Page 25 - ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document)
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       2-11





                                2)  ส่วนประกอบของ DBMS  มี 4 ส่วนหลัก ๆ คือ
                                    2.1)  ภาษานิยามข้อมูล (Data Definition Language - DDL) เป็นภาษาที่ใช้เพื่อ
                  การก าหนดโครงสร้างทางกายภาพของฐานข้อมูล  จากเค้าร่างข้อมูล (Schema)  และ เค้าร่างข้อมูลย่อย

                  (Subschema)  ภาษานิยามข้อมูลจะใช้ส าหรับสร้างฐานข้อมูลทั้งระบบ ซึ่งได้แก่ การก าหนดนิยามส าหรับ
                  ฐานข้อมูล การพัฒนาสร้างระบบฐานข้อมูล และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของฐานข้อมูล
                                         2.1.1) การก าหนดนิยามส าหรับฐานข้อมูล เป็นการก าหนดโครงสร้างการจัดเก็บ
                  ข้อมูล โดยการก าหนดขอบเขตความหมายและค าจ ากัดความของโครงสร้างฐานข้อมูลเพื่อสร้างฐานข้อมูล
                  ได้แก่ การก าหนดเอนทิตี้และลักษณะประจ าของเอนทิตี้ว่าประกอบด้วยเขตข้อมูลอะไรบ้าง ขนาดความยาว

                  ของเขตข้อมูล ประเภทข้อมูลเป็นอย่างไร คือการเก็บรายละเอียดข้อมูลในระเบียน ความสัมพันธ์ระหว่าง
                  เอนทิตี้ และก าหนดเขตข้อมูลที่ใช้เป็นคีย์
                                         2.1.2) การพัฒนาสร้างระบบฐานข้อมูล (Database  Creation)  เป็นการเขียน

                  ค าสั่งเพื่อท าการอ่านตัวข้อมูล และจัดเก็บค่าของข้อมูลเข้าไปอยู่ในฐานข้อมูลตามโครงสร้างการก าหนดค า
                  จ ากัดความของฐานข้อมูล
                                         2.1.3) การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของฐานข้อมูล (Database Revision) เป็นการ
                  ปรับปรุงแก้ไขข้อก าหนดเดิม เช่น ระบบการจัดเก็บข้อมูลในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนิยามส าหรับ

                  ฐานข้อมูลที่สร้างไว้ เมื่อต้องการเพิ่มจ านวนรายการลักษณะประจ า ต้องการเพิ่มขนาดเนื้อที่ส าหรับจัดเก็บ
                  ข้อมูลของรายการข้อมูล ฯลฯ จะต้องเรียกโครงสร้างมาท าการเปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ ช่วยในการบ ารุงรักษา
                  โครงสร้างฐานข้อมูลให้ทันสมัย
                                    2.2)  ภาษาจัดแต่งฐานข้อมูล (Data Manipulation Language - DML) เป็นภาษาที่

                  เรียกใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลคือการค้นคืน และการปรับข้อมูลในฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน (Update) ประกอบด้วย
                                         2.2.1)  การค้นคืนข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูล (Database  Retrieval)  โดยการใช้ภาษา
                  สอบถามข้อมูล (Query  Language)  ภาษาสอบถามข้อมูลที่ใช้กันมากในซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูล คือ
                  เอสคิวแอล (SQL) และคิวบีอี (Query By Example - QBE)

                                         2.2.2)  ผู้ใช้ทั่วไปสามารถใช้ภาษาสอบถามในรูปของการสร้างรายงานจากข้อมูลใน
                  ฐานข้อมูลได้โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมที่ยุ่งยาก สามารถสอบถามโดยการใช้เงื่อนไขของการค้นคืนได้หลายรูปแบบ เป็น
                  ต้นว่า ต้องการข้อมูลตัวใดจากตารางข้อมูลใดบ้าง ตารางข้อมูล ก็คือแฟ้มข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ในตารางนั่นเอง ใน

                  การสอบถามข้อมูล สามารถท าการสรุปค่าของข้อมูล โดยการนับจ านวน หาค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ าสุด หรือค่า
                  อื่น ๆ โดยใช้ฟังก์ชั่น ตลอดจนการสร้างรายงานจากตารางต่าง ๆ
                                         2.2.3)  การปรับค่าการเพิ่มเติมและลบทิ้งข้อมูล หมายถึง การปรับข้อมูลในฐานข้อมูล
                  ให้เป็นปัจจุบัน ประกอบด้วย การปรับค่า (Update) ใช้ส าหรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขค่าของข้อมูล ซึ่งหมายถึง
                  คอลัมน์ในแถวที่มีเงื่อนไขสอดคล้องกับที่ระบุไว้ การปรับค่าข้อมูลในระเบียนที่ต้องการ  การเพิ่มเติมข้อมูลใหม่

                  ลงในฐานข้อมูล (Insertion) ใช้ส าหรับการเพิ่มเติมระเบียนข้อมูลแถวใหม่ในตารางที่ต้องการ การลบทิ้งข้อมูลที่
                  มีอยู่ออกจากฐานข้อมูล (Deletion) ใช้ส าหรับลบระเบียนข้อมูลแถวที่ไม่ต้องการให้ออกไปจากฐานข้อมูล การ
                  แก้ไขเพิ่มเติมและลบทิ้งข้อมูลจะมีรูปแบบของค าสั่งพื้นฐานคล้าย ๆ กัน
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30