Page 51 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 51

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       43



                       4.1 ปฏิกิริยำดิน (pH)

                              ความเป็นกรดเป็นด่างของดินมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชทั้งทางตรงและทางอ้อม
                       อิทธิพลทางตรงคือเมื่อดินเป็นกรดจัดหรือด่างจัดจะเกิดอันตรายต่อรากพืช ท าให้รากไม่สามารถดูดน้ า

                       หรือแร่ธาตุอาหารได้ เป็นเหตุให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตหรือเหี่ยวเฉาตายได้ ส่วนอิทธิพลทางอ้อม
                       คือค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินจะมีผลต่อการการละลายได้ของแร่ธาตุอาหารในดิน หรือท าให้แร่
                       ธาตุอาหารไม่อยู่ในรูปที่พืชสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อดินเป็นกรดจัด ธาตุ
                       ฟอสฟอรัสจะถูกตรึงอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถดูดเอาใช้ได้ ในทางกลับกันจะท าให้ธาตุเหล็กและ

                       อะลูมินัมละลายออกมาอยู่ในสารละลายดินจนเป็นพิษต่อพืช แต่ถ้าดินเป็นด่าง ธาตุบางธาตุ เช่น
                       เหล็ก ไนโตรเจน หรือฟอสฟอรัส ก็จะอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้ ยิ่งไปกว่านั้น
                       ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ยังมีผลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งมีบทบาทส าคัญต่อ
                       การสร้างอินทรียวัตถุและการปลดปล่อยไนโตรเจนในดินให้แก่พืชอีกด้วย

                              ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินหรือพีเอชของดินจะวัดออกมาเป็นหน่วย คือมีค่าเท่ากับ 0

                       ถึง 14
                              - ถ้ามีค่าต่ ากว่า 7 แสดงว่าดินเป็นกรด ยิ่งมีค่าต่ ามากก็จะแสดงว่าเป็นกรดมากยิ่งขึ้น
                              - ถ้ามีค่าเท่ากับ 7 แสดงว่าดินเป็นกลาง
                              - ถ้ามีค่าสูงกว่า 7 แสดงว่าดินเป็นด่าง ยิ่งมีค่าเข้าใกล้ 14 มากเท่าใด แสดงว่าเป็นด่างมาก

                                   ยิ่งขึ้นเท่านั้น

                              ค่าพีเอชของดินที่ถือว่าเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงประมาณ
                       5.6 – 7.3 (ปิยะ, 2556) แต่ถึงกระนั้นก็ตามมีพืชบางชนิดที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีค่าพืเอ
                       ชนอกเหนือไปจากช่วงดังกล่าวนี้ เช่น ยาสูบ มันเทศ หรือแตงโม สามารถขึ้นได้ดีในดินที่มีค่าพีเอช
                       เท่ากับ 5 เป็นต้น

                              การบอกระดับค่าพีเอชของดิน สามารถบอกได้อย่างคร่าวๆ ไม่จ าเป็นต้องบอกค่าของพีเอช
                       ของดินที่แท้จริงเสมอไป ดังนั้น ค่าของพีเอชได้ที่เราวัดได้ถึงแม้จะผิดพลาดไปนิดหน่อยก็ยังมี
                       ความหมาย ซึ่งน าไปใช้ประโยชน์ในการประเมินผลกระทบของสภาพความเป็นกรดและด่างของดินที่มี

                       ผลต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกได้เพียงพอ ฉะนั้นระดับพีเอชของดินบางครั้งนิยมพูดกันเพียงแต่
                       ว่าเป็นกรดรุนแรง ปานกลาง หรือกรดอย่างอ่อน มากกว่าใช้ค่าพีเอชจริงๆมาพูดดัน อีกประการหนึ่ง
                       ชาวบ้านหรือเกษตรกรมักจะเข้าใจได้ดีกว่าถ้าเราบอกถึงระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดินว่าอยู่ใน
                       ระดับความรุนแรงสักแค่ไหน มากกว่าที่จะบอกเป็นตัวเลขโดดๆ ซึ่งถ้าใครไม่มีความรู้เกี่ยวกับความ

                       เป็นกรดเป็นด่างก็จะไม่ทราบเลยว่ามันมีความหมายว่าอย่างไร ส าหรับเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้จัดระดับ
                       ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน แสดงในตำรำงที่ 1

                       ควำมส ำคัญของควำมป็นกรดเป็นด่ำงของดิน

                              ค่าพีเอชของดินเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะช่วยบ่งชี้ถึงคุณภาพของดินต่อการผลิตพืชได้เป็นอย่าง
                       ดีและค่อนข้างชัดเจนในระดับหนึ่ง เพราะมีความส าคัญเป็นอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินที่
                       มีสภาพเป็นกรดมากๆ พืชจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ทั้งนี้เนื่องจากความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

                       เกี่ยวข้องอยู่กับระดับธาตุอาหารในดินที่พืชจะน าไปใช้ประโยชน์ได้ และกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน
                       ความสัมพันธ์หรือผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมของความเป็นกรดเป็นด่างของดินต่อสมบัติของ
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56