Page 13 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         3







                                                       หลักการและเหตุผล

                              จังหวัดนนทบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร มีการคมนาคมสะดวก จึงท าให้มี

                       ประชากรมาอาศัยอยู่เป็นจ านวนมาก ความต้องการอาหารจึงมากขึ้นตามล าดับ โดยเฉพาะพืชผัก
                       ท าให้เกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกผักโดยเฉพาะในชุดดินบางกอก เนื่องจาก

                       การปลูกผักให้ผลตอบแทนที่รวดเร็ว คุ้มค่า และใช้พื้นที่ปลูกน้อย ผักที่เกษตรกรนิยมปลูกคือ คะน้า

                       ซึ่งเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และเป็นผักที่ต้องการของผู้บริโภคในปริมาณมาก จึงเป็นผักที่มี
                       ความส าคัญทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยมีการบริโภคผักคะน้าเฉลี่ยในประชากรอายุ 3 ปีขึ้นไปเท่ากับ

                       9.31 กรัมต่อคนต่อวัน ซึ่งสูงเป็นอันดับ 6 ของการบริโภคผักทุกชนิด ผักคะน้าเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุ
                       สั้น ให้ผลตอบแทนที่รวดเร็ว แต่มีการใช้ปุ๋ยเคมีในรูปแบบต่างๆ เพื่อเร่งรีบให้ได้รับผลผลิตได้ทันตาม

                       ความต้องการของตลาด และมีการใช้ปุ๋ยในอัตราทีสูงมาก  ท าให้เกิดปัญหาดินเสื่อม ธาตุอาหารในดิน

                       เสียสมดุล ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตคะน้าสูงตามไปด้วย คะน้าเป็นพืชผักที่ต้องการธาตุไนโตรเจนเป็น
                       ปริมาณมาก ปุ๋ยที่เกษตรกรนิยมใช้ คือปุ๋ยไนโตรเจนในรูปปุ๋ยเคมีที่เกิดการสูญเสียได้ง่ายได้แก่ ยูเรีย

                       (46-0-0) แอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) และไนเตรท (15-0-0) โดยปุ๋ยไนโตรเจนที่ใส่ลงดิน พืช
                       สามารถน าไปใช้ได้เพียงร้อยละ 50–60 เท่านั้น ที่เหลือจะถูกยึดไว้ในดินหรือเปลี่ยนเป็นรูปที่พืชใช้

                       ประโยชน์ไม่ได้ หรือสูญหายไปในอากาศ

                              ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงมีสมบัติเด่น คือ มีธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยอินทรีย์ทั่วไป เมื่อใส่ปุ๋ยอินทรีย์
                       ลงดิน ดินจะได้รับธาตุอาหารอย่างครบถ้วน ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและจุลธาตุ โดยจะ

                       ปลดปล่อยธาตุอาหารในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอย่างช้าๆ อีกทั้งยังช่วยปรับปรุงสมบัติดินทางด้าน
                       กายภาพ เช่น ท าให้ดินมีความร่วนซุย การระบายน้ าและอากาศดี เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ าของ

                       ดิน ทางด้านเคมี  เช่น เพิ่มความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารให้กับดิน และทางด้านชีวภาพ เช่น

                       เพิ่มอินทรียวัตถุและความหลากหลายของจุลินทรีย์ดิน
                              จากความส าคัญและปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการผลิตคะน้าในชุดดินบางกอก

                       จึงต้องการ ศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดิน
                       บางกอก เพื่อเป็นแนวทางให้เกษตรกรในการเลือกชนิดและอัตราการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

                       และลดต้นทุนการผลิตคะน้า ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของ

                       ดินให้สามารถน าไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อย่างยั่งยืน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18