Page 41 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินทรายชายทะเลเพื่อปลูกคะน้าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 41

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        30







                       ใส่ปุ๋ยคอกจากมูลจิ้งหรีดให้ความสูงและผลผลิตของพืชผักทั้ง 3 ชนิดสูงกว่าการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่ต ารับ
                       การทดลองอื่นอย่างมีนัยส าคัญยิ่ง  ทั้งนี้เนื่องจากธาตุอาหารจากมูลจิ้งหรีดมีปริมาณธาตุอาหารหลัก
                       (N, P, K) มากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่นหรือแม้แต่การใส่ร่วมกันก็ตาม ดังนั้นการน ามูลจิ้งหรีดมาใช้เป็น
                       ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกพืชนอกจากจะเป็นการเพิ่มผลผลิตพืชแล้ว  ยังเป็นการลดต้นทุนจากการใส่

                       ปุ๋ยเคมีและช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพของดินอีกด้วย (เรณู, 2556)

                              การศึกษาชนิดและอัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต
                       ของผักกาดหอม พบว่าเมื่อเปรียบเทียบการให้ปุ๋ยที่ระดับไนโตรเจนเดียวกัน ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงทั้ง
                       สองชนิดท าให้สมบัติทางเคมีของดินดีขึ้น กว่าการให้ปุ๋ยเคมีร่วมกับมูลโค  โดยเฉพาะปริมาณ
                       ฟอสฟอรัสในดินหลังปลูก  ซึ่งพบว่ามีค่าสูงกว่าถึง  2-4  เท่า  การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของ

                       ผักกาดหอมมีค่าเพิ่มขึ้นตามระดับไนโตรเจนที่เพิ่มขึ้น  แต่ชนิดของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงให้ผลไม่
                       แตกต่างกัน โดยการให้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงทั้งสองชนิดที่ระดับ 2.5 และ 5 กรัมไนโตรเจน ท าให้ต้น
                       ผักกาดหอมมีปริมาณผลผลิตมากกว่าสิ่งทดลองควบคุมที่ให้ปุ๋ยเคมีร่วมกับมูลโคที่ระดับ  1  กรัม

                       ไนโตรเจน ในด้านคุณภาพของผลผลิตพบว่าเมื่อให้ระดับไนโตรเจนที่เพิ่มขึ้น สารประกอบฟีนอลิกรวม
                       มีค่าลดลง  ในขณะที่การสะสมไนเตรตมีค่ามากขึ้นอย่างมีนัยส าคัญ  โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบ
                       ระหว่างการให้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงทั้งสองชนิดกับการให้ปุ๋ยเคมีร่วมกับมูลโคที่ระดับไนโตรเจนที่
                       เท่ากัน พบว่าผักกาดหอมที่ได้รับปุ๋ยเคมีร่วมกับมูลโคจะมีการสะสม ไนเตรตในใบมากกว่าผักกาดหอม

                       ที่ได้รับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงทั้งสองชนิด  ดังนั้นในการปลูกผักกาดหอมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
                       จึงควรเลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงทั้งสองชนิด
                       ที่ระดับ  2.5  กรัมไนโตรเจน  สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีร่วมกับมูลโคที่ระดับ  1  กรัมไนโตรเจนได้
                       (อรประภา และภานุมาศ, 2558)





                                                 ระยะเวลาและสถานที่ด าเนินงาน


                       1. ระยะเวลาด าเนินการ  ปีงบประมาณ   2557 - 2559
                       2. สถานที่ด าเนินการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชด าริ   ต าบลคลอง

                          ขุด อ าเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
                       3.  พิกัดแปลง  47P   E 814663, N 1391658

                       4. สภาพพื้นที่ (Site Characterization)

                                  ชุดดินหัวหิน ลักษณะและสมบัติดินเป็นดินทรายลึกมาก เนื้อดินเป็นทรายตลอด ดินบนมี
                       เนื้อดินเป็นดินทราย หรือดินทรายปนดินร่วน มีสีน้ าตาลหรือสีน้ าตาลปนเหลือง ค่าพีเอชของดินเป็น

                       กรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง (pH  6.5-7.0)  ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วน มีสีน้ าตาล พบ

                       เปลือกหอยตลอดทุกชั้นดิน ค่าพีเอชของดินเป็นกลางถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 7.0-8.0) ตลอดหน้า
                       ตัดดิน    ดินเกิดจากตะกอนทรายชายทะเลถูกพัดพามาทับถมบนสันทรายชายทะเล และเนินทราย
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46