Page 30 - แผนบริหารจัดการทรัพยากรดินปัญหาของประเทศไทยระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561 - 2580)
P. 30
8
น าไปใช้ประโยชน์ได้มีปริมาณที่พอเหมาะและสมดุล จะช่วยให้พืชมีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ดี
(คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548; กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
ดินมีควำมอุดมสมบูรณ์ต่ ำ หมายถึง ดินที่มีการประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์จากค่า
วิเคราะห์ของปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกต่ า ความอิ่มตัวเบส
ปริมาณธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอยู่ในระดับต่ า (สถิระ และคณะ, 2558)
ดินปัญหำ หมายถึง ดินที่มีคุณภาพอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างไม่เหมาะสมหรือไม่ค่อย
เหมาะสมที่จะน ามาใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจ ท าให้ผลผลิตต่ าและต้องมีการจัดการดินเป็นกรณีพิเศษกว่า
ดินทั่วไป จึงจะสามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกและให้ผลผลิตดีเท่าที่ควร ดินที่มีปัญหาเป็น
ลักษณะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นปัญหาเพิ่มขึ้นเมื่อสภาพธรรมชาติถูกท าให้เปลี่ยนแปลง
(กรมพัฒนาที่ดิน, 2532; พิชิต, 2557)
ดินที่มีปัญหำทำงด้ำนกำรเกษตร หมายถึง ดินที่มีสมบัติทางกายภาพและเคมีไม่เหมาะสม
หรือเหมาะสมน้อยส าหรับการเพาะปลูก ท าให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตามปกติได้
ส่วนใหญ่เป็นดินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ดินอินทรีย์ ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด
ดินปนกรวด และดินตื้น นอกจากนี้ยังรวมถึงพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ซึ่งถ้ามีการใช้ประโยชน์ด้าน
การเกษตรแล้ว จะท าให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง หากว่าจะใช้ดิน
เหล่านี้ในการปลูกพืชแล้ว จ าเป็นต้องมีการจัดการเพื่อแก้ไขสภาพของดินให้เหมาะสมก่อนการปลูกพืช
เสียก่อน (ส านักส ารวจและวิจัยทรัพยากรดิน, 2553; พิชิต, 2557)
ดินปัญหำที่เกิดตำมสภำพธรรมชำติ หมายถึง ดินปัญหาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
อันเนื่องมาจากปัจจัยที่ให้ก าเนิดดิน ซึ่งประกอบด้วย วัตถุต้นก าเนิดดิน สภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศ
พืชพรรณที่ขึ้นปกคลุม และระยะเวลาที่เกิดดิน ได้แก่ ดินอินทรีย์ ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรด
ก ามะถัน ดินทราย และดินตื้น (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
ดินอินทรีย์ หมายถึง ดินที่มีสารอินทรีย์ในรูปของอินทรีย์คาร์บอนอยู่ในเนื้อดินมากกว่า
ร้อยละ 20 โดยจะพบการสะสมของอินทรียวัตถุเป็นชั้นหนามากกว่า 40 เซนติเมตร มีซากพืชที่ผุพัง
และยังสลายตัวไม่หมดปะปนอยู่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
ดินเค็ม หมายถึง ดินที่มีเกลือที่ละลายได้ในสารละลายดินปริมาณมาก จนกระทบต่อการ
เจริญเติบโตและผลผลิตของพืช สังเกตโดยดูจากคราบเกลือจะเห็นคราบเกลือเป็นหย่อมๆ โดยเฉพาะ
ในฤดูแล้ง พืชมักจะแสดงอาการใบไหม้ ล าต้นแคระแกร็น ตายเป็นหย่อมๆ ดินเค็มมีค่าการน าไฟฟ้า
ของสารละลายที่สกัดจากดินที่อิ่มตัวด้วยน้ ามากกว่า 2 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร ที่อุณหภูมิ 25 องศา
เซลเซียส (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ดินเค็มชำยทะเล หมายถึง ดินที่เกิดจากอิทธิพลของน้ าทะเลท่วมถึงหรือเคยท่วมมาก่อน 9
แผนบริหารจัดการทรัพยากรดินปัญหาของประเทศไทย
ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580)
บริเวณที่มีสภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่ม น้ าทะเลท่วมถึง วัตถุต้นก าเนิดดินเป็นตะกอนน้ าทะเลและน้ ากร่อย
ดินบริเวณนี้จะมีความชื้นของดินสูงและมีความเค็มสูง พืชพรรณที่ขึ้นในบริเวณนี้เป็นไม้ชายเลน
9
