Page 18 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับการจัดการปุ๋ยเพื่อการปลูกพืชผักในจังหวัดลำพูน
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         5







                       2.กลุ่มชุดดิน
                              2.1 กลุ่มชุดดินที่ 4 ชุดดินราชบุรี (Ratdhaburi: Rb)
                              การจ าแนกดิน Fine, mixed, active, nonacid, isohyperthermic Vertic (Aeric)
                                            Endoaquepts

                              การก าเนิด เกิดจากตะกอนน้ าพามาทับถมอยู่ในบริเวณที่ราบน้ าท่วม หรือที่ราบตะกอนน้ า
                       พัดพา สภาพพื้นที่ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 % การระบายน้ า ค่อนข้างเลวถึงเลว การไหลบ่าของ
                       น้ าบนผิวดินช้า สภาพซึมผ่านได้ของน้ าช้า พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ท านา ปลูก
                       พืชผักสวนครัวและพืชไร่หลังฤดูท านาการแพร่กระจาย ที่ราบภาคกลางและภาคเหนือ การจัดเรียงชั้น

                       ดิน Apg-BAg-Bg
                              ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายแป้งตลอด สีน้ าตาล
                       ปนเทาเข้ม มีจุดประสีน้ าตาลแก่และสีน้ าตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH
                       5.5-6.5)  ดินบนตอนล่างเป็นดินเหนียว สีน้ าตาลปนเทาเข้มหรือสีน้ าตาลเข้ม มีจุดประสีน้ าตาลปน

                       เหลือง สีน้ าตาลและสีน้ าตาลปนเหลืองในดินชั้นล่าง อาจพบรอยถูไถและจุดประสีแดงปนเหลือง
                       ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (pH  8.0) ดินล่างตอนล่างอาจพบเกล็ดแร่ไมกา ก้อนเหล็ก และ
                       แมงกานีสสะสมตลอดหน้าตัดดิน  ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ ชุดดินสิงห์บุรี ชุดดินพิมาย และชุดดิน

                       สระบุรี ข้อจ ากัดการใช้ประโยชน์ มีน้ าท่วมขังในฤดูฝนลึก 50 เซนติเมตร นาน 4-5 เดือน
                       ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ควรใช้ปลูกข้าวและควรปรับปรุงบ ารุงดิน โดยใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก
                       หรือปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มแร่ธาตุที่จ าเป็นแก่พืชให้กับดิน และท าให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น
                       ปรับปรุงการระบายน้ าของดิน และป้องกันน้ าขังโดยท าทางระบายน้ าผิวดิน


                              2.2 กลุ่มชุดดินที่ 15 ชุดดินแม่สาย (Mae Sai series: Ms)
                              การจ าแนกดิน  Fine-silty, mixed, semiactive, isohyperthermic Aeric Endoaqualfs
                              การก าเนิด เกิดจากตะกอนน้ าพัดพาบริเวณส่วนต่ าของสันดินริมน้ าหรือตะพักล าน้ า

                              สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน 0-2 % การระบายน้ า ค่อนข้างเลว
                       การไหลบ่าของน้ าบนผิวดินช้า การซึมผ่านได้ของน้ าช้า พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                       นาข้าว อาจใช้ปลูกพืชไร่เช่น ข้าวโพด ถั่ว หรือพืชผัก ก่อนหรือหลังปลูกข้าวการแพร่กระจาย พบมาก
                       ในภาคเหนือ บริเวณส่วนต่ าของสันดินริมน้ าหรือตะพักล าน้ า การจัดเรียงชั้นดิน Apg - Btg

                              ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายแป้งหรือดินร่วนเหนียวปน
                       ทรายแป้ง   สีเทาเข้มหรือสีน้ าตาลปนเทาเข้ม  มีจุดประสีน้ าตาลปนเหลืองหรือสีน้ าตาลแก่ ปฏิกิริยา
                       ดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 6.0 - 6.5)  ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง สี
                       น้ าตาลปนเทา และมีสีเทาในตอนล่าง มีจุดประสีน้ าตาลปนเหลืองหรือสีน้ าตาลแก่ ปฏิกิริยาดินเป็น

                       กรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง (pH  6.5 - 8.0) ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินนครปฐม และชุดดิน
                       แม่ทะ  ข้อจ ากัดการใช้ประโยชน์ ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ า ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์
                       ปรับปรุงบ ารุงดินโดยใช้อินทรียวัตถุและเพิ่มผลผลิตโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีในเขตชลประทาน
                       นอกฤดูท านาอาจปลูกพืชไร่หรือพืชผัก ซึ่งจะต้องยกร่องและปรับสภาพดินให้ร่วนซุยและระบายน้ าดี

                       ขึ้น โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23