Page 16 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับการจัดการปุ๋ยเพื่อการปลูกพืชผักในจังหวัดลำพูน
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         3







                       ตามอัตราของศูนย์/สถานีและเกษตรกร แต่วิธีการใส่ปุ๋ยดังกล่าวสามารถลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีได้
                       ถึง 63–95 % ของต้นทุนการผลิตของวิธีการใส่ปุ๋ย N, P และ K
                              จากการศึกษาของเนตรดาว (2547) ปริมาณการดูดใช้ธาตุอาหารหลัก (N, P และ K) ของ
                       ผักกวางตุ้งส าหรับการให้ผลผลิต 1,000  กิโลกรัม มีดังนี้ ไนโตรเจน 2.36 กิโลกรัม N ฟอสฟอรัส

                       0.312 กิโลกรัม P และ โพแทสเซียม 2.77 กิโลกรัม K
                              ในการปลูกพืชผักที่ปลูกเพื่อรับประทานต้นและใบ กรมวิชาการเกษตรได้ใช้ค่าวิเคราะห์ดินใน
                       การให้ค าแนะน าปุ๋ยดังรายละเอียดในตารางที่ 1


                       ตารางที่ 1  ค าแนะน าการใส่ปุ๋ยเคมีในการปลูกพืชผักที่ปลูกเพื่อรับประทานต้นและใบ เช่น ผักคะน้า
                                  ผักกาดหัว  กะหล่ าปลี กะหล่ าดอก บล็อคโคลีผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวปลี และอื่น ๆ

                           OM             P              K                  อัตราปุ๋ยที่ใส่ (กก./ไร่)

                           (%)         (มก./กก.)     (มก./กก.)         N           P O            K O
                                                                                                   2
                                                                                    2 5
                           <1.5           <1           <60            20            10            15
                         1.5-2.5       10.0-20.0      60-100          15             5            10

                           >2.5          >20           >100           10             5             5


                        แหล่งข้อมูล : ส านักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน (2547)

                              Ankerman  and  Large  (1990) ได้ประเมินปริมาณการปลดปล่อยไนโตรเจนจาก

                       อินทรียวัตถุในดิน (indigenous N supply, INS) ที่มีเนื้อดินต่างกัน ตลอดฤดูกาลปลูกข้าวโพด (120
                       วัน) ซึ่งเมื่อน ามาดัดแปลงให้มีหน่วยและระยะเวลาที่สอดคล้องกับการปลูกพืชผักจะได้ข้อมูลดังตาราง
                       ที่ 2
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21