เพราะถ้าไนไตรต์สะสมในดินเป็นจ านวนมากก็จะเป็นพิษต่อพืชได้ สภาพความเป็น
                       กรดเป็นด่างที่เหมาะสมต่อการเกิดกระบวนกรนี้อยู่ระหว่าง 6.5-7.5 ปกติแล้วไม่ควรจะต่ ากว่า 4.5 ถ้า
                       ต่ ากว่านี้กระบวนการไนทริฟิเคชั่นจะหยุดทันที ทั้งนี้เพราะ nitrifying bacteria ค่อนข้างไวต่อสภาพ

                       ความเป็นกรดเป็นด่างมาก และถ้าค่าพีเอชเกินกว่า 7.5 กระบวนการดังกล่าวก็จะเกิดขึ้นในอัตราที่ช้า
                       ลงหรือหยุดชงักในที่สุด

                                 ฟอสฟอรัส ระดับความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินจะขึ้นอยู่กับค่าพีเอชของดิน
                       เป็นอย่างมาก เมื่อดินมีค่าพีเอชต่ ามาก คือดินมีความเป็นกรดรุนแรงมาก เหล็กและอะลูมินัมที่ละลาย
                       ออกมามากจะตรึงฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปของเหล็กและอะลูมินั่มฟอสเฟตที่ละลายยาก พืชไม่สามารถ

                       น าไปใช้ประโยชน์ได้ สภาพความเป็นกรดเป็นด่างหรือพีเอชที่เหมาะสมต่อการละลายของฟอสเฟตที่
                       พืชน าไปใช้ประโยชนืได้อยู่ในช่วงระหว่าง 6-7 ซึ่งฟอสเฟตจะถูกตรึงน้อยที่สุด เมื่อดินมีค่าพีเอชสูงกว่า
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57