Page 11 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         1







                       ชื่อโครงการวิจัย     ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง และปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุด
                                            ดินบางกอก

                                            Effect  of  High  Quality  Organic  Fertilizers  and  Chemical
                                            Fertilizers  on  Chinese  Kale  Production  in  Bangkok  Soil  Series
                       ทะเบียนวิจัยเลขที่     57 58 03 12 020000 013 108 01 13

                       กลุ่มชุดดินที่           3 ชุดดินบางกอก (Bk)
                       ผู้ด าเนินการ           นางจุฑารัตน์        รัตนปัญญา  Mrs. Jutharat  Rattanapunya
                       ผู้ร่วมด าเนินการ           นางสาวกัญจน์รัชต์   ลชิตาวงศ์  Ms. Kanjarat  Lachitavong
                                            นายสุเมธ           หงส์สาชุม  Mr. Sumet  Hongsachum


                                                            บทคัดย่อ


                              งานวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง และปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ ต่อ
                       การปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก ต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินและการเจริญเติบโต ผลผลิต และ
                       ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของคะน้าที่ปลูกในชุดดินบางกอก โดยท าการทดลองที่บ้านสามบาท ต าบล หนองเพรางาย อ าเภอ

                       ไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ระหว่างเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2557 ถึง เดือน มีนาคม พ.ศ. 2559 วางแผนการทดลองแบบ
                       Randomized Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 5 วิธีการทดลอง จ านวน 4 ซ้ า คือ 1. ไม่ใส่ปุ๋ย 2. ใส่ปุ๋ยเคมี
                       ตามค าแนะน ากรมวิชาการเกษตร สูตร  15-15-15 อัตรา 34 กิโลกรัมต่อไร่ 3. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตรไนโตรเจน
                       อัตรา 100 กิโลกรัม ต่อไร่ 4. ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน สูตร  46-0-0  อัตรา 44 กิโลกรัมต่อไร่ 5. ใส่ปุ๋ยเคมี ตามวิธีของ

                       เกษตรกร สูตร 25-7-7 อัตรา 160 กิโลกรัมต่อไร่
                              ผลการทดลองปีที่ 1 ดินหลังการทดลอง ทุกวิธีการ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน  เพิ่มขึ้นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
                       5.58 ยกเว้นการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินมีค่าลดลง และท าให้ดินมีความเป็นกรดมากขึ้น ปริมาณอินทรียวัตถุลดลง
                       ยกเว้นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 2.28 เปอร์เซ็นต์ เป็น 2.47 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัส และ
                       ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน มีค่าเฉลี่ยลดลงเล็กน้อยเท่ากับ 75 และ 252 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ
                       การเจริญเติบโต องค์ประกอบผลผลิตและผลผลิตของคะน้า พบว่าการใส่ปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกร ให้ผลผลิตสูงสุด 2,633

                       กิโลกรัมต่อไร่ มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุดเท่ากับ 33,244 บาทต่อไร่ รองลงมาคือการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน
                       ให้ผลผลิตเท่ากับ 2,380 กิโลกรัมต่อไร่ และการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ให้ผลผลิตเท่ากับ 1,273  กิโลกรัมต่อไร่ และ
                       ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเท่ากับ 31,039 และ 10,804 บาทต่อไร่ ตามล าดับ
                              ผลการทดลองปีที่ 2 ดินหลังการทดลอง พบว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินลดลงทุกวิธีการ ปริมาณ
                       อินทรียวัตถุ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีค่าเฉลี่ยลดลง ส่วนปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มสูงขึ้น

                       การเจริญเติบโต องค์ประกอบผลผลิตและผลผลิตของคะน้า พบว่าการใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร ให้ผลผลิตสูงสุด
                       เท่ากับ 2,410 กิโลกรัมต่อไร่ และมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุดเท่ากับ 29,230 บาทต่อไร่  รองลงมาคือการใส่ปุ๋ยเคมี
                       ตามค่าวิเคราะห์ดิน ให้ผลผลิต 2,157 กิโลกรัมต่อไร่ และการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ให้ผลผลิตเท่ากับ 2,004 กิโลกรัม
                       ต่อไร่ และให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเท่ากับ 27,025 และ 23,962  บาทต่อไร่
                            จากผลการทดลองทั้ง 2 ปี เมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่าการใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร

                     ให้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนสูงกว่าวิธีการทดลองอื่นๆ  แต่มีค่าอัตราส่วนต่อรายได้ต่อต้นทุน  (B/C Ratio)  น้อยกว่า
                     การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน แสดงว่าการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีความคุ้มทุนมากกว่าทุกวิธีการ
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16