ซึ่งทนเค็มได้ดี เช่น โกงกาง แสม ล าพู เป็นต้น และบริเวณที่น้ าทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน เกิดจาก
ตะกอนน้ าทะเลและตะกอนน้ ากร่อย เป็นดินที่มีความเหนียวสูง บางแห่งอาจพบชั้นทรายและเปลือก
หอยในดินชั้นล่าง (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
ดินเค็มบกภำคตะวันออกเฉียงเหนือ หมายถึง ดินที่มีการสะสมเกลือจากการละลายของหิน
เกลือหรือจากน้ าใต้ดินที่มีเกลือละลายน้ าอยู่มาก ท าให้พบชั้นสะสมเกลือมาก นอกจากนี้ ยังมีดินเค็ม
ที่พบคราบเกลือที่ผิวดินและได้รับผลกระทบจากความเค็ม โดยพิจารณาจากคราบเกลือในฤดูแล้ง
เป็นหลักด้วย (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
ดินเค็มบกภำคกลำง หมายถึง ดินในพื้นที่ที่เคยมีน้ าทะเลท่วมถึงมาก่อน และเกิดจากการ
ทับถมของตะกอนน้ าทะเลและตะกอนน้ ากร่อยอยู่ใต้ตะกอนน้ าจืด เมื่อมีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างไม่
เหมาะสม เช่น การน าน้ าใต้ดินที่มีความเค็มมาใช้ในการเกษตร และการชลประทานมากเกินไปอย่าง
ไม่เหมาะสม การขุดหน้าดินขาย ท าให้เกลือที่อยู่ใต้ผิวดินเคลื่อนย้ายมาสู่ผิวดิน เกิดการแพร่กระจาย
ของพื้นที่ดินเค็ม (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
กำรแพร่กระจำยดินเค็ม หมายถึง การที่เกลือเคลื่อนย้ายขึ้นมาบนผิวดินเกิดขึ้นได้ทั้งสภาพ
ตามธรรมชาติและเกิดขึ้นโดยมนุษย์ เมื่อเกิดการสลายตัวผุพังสลายตัวของหินดินดานหรือหินทรายที่มีเกลือ
หรือการระเหยของน้ าใต้ดินเค็มที่อยู่ใกล้ผิวดินและพาเกลือขึ้นมาสะสมที่ผิวดิน การแพร่กระจาย
คราบเกลือเกิดขึ้นโดยมนุษย์ ได้แก่ การตัดไม้ท าลายป่าบนพื้นที่เนินซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ า การท านาเกลือ
การใช้น้ าชลประทานที่ไม่เหมาะสม และเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ ท าให้เกิด
ความไม่สมดุลของระบบน้ าใต้ดินเค็ม ซึ่งจะยกระดับขึ้นมาใกล้ผิวดิน ส่งผลให้มีคราบเกลือบนผิวดิน
มากขึ้น (กรมพัฒนาที่ดิน, 2556)
ปริมำณครำบเกลือ เป็นการศึกษาปริมาณคราบเกลือที่ผิวดินที่พบในฤดูแล้ง มาเป็นเกณฑ์ใน
การจัดท าหน่วยแผนที่ ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินใช้สภาพพื้นที่ คราบเกลือ และชั้นหินที่รองรับเป็นเกณฑ์ใน
การก าหนดหน่วยแผนที่ดินเค็มออกเป็น 6 หน่วย (พิชัย, 2538; สมศักดิ์, 2550) ได้แก่
หน่วยที่ 1 บริเวณที่ลุ่มที่มีเกลือมากที่สุด พบคราบเกลืออยู่ทั่วไปบนผิวดินมากกว่า
ร้อยละ 50 ของพื้นที่ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ว่างเปล่า มีนาข้าวเป็นส่วนน้อย พืชที่ขึ้นได้มักเป็น
ไม้ทรงพุ่มมีหนาม เช่น หนามแดง หนามพรม หนามปี เป็นต้น น้ าใต้ดินในบริเวณนี้เค็มจัดและอยู่ใน
ระดับตื้นมาก
หน่วยที่ 2 บริเวณที่ลุ่มที่มีเกลือมาก พบคราบเกลือเป็นหย่อมๆ บนผิวดินร้อยละ 10-50
ของพื้นที่ ส่วนใหญ่ใช้ปลูกข้าว แต่มีผลผลิตต่ ามาก พืชพันธุ์ธรรมชาติ ได้แก่ สะแก ตาล และต้นไม้
ทนเค็มบางชนิด น้ าใต้ดินเป็นน้ าเค็มและอยู่ในระดับค่อนข้างตื้น
หน่วยที่ 3 บริเวณที่ลุ่มที่มีเกลือปานกลาง พบคราบเกลือบนผิวดินร้อยละ 1-10 ของพื้นที่
โดยทั่วไปใช้ท านา พืชพันธุ์ธรรมชาติที่พบส่วนใหญ่เป็นพวกไม้เต็งรัง บริเวณนี้น้ าใต้ดินเป็นน้ ากร่อย
อยู่ลึกโดยเฉลี่ยประมาณ 1-2 เมตรจากผิวดิน
หน่วยที่ 4 บริเวณที่ลุ่มที่มีเกลือน้อย โดยทั่วไปเป็นนาข้าว และมีต้นไม้หลายชนิดขึ้น
ปะปนอยู่ ไม่พบคราบเกลือบนผิวดิน แต่อาจจะพบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของพื้นที่ น้ าใต้ดินเป็น
น้ ากร่อยหรือน้ าเค็มที่อยู่ลึกมากกว่า 2 เมตรจากผิวดิน บริเวณนี้มีโอกาสที่จะเป็นดินเค็มได้ ถ้าระดับ
น้ าใต้ดินยกตัวสูงขึ้น
หน่วยที่ 5 บริเวณที่สูงที่รองรับด้วยหินเกลือ ได้แก่ เนินที่สูง ซึ่งใช้ในการปลูกพืชไร่
ทั่วๆ ไป บริเวณนี้ไม่พบคราบเกลือบนผิวดิน ระดับน้ าใต้ดินอยู่ลึกอาจเป็นน้ าจืด น้ ากร่อย หรือน้ าเค็ม
ก็ได้ บริเวณนี้ยังคงมีชั้นหมวดหินมหาสารคาม (Mahasarakram formation) รองรับอยู่ข้างล่าง