Page 19 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับการจัดการปุ๋ยเพื่อการปลูกพืชผักในจังหวัดลำพูน
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         6







                       3. ผักคะน้า
                              3.1  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของ
                       ผักคะน้า
                              คะน้า (Brassica  oleracea  var.alboglabla) เป็นพืชผักในตระกูล Cruciferae  เป็นพืชฤดู

                       เดียว ล าต้นหนาสีเขียวเข้ม ใบเป็นรูปไข่สีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบหนา ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีสีขาว
                       ผลเป็นแบบผ่าแล่ง (silique) เมล็ดมีสีน้ าตาลถึงด า เมล็ดรูปร่างกลม (สุรชัย, 2535)
                              คะน้าเป็นผักที่สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ความเป็นกรดเป็น
                       ด่าง (pH)  ของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.8  และมีความชื้นในดินสูงสม่ าเสมอ ต้องการแสงแดดเต็มที่

                       ผักคะน้าสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิสูงได้ดี และให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอในสภาพอุณหภูมิสูง
                       กว่า 25  องศาเซลเซียส ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากไม่จ าเป็นต้องผ่านการห่อหัวหรือออกดอกก่อนการเก็บ
                       เกี่ยวเหมือนกับผักตระกูลกะหล่ าชนิดอื่น ผักคะน้าเป็นผักที่นิยมใช้บริโภค เพราะหาซื้อง่าย ราคาถูก
                       และหาซื้อมาบริโภคได้ตลอดปี อายุการเก็บเกี่ยวตั้งแต่หยอดเมล็ดจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 45-55 วัน

                       ต้นสูงประมาณ 35-50 เซนติเมตร และได้ผลผลิตประมาณ 950-2,000 กิโลกรัมต่อไร่ (www.doae.
                       go.th ; อ้างโดย สมศักดิ์, 2549)
                              พันธุ์ผักคะน้าที่นิยมปลูกมี 3 ประเภท คือ (www.doae.go.th ; อ้างโดย สมศักดิ์, 2549)

                              1)  พันธุ์ใบกลม มีลักษณะใบกว้างใหญ่ ปล้องสั้นปลายใบมนและผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย
                       ได้แก่พันธุ์ฝาง เบอร์ 1 เป็นต้น
                              2)  พันธุ์ใบแหลม เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะใบแคบกว่าพันธุ์ใบกลม ปลายใบแหลม ข้อห่าง ผิวใบ
                       เรียบ ได้แก่ พันธุ์ P.L.20 เป็นต้น
                              3)  พันธุ์ยอดหรือก้าน มีลักษณะใบเหมือนกับผักคะน้าใบแหลม แต่จ านวนใบต่อต้นมีน้อย

                       กว่าปล้องยาวกว่า ได้แก่ พันธุ์แม่โจ้ 1 เป็นต้น

                              3.2 วิธีการปลูกและการดูแลรักษา

                              การเพาะกล้า
                                1) การเตรียมแปลงเพาะ แปลงเพาะกล้าควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร ส่วนความยาวตามความ
                       เหมาะสม
                                2) การเตรียมดินบนแปลงเพาะกล้า ควรขุดไถพรวนดินอย่างดี ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน

                       ย่อยหน้าดิน ให้ละเอียด แล้วใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว คลุกเคล้าให้เข้ากับดินให้ทั่ว
                                3) การเพาะ หว่านเมล็ดให้กระจายสม่ าเสมอทั่วแปลง กลบเมล็ดด้วยดินหรือปุ๋ยคอกที่
                       สลายตัวดีแล้วให้หนาประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบางๆ รดน้ าให้ชุ่ม
                                4) การดูแลต้นกล้า ต้นกล้าจะงอกภายใน 7 วัน ควรดูแลต้นกล้า ถอนต้นที่อ่อนแอ ไม่

                       แข็งแรง หรือเบียดกันแน่นทิ้งไป ผสมสารละลายสตาร์ทเตอร์โวลูชั่นในน้ าแล้วน าไปรด เพื่อให้ต้นกล้า
                       แข็งแรงสมบูรณ์ ดูแลป้องกันโรคแมลงที่เกิดขึ้น เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 25-30 วัน จึงท าการย้าย
                       ไปปลูกในแปลงปลูกต่อไป
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24