Page 29 - ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document)
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       2-15





                                        4.1.1) แบบล่างไปบน (Bottom–Up) วิธีการนี้เริ่มต้นการพิจารณาจากรายละเอียด
                  ของข้อมูล หรือ แอททริบิวต์ (Attribute) แล้วน ามาจัดกลุ่มเป็นเอนทิตี้ (Entity) และความสัมพันธ์ (Relationship)
                  วิธีการนี้เหมาะส าหรับฐานข้อมูลที่มีรายละเอียดไม่มากและไม่ซ้ าซ้อน

                                        4.1.2) แบบบนมาล่าง (Top-Down) วิธีการนี้เริ่มต้นจากการก าหนดเอนทิตี้ว่ามี
                  เอนทิตี้อะไรบ้าง (High-level  Entity)  แล้วท าการพิจารณารายละเอียดข้อมูลที่แต่ละเอนทิตี้ควรจะมี รวมถึง
                  ความสัมพันธ์ต่าง ๆ วิธีการนี้เหมาะสมส าหรับองค์กรที่มีฐานข้อมูลซับซ้อน และมีรายละเอียดของข้อมูลมาก
                                    อย่างไรก็ตาม ทั้งสองวิธีอาจจะใช้เสริมกันแทนที่จะใช้แยกกันโดยสิ้นเชิง  ตัวอย่างเช่น
                  การออกแบบด้วยวิธี Top-Down โดยใช้ E-R โมเดล ก็ยังคงต้องใช้แนวคิดการท าให้เป็นบรรทัดฐาน (Normalization)

                  ซึ่งเป็นวิธีการแบบ Bottom-Up เพื่อทบทวนการออกแบบให้สมบูรณ์ ดังภาพที่ 2-3
                                    4.2)  การออกแบบข้อมูลในระดับตรรกะ (Logical Database Design) เป็นการน า
                  ผลจากการออกแบบในระดับแนวคิดมาวิเคราะห์และออกแบบ โดยในขั้นตอนนี้เป็นการแปลงผลจากการออกแบบ

                  ในระดับแนวคิด (Mapping) ให้อยู่ในรูปแบบของระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) ที่เลือกใช้ เช่น รูปแบบเชิง
                  สัมพันธ์ (Relational Model)













                  ภาพที่ 2-3 การออกแบบ Bottom–Up และ Top-Down
                  ที่มา: ศิริลักษณ์ โรจนกิจอ านวย (2552)


                           ขั้นตอนการออกแบบนี้มีความส าคัญมากต่อความส าเร็จในการออกแบบฐานข้อมูลว่าตรงตามเป้าหมาย
                  และแผนที่วางไว้ ตลอดจนการน าไปใช้ให้ตรงตามความต้องการได้หรือไม่ เพราะฉะนั้น การออกแบบในขั้นตอน
                  นี้ จะต้องท าการรวบรวมการออกแบบฐานข้อมูลที่ได้มาจากผู้ใช้แต่ละกลุ่มมารวมกัน และปรับเป็นภาพฐานข้อมูล
                  ขององค์กรที่สมบูรณ์ (Global Logical Database)
                                    4.3)  การออกแบบข้อมูลในระดับกายภาพ (Physical Database Design) ขั้นตอน

                  นี้เป็นการน าข้อมูลที่ออกแบบในระดับตรรกะ มาก าหนดโครงสร้างข้อมูลและการจัดเก็บวิธีการเข้าถึงข้อมูล
                  รวมถึงการจัดการด้านระบบความปลอดภัย เพื่อให้ฐานข้อมูลท างานได้อย่างมีประสิทธิผลมาก  กล่าวโดยสรุป
                  ผลจากการออกแบบฐานข้อมูล จะได้เค้าร่าง (Schema) ของฐานข้อมูลในแต่ละระดับ ดังภาพที่ 2-4
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